วันพฤหัสบดี, เมษายน 18, 2567

Akhama

 
ครั้ง เหมือนกัน. ศัพท์ว่า อภิวาเทตฺวา แปลว่า ไหว้. ความจริง คน
ทั้งหลาย เห็นพระตถาคตเจ้าแล้ว ทั้งผู้ที่เลื่อมใส ทั้งผู้ที่ไม่เลื่อมใส ส่วนมาก
ไหว้กันทั้งนั้น ผู้ไม่ไหว้มีเป็นส่วนน้อย เพราะเหตุอะไร คนที่เกิดในตระกูล
อันสูงยิ่ง แม้ครองเรือนก็ไหว้กันทั้งนั้น. ส่วนคฤหบดีผู้นี้ ไหว้เพราะเป็น
คนเลื่อมใส เขาว่าพอเห็นเข้าเท่านั้น ก็เลื่อมใสเสียแล้ว. คำว่า อาคมาอาทิผิด อักขระ
นุขฺวิธ แยกสนธิเป็น อาคมา นุ โข อิธ. คำว่า สาธุ สาธุ
ภนฺเต ตปสฺส ความว่า อุบาลีคฤหบดี เมื่อจะให้สาธุการแก่ฑีฆตปัสสี
นิครนถ์ ก็เรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ภนฺเต. คำว่า สจฺเจ ปติฏฺฐาย
ความว่า ตั้งอยู่ในวจีสัตย์ไม่สั่นคลอนเหมือนหลักที่ปักลงในกองแกลบ. คำว่า
สิยา โน แปลว่า พึงมีแก่พวกเรา. ศัพท์ว่า อิธ แปลว่า ในโลกนี้.
ศัพท์ว่า อสฺส แปลว่า พึงมี. คำว่า สีโตทกํ ปฏิกฺขิตฺโต ความว่า
นิครนถ์ห้ามน้ำเย็นด้วยเข้าใจว่า มีตัวสัตว์. คำนี้ท่านกล่าวหมายถึงน้ำที่มีตัว
สัตว์.
คำว่า มโนสตฺตา นาม เทวา ความว่า เทพทั้งหลาย ผู้ติด ผู้ข้อง
ผู้เกี่ยวข้องแล้วในใจ. คำว่า มโนปฏิพนฺโธ ความว่า อุบาลีคฤหบดีแสดงว่า
บุคคลผู้ติดพันอยู่ในใจย่อมกระทำกาละ (ตาย) เพราะเหตุนั้น เขาจึงเกิดในเทพ
เหล่ามโนสัตว์. แท้จริง โรคที่เกิดแต่จิตจักมีแก่เขา เพราะเหตุนั้น การดื่ม
น้ำร้อน หรือนำน้ำร้อนเข้าไป เพื่อประโยชน์แก่การล้างมือและเท้าเป็นต้นหรือ
เพื่อประโยชน์แก่การรดอาบตนเองและคนอื่น จึงไม่ควรแก่เขาโรคจะกำเริบ.
น้ำเย็นจึงควร ระงับโรคได้. ก็นิครนถ์นี้เสพแต่น้ำร้อนเท่านั้น เมื่อไม่ได้น้ำร้อน
ก็เสพแต่น้ำข้าวและน้ำผักดองแทน เขาต้องการดื่ม และต้องการบริโภคน้ำเย็น
นั้นแม้ด้วยจิต เพราะเหตุนั้น มโนทัณฑะของเขาจึงแตก เพราะไม่ได้ดื่ม และ
บริโภคน้ำเย็นนั้น เขาไม่อาจจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าจะรักษากายทัณฑะและวจีทัณฑะ
 
๒๐/๘๓/๑๔๑

ไม่มีความคิดเห็น: