วันอังคาร, เมษายน 09, 2567

Khop ha

 
อธิบายกำลังข้อที่ ๕
คำว่า หีนาธิมุตฺติกา ได้แก่ อัธยาศัยอันเลวทราม. คำว่า ปณีตา-
ธิมุตฺติกา ได้แก่ มีอัธยาศัยอันดี. คำว่า เสวนฺติ ได้แก่ (ย่อมคบหา
สมาคม) ย่อมอาศัย ย่อมติดใจ. คำว่า ภชนฺติ ได้แก่ การเข้าไปใกล้.
คำว่า ปยิรุปาสนฺติ ได้แก่ การเข้าไปหาบ่อย ๆ จริงอยู่ ถ้าว่าพระอาจารย์
และอุปัชฌาย์ไม่มีศีล สัทธิวิหาริก (ผู้อยู่ร่วม) มีศีล สัทธิวิหาริกเหล่านั้น
ย่อมไม่เข้าไปใกล้แม้ในอาจารย์และอุปัชฌาย์ของตน ย่อมเข้าไปใกล้ในภิกษุผู้
สมควรเช่นกับตนเท่านั้น. ถ้าว่าอาจารย์และอุปัชฌาย์คนใดเป็นผู้มีศีล สัทธิ-
วิหาริกไม่มีศีล ก็ย่อมไม่เข้าไปใกล้อาจารย์และอุปัชฌาย์ ย่อมเข้าไปใกล้ภิกษุผู้มี
อัธยาศัยเลวเช่นกับตนเท่านั้น. ก็การเข้าไปคบหาอาทิผิด อักขระสมาคมด้วยอาการอย่างนี้ ไม่
มีในกาลบัดนี้เท่านั้น เพื่อแสดงว่า มีแล้วแม้แต่ในอดีตกาล และจักมีใน
อนาคตกาล ดังนี้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อตีตมฺปิ
อทฺธานํ เป็นต้น. คำนั้นมีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
ถามว่า บุคคลผู้ทุศีลคบหาสมาคมกับผู้ทุศีลด้วยกัน บุคคลผู้มีศีลคบ
หาสมาคมกับผู้มีศีลด้วยกัน ผู้มีปัญญาทรามคบหาสมาคมกับผู้มีปัญญาทรามด้วย
กัน บุคคลผู้มีปัญญาดีคบหาสมาคมกับผู้มีปัญญาดีด้วยกันเท่านั้น. อะไรย่อม
กำหนด ?
ตอบว่า อัชฌาสยธาตุ (ความพอใจอันเป็นมูลเดิม) ย่อมกำหนด.
ได้ยินว่า ภิกษุทั้งหลายมีจำนวนมาก ย่อมเที่ยวไปสู่บ้านหนึ่ง เป็น
การไปเพื่อภิกษาเป็นคณะ. พวกมนุษย์นำอาหารจำนวนมากใส่บาตรให้เต็มถวาย
แล้ว ก็ส่งไปด้วยคำว่า ขอท่านทั้งหลายจงฉันอาหารตามส่วนของท่านทั้งหลาย
ดังนี้. แม้ภิกษุทั้งหลายก็กล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุ พวกมนุษย์ย่อมประกอบการ
งานอันประกอบพร้อมด้วยธาตุ (ความพอใจ) ดังนี้. แม้พระเถระชื่อว่า จูฬาภัย
 
๗๘/๘๔๘/๗๓๙

ไม่มีความคิดเห็น: