วันเสาร์, เมษายน 13, 2567

Chaeng

 
แนวทางคำถามไว้อย่างสูงว่า ดูก่อนภารทวาชะวิญญูชนเมื่อปฏิบัติด้วยหวังว่า
จักตามรักษาสัจจะ ไม่ควร คือไม่สมควรที่จะถึงการตกลงโดยส่วนเดียวอย่าง
นี้ว่า สิ่งที่เรายึดถือเท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า. คำว่า อิธ ภารทฺวาช ภิกฺขุ
ภารทวาชะ ภิกษุในศาสนานี้ ความว่า ตรัสหมายถึงพระองค์เอง เหมือน
ในชีวกสูตรและมหาวัจฉสูตร. คำว่า โลภนีเยสุ ธมฺเมสุ ในธรรม
เป็นที่ตั้งแห่งความโลภ คือ ในธรรมคือความโลภ. แม้ในสองบทที่เหลือ
ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. คำว่า สทฺธํ นิเวเสติ ย่อมตั้งลงซึ่งศรัทธา คือ
ย่อมตั้งลงซึ่งศรัทธาที่ไว้ใจได้. บทว่า เข้าไป แปลว่า เข้าไปหา. บทว่า
ปยิรุปาสติ แปลว่า นั่งในที่ใกล้ บทว่า โสตํ ได้แก่ เงี่ยโสตประสาท.
บทว่า ธรรม คือ ฟังเทศนาธรรม. บทว่า ทรงไว้ ความว่า กระทำให้
คล่องแคล่วทรงไว้. บทว่า ย่อมไต่สวน คือพิจารณาโดยอัตถะและการณะ
คำว่า ย่อมควรการเพ่ง คือ ย่อมควรตรวจดู. อธิบายว่า ย่อมปรากฏ
ได้อย่างนี้ว่า ศีลตรัสไว้ในที่นี้ สมาธิตรัสไว้ในที่นี้. ความพอใจคือความ
ต้องการที่จะทำ ชื่อว่า ฉันทะ. บทว่า ย่อมอุตสาหะ คือ ย่อมพยายาม.
คำว่า ย่อมเทียบเคียง คือย่อมพิจารณาด้วยอำนาจอนิจจลักษณะเป็นต้น.
บทว่า ย่อมตั้งความเพียร คือย่อมตั้งความเพียรในมรรค. คำว่า ทำให้
แจ้งปรมัตถสัจจะด้วยกาย ความว่า ทำให้แจ้งอาทิผิด อักขระพระนิพพานด้วยนามกายอัน
เป็นสหชาต และชำแหละกิเลสด้วยปัญญาเห็นแจ้งพระนิพพานนั้นนั่นแหละ
อย่างปรากฏชัดแจ้ง. บทว่า การตรัสรู้สัจจะ คือ การตรัสรู้มรรค. บทว่า
การบรรลุสัจจะ คือการทำให้แจ้งผล. บทว่า เหล่านั้นนั่นแหละ คือ ธรรม
๑๒ ประการ ที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง. ท่านย่อมอนุโลมการกล่าวถึงมรรค
อย่างยืดยาวอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงไม่มีอธิบายอย่างนี้.
 
๒๑/๖๖๐/๓๗๐

ไม่มีความคิดเห็น: