วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 12, 2566

Taso

 
ฉัตร. บทว่า สห ทิฏฺฐสฺส เม ฉตฺตํ คือความสะดุ้งกลัวเกิดขึ้นแล้ว
แก่เราผู้เห็นเศวตฉัตรนั้น พร้อมกับความเห็นนั้น. อธิบายว่า ตลอดเวลา
ที่เห็นนั่นเอง. บทว่า ตาโสอาทิผิด สระ อุปฺปชฺชิ เภรโว คือ เกิดความสะดุ้งน่ากลัว
เพราะเป็นโทษที่ปรากฏชัดเจนแล้ว. บทว่า วินิจฺฉยํ สมาปนฺโน, กถาหํ
อิมํ มุญฺจิสฺสํ ความว่า เราตรึกตรองอย่างนี้ว่า เราจะปลดเปลื้องราชสมบัติ
อันเป็นกาลกรรณีได้อย่างไรหนอ. บทว่า ปุพฺพาสาโลหิตา มยฺหํ ความว่า
เทพธิดาผู้เป็นมารดาของเราในอัตภาพหนึ่ง สิงสถิตอยู่ในเศวตฉัตรนั้น
เป็นผู้ใคร่ประโยชน์ แสวงหาประโยชน์แก่เรา. บทว่า สา มํ ทิสฺวาน
ทุกฺขิตํ, ตีสุ ฐาเนสุ โยชยิ ความว่า เทพธิดานั้นเห็นเราประกอบด้วยทุกข์
เพราะทุกข์ใจอย่างนั้น จึงแนะนำให้เราประกอบในเหตุที่จะออกจากทุกข์
ในราชสมบัติ ๓ ประการ คือ เป็นใบ้ เป็นคนง่อยเปลี้ย เป็นคนหนวก.
บทว่า ปณฺฑิจฺจยํ คือความเป็นบัณฑิต. บทว่า มา วิภาวย คือท่าน
จงประกาศความเป็นบัณฑิต. บทว่า พาลมโต คือให้เขารู้ว่าเป็นคนโง่.
บทว่า สพฺโพ คือ ชนภายในและชนภายนอกทั้งสิ้น. บทว่า โอจินายตุ
คือ คนทั้งปวงย่อมดูหมิ่นว่า พวกท่านจงนำคนกาลกรรณีนี้ออกไป. บทว่า
เอวํ ตว อตฺโถ ภวิสฺสติ ประโยชน์จักมีแก่ท่านด้วยอาการอย่างนี้ ความว่า
เมื่อท่านถูกดูหมิ่น โดยนัยดังกล่าวแล้วอย่างนั้น ประโยชน์อันยังบารมี
ให้บริบูรณ์ด้วยการออกจากเรือนจักมีแก่ท่าน.
 
๗๔/๒๖/๔๔๗

ไม่มีความคิดเห็น: