วันพุธ, ธันวาคม 14, 2565

Nai

 
อภิศัพท์นี้มาในอรรถว่าเจริญ ในคำเป็นต้นว่า ทุกขเวทนากล้า ย่อมเจริญ
แก่เรา ดังนี้. มาในอรรถว่ามีความกำหนดหมายในคำเป็นต้นว่า ราตรี
เหล่านั้นใด อันท่านรู้กันแล้ว กำหนดหมายแล้ว ดังนี้. มาในอรรถว่าอัน
บุคคลบูชาแล้ว ในคำมีว่า พระองค์เป็นพระราชาผู้อันพระราชาบูชาแล้ว
เป็นจอมมนุษย์ เป็นอาทิ. มาในอรรถว่าอันบัณฑิตกำหนดตัดแล้ว ในคำ
เป็นอาทิว่า ภิกษุเป็นผู้สามารถเพื่อจะแนะนำเฉพาะธรรม เฉพาะวินัย ท่าน
อธิบายว่า เป็นผู้สามารถจะแนะนำในธรรมและวินัย ซึ่งเว้นจากความปะปน
กันและกัน. มาในอรรถว่ายิ่ง ในคำเป็นต้นว่า มีวรรณะงามยิ่ง ดังนี้.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมทั้งหลายในพระอภิธรรมนี้ มีความเจริญบ้าง
โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุย่อมเจริญมรรค เพื่อเข้าถึงรูปภพ ภิกษุมีจิตประกอบ
ด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่ง อยู่. ชื่อว่ามีความกำหนดหมายบ้าง เพราะ
เป็นธรรมควรกำหนดได้ ด้วยกรรมทวารและปฏิปทาที่สัมปยุตด้วยอารมณ์
เป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า จิต ... ปรารภอารมณ์ใด ๆ เป็นรูปารมณ์ก็ดี
สัททารมณ์ก็ดี อันบุคคลบูชาแล้วบ้าง อธิบายว่า ควรบูชา โดยนัยเป็นต้นว่า
เสขธรรม อเสขธรรม โลกุตรธรรม๙. ชื่อว่าอันบัณฑิตกำหนดตัดบ้าง เพราะ
เป็นธรรมที่ท่านกำหนดตามสภาพ โดยนัยอาทิผิด อักขระเป็นต้นว่า ในสมัยนั้น ผัสสะมี
เวทนามี๑๐. ตรัสธรรมทั้งหลายที่ยิ่งบ้าง โดยนัยเป็นต้นว่า มหัคคตธรรม
อัปปมาณธรรม๑๑ อนุตตรธรรม๑๒ ด้วยเหตุนั้น เพื่อความเป็นผู้ฉลาดใน
อรรถาธิบายคำแห่งพระอภิธรรมนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ไว้ว่า
๑. สํ. มหา. ๑๙/๑๑๔. ๒. ม. มู. ๑๒/๓๖. ๓. ขุ. สุ. ๒๕/๔๔๔ ๔. วิ. มหา. ๔/๑๔๒. ๕. ขุ. วิมาน. ๒๖/๑๓. ๖. อภิ. สํ. ๓๔/๔๔. ๗. อภิ. วิ. ๓๕/๓๖๙. ๘. อภิ. วิ. ๓๕/๓๖๙. ๙. อภิ. สํ. ๓๔/๓ ๑๐. อภิ. สํ. ๓๔/๙. ๑๑. อภิ. สํ. ๓๔/๑ ๑๒. อภิ. สํ. ๓๔/๗
 
๑/๙/๔๕

ไม่มีความคิดเห็น: