วันเสาร์, ธันวาคม 17, 2565

Kan

 
ได้ ( ฉันนั้น ) เพราะฉะนั้น ทางคือกิเลสพระองค์จึงตรัสว่า ทุหิติโก
(เป็นทางที่ไปลำบาก). ปาฐะว่า ทฺวีหิติโก ก็มี. ความหมายก็แนวเดียว
กันนั่นแหละ.
บทว่า อสปฺปุริสเสวิโต ความว่า เป็นทางที่อสัตบุรุษ มีพระ-
โกกาลิกะเป็นต้น เดินไปแล้ว.
บทว่า ตโต จิตฺตํ นิวารเย ความว่า พึงห้ามจิตนั้นที่เป็นไป
แล้วด้วยอำนาจแห่งฉันทะเป็นต้น จากรูปเหล่านั้น ที่จะพึงรู้แจ้งได้ทาง
จักษุ ด้วยอุบาย มีการระลึกถึงอสุภารมณ์เป็นต้น อธิบายว่า เมื่อความ
กำหนัดในเพราะอิฏฐารมณ์ เกิดขึ้นในจักษุทวาร จิตของผู้ระลึกถึง (มัน)
โดยความเป็นอสุภะ จะหมุนกลับ. เมื่อความขัดเคืองในเพราะอนิฏฐารมณ์
เกิดขึ้น จิตของผู้ระลึกถึงมัน โดยเมตตา จะหมุนกลับ. เมื่อความหลง
ในเพราะมัชฌัตตารมณ์เกิดขึ้น จิตของผู้ระลึกถึงการสอบถามอุทเทส
การอยู่กับครู จะหมุนกลับ. แต่บุคคลเมื่อไม่สามารถทำอย่างนี้ได้ ควร
ระลึกถึง ความที่พระศาสดาเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ความที่พระธรรมเป็นสวาก-
ขาตธรรม และความปฏิบัติชอบของพระสงฆ์๑. เพราะว่าเมื่อภิกษุพิจารณา
ความที่พระศาสดาเป็นผู้ยิ่งใหญ่ก็ดี ความที่พระธรรมเป็นสวากขาตธรรม
ก็ดี พิจารณาการอาทิผิด สระปฏิบัติชอบของพระสงฆ์ก็ดี จิตจะหมุนกลับ. ด้วยเหตุนั้น
จึงได้กล่าวไว้ว่า อสุภาวชฺชนาทีหิ อุปาเยหิ นิวารเย.
บทว่า กิฏฺฐํ ได้แก่หัวคล้าที่เกิดขึ้นในที่ ๆ แออัด. บทว่า สมฺปนฺนํ
ได้แก่บริบูรณ์แล้ว คืองอกงามดีแล้ว. บทว่า กิฏฺฐาโต ได้แก่เคี้ยวกิน
ข้าวกล้า.
๑. ปาฐะว่า สุปฏิปตฺติ ฉบับพม่าเป็น สุปฏิปตฺติ แปลตามฉบับพม่า.
 
๒๘/๓๔๕/๔๙๐

ไม่มีความคิดเห็น: