วันอังคาร, ธันวาคม 13, 2565

Wa

 
บทว่า สาวตฺถึ โอสรนฺติ นี้ ตรัสโดยถือพวกผู้อยู่ได้เดือนหนึ่ง
ตามภาวะของตน ในที่ที่พอได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประทาน
ปวารณาสงเคราะห์ จึงพากันทำอุโบสถกรรม ในวันเพ็ญเดือน ๑๑ แล้วพากัน
หลั่งไหลมา บทว่า ปุพฺเพนาปรํ ความว่า ภิกษุทั้งหลายกระทำกรรมใน
สมถะและวิปัสสนาที่ยังอ่อน ได้ทำให้สมถะและวิปัสสนาทั้งหลายมีกำลังขึ้นใน
ที่นี้ นี้ชื่อว่าคุณวิเศษในกาลก่อน. ต่อแต่นั้นภิกษุทั้งหลายมีจิตตั้งมั่นพิจารณา
สังขารทั้งหลาย บางเหล่าทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ฯลฯ บางเหล่าทำให้แจ้ง
อรหัตผล. นี้ชื่อว่า คุณวิเศษอันกว้างขวางยิ่ง.
บทว่า อลํ แปลว่า ควร. บทว่า โยชนคณนานิ ความว่า
โยชน์เดียวก็เรียกว่าโยชน์เหมือนกัน แม้ ๑๐ โยชน์ก็เรียกว่าโยชน์เหมือนกัน
เกินกว่านั้นเรียกว่าอาทิผิด อาณัติกะ โยชนคณนานิ (นับเป็นโยชน์ ๆ) แต่ในที่นี้ประสงค์
เอาร้อยโยชน์บ้าง พันโยชน์บ้าง เสบียงสำหรับผู้เดินทาง ท่านเรียกว่า ปูโฏส
ในคำว่า ปูโฏเสนาปิ อธิบายว่า แม้การถือเอาเสบียงนั้นเข้าไปหาก็ควรแท้.
ปาฐะว่า ปูฏํเสน ดังนี้ก็มี อธิบายความของปาฐะนั้นว่า ชื่อว่า ปูฏํส (ผู้มี
เสบียงคล้องบ่า) เพราะที่บ่าของเขามีเสบียงอันบุคคลผู้มีเสบียงคล้องบ่านั้น
อธิบายว่า แม้เอาห่อเสบียงสะพายอาทิผิด สระบ่า.
บัดนี้ เพื่อจะแสดงว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ประกอบด้วยคุณทั้งหลายเห็น
ปานนี้ มีอยู่ ในที่นี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า สนฺติ ภิกฺขเว ดังนี้ บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า จตุนฺน สติปฏฺฐานานํ ดังนี้เป็นต้น ตรัสเพื่อทรงแสดง
กรรมฐานที่ภิกษุทั้งหลายนั้นสนใจมาก บรรดาธรรมเหล่านั้น ตรัสโพธิ-
ปักขิยธรรม ๓๗ ประการอันเป็นทั้งโลกิยะ และโลกุตระ ก็ในข้อนั้น ภิกษุ
เหล่าใดยังมรรคให้เกิดในขณะนั้น โพธิปักขิยธรรมเหล่านั้นย่อมเป็นโลกุตระ
สำหรับภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น เป็นโลกิยะสำหรับภิกษุทั้งหลายผู้เจริญวิปัสสนา.
 
๒๒/๒๙๑/๓๗๘

ไม่มีความคิดเห็น: