วันพุธ, เมษายน 17, 2567

Phutapupphang

 
กถาให้สมควรแก่เรื่องราวนั้นแล้ว เมื่อจะทรงทำโทษแห่งวิญญัติให้
ปรากฏชัดแม้อีก จึงทรงแสดง ๓ เรื่องนี้ โดยนัยเป็นต้นว่า ภูตปุพฺพํอาทิผิด สระ
ภิกฺขเว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มณิกณฺโฐ มีความว่า ได้ยินว่า
พญานาคนั้นประดับแก้วมณีมีค่ามาก ซึ่งอำนวยให้สิ่งที่ปรารถนาทุกอย่าง
ไว้ที่คอ เที่ยวไป ; เพราะฉะนั้น จึงปรากฏนามว่า มณีกัณฐนาคราช.
คำว่า อุปริมุทฺธนิ มหนฺตํ ผณํ อฏฺฐาสิ มีความว่า ได้ยินว่า
บรรดาฤษีทั้ง ๒ นั้น ฤษีผู้น้องนั้น เป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา; เพราะ
เหตุนั้น พญานาคนั้นจึงขึ้นมาจากแม่น้ำ นิรมิตเพศเป็นเทวดานั่งในสำนัก
แห่งฤษีนั้น กล่าวสัมโมทนียกถา ละเพศเทวดานั้นแล้ว กลับกลาย
เป็นเพศเดิมของตนนั้นแล วงล้อมฤษีนั้น เมื่อจะทำอาการเลื่อมใส จึง
แผ่พังพานใหญ่เบื้องบนศีรษะแห่งฤษีนั้น ดุจกั้นร่มไว้ยับยั้งอยู่ชั่วครู่หนึ่ง
แล้วจึงหลีกไป. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า ได้ยืน
แผ่พังพานใหญ่ไว้ ณ เบื้องบนศีรษะ ดังนี้.
ข้อว่า มณิมสฺส กณฺเฐ ปิลนฺธนํ มีความว่า ซึ่งแก้วมณีอัน
พญานาคนั้นประดับไว้ คือ สวมไว้ที่คอ.
สองบทว่า เอกมนฺตํ อฏฺฐาสิ มีความว่า พญานาคนั้นมาแล้ว
โดยเพศเทวดานั้น ชื่นชมอยู่กับดาบส ได้ยืนอยู่ ณ ประเทศหนึ่ง.
บทว่า มนฺนปานํ ได้แก่ ข้าวและน้ำของเรา.
บทว่า วิปุลํ ได้แก่ มากมาย.
บทว่า อุฬารํ ได้แก่ ประณีต.
 
๓/๕๒๐/๔๐๘

ไม่มีความคิดเห็น: