วันพฤหัสบดี, เมษายน 11, 2567

Banlang

 
ก็เหมือนกันอย่างนั้นแหละ พึงกล่าวว่า ง่ายสำหรับพระอานนท์ ผู้เข้า
ถึงญาณ (มีปัญญามาก) แต่ไม่พึงกล่าวว่า ง่ายสำหรับภิกษุเหล่าอื่น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “ดูก่อนอานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนี้” ดังนี้
ทรงหมายเอาข้อความนี้แล.
จริงอยู่ ปฏิจจสมุปบาท แม้จะเป็นธรรมที่ลึกซึ้ง แต่ก็ปรากฏว่า
เป็นธรรมง่ายแก่พระอานนทเถระ ด้วยเหตุ ๔ ประการ. เหตุ ๔ ประการ
คืออะไรบ้าง. คือ ด้วยการถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยในปางก่อน ๑ ด้วยการ
อยู่ใกล้ศาสดา ๑ ด้วยความเป็นผู้บรรลุกระแสธรรม ๑ ด้วยความเป็นผู้
ได้ยินได้ฟังมาก ๑.
เล่ากันมาว่า ในแสนกัป นับแต่ภัทรกัปนี้ไป ได้มีพระศาสดา
ทรงพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก พระองค์ทรงมีนคร
ที่ประทับนามว่า หังสวดี ทรงมีพระบิดาเป็นพระราชา ทรงพระนามว่า
อานันทะ ทรงมีพระมารดาเป็นพระเทวี ทรงพระนามว่า สุเมธา
พระโพธิสัตว์ทรงพระนามว่า อุตตรกุมาร. พระองค์ได้เสด็จออก
มหาภิเนษกรมณ์ ในวันที่พระโอรสประสูติ ทรงผนวชแล้วประกอบ
ความเพียรเนือง ๆ ทรงบรรลุสัพพัญญุตญาณตามลำดับ ทรงเปล่งอุทาน
ว่า อเนกชาติสํสารํ เป็นอาทิ ทรงยับยั้งให้เวลาล่วงไปที่โพธิบัลลังก์อาทิผิด
สิ้น ๗ วันแล้ว ทรงยกพระบาทออกด้วยพระดำริว่า “เราจักเอาเท้า
เหยียบแผ่นดิน.” ขณะนั้น ดอกบัวหลวงดอกใหญ่ ก็ชำแรกแผ่นดิน
ปรากฏขึ้น กลีบดอกบัวนั้น วัดได้ ๙๐ ศอก เกสร ๓๐ ศอก ฝัก ๑๒
ศอก มีละอองเกสรประมาณ ๙ หม้อ.
ส่วนพระศาสดา โดยส่วนสูง ทรงสูง ๕๘ ศอก ระหว่างพระ-
 
๒๖/๒๒๙/๒๗๘

ไม่มีความคิดเห็น: