วันอาทิตย์, เมษายน 07, 2567

Chueng

 
บทว่า อปฺปกสิเรเนว ได้แก่ โดยไม่ลำบากเลย. อมตนิพพาน
ท่านกล่าวว่า ฝั่ง ดังนั้น นิพพาน ซึ่งออกจากเครื่องร้อยรัดคือตัณหา
ท่านกล่าวว่า ฝั่ง ซึ่งเป็นฝั่งนอกจากฝั่งในแห่งสักกายทิฏฐิ.
บทว่า โยโส ได้แก่ นี้ใด. บททั้งปวงมีบทว่า สพฺพสงฺขาร
สมโถ เป็นต้น หมายความถึงพระนิพพานทั้งนั้น ก็เพราะความสะเทือน
แห่งสังขารทั้งปวง ความหวั่นไหวแห่งสังขารทั้งปวง ความดิ้นรนแห่ง
สังขารทั้งปวง ย่อมสงบ ย่อมระงับ เพราะอาศัยนิพพานนั้น ฉะนั้น ท่าน
จึงอาทิผิด สระกล่าวนิพพานว่า เป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง.
อนึ่ง เพราะอุปธิทั้งปวงย่อมเป็นอันสละคืนได้ ตัณหาทั้งปวงย่อม
สิ้นไป ความกำหนัดคือกิเลสทั้งปวงย่อมคลายไป ทุกข์ทั้งปวงย่อมดับไป
เพราะอาศัยนิพพานนั้น ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวนิพพานว่า เป็นที่สละคืน
อุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับ ก็ตัณหานี้
ท่านเรียกว่า วานะ เพราะวิเคราะห์ว่า ย่อมร้อยรัด ย่อมเย็บภพกับภพ
กรรมกับผล. ชื่อว่า นิพพานเพราะออกจากวานะนั้น พึงถึงฝั่ง คือพึง
ถึง พึงบรรลุฝั่งคือนิพพาน ด้วยโคตรภูญาณที่ออกโดยส่วนเดียว ด้วย
สามารถแห่งนิมิต พึงถึงฝั่งคือนิพพาน ด้วยมรรคญาณที่ออกโดยส่วน
๒ เป็นพิเศษ ด้วยความเป็นไปแห่งนิมิต พึงถูกต้อง คือพึงสัมผัส
ฝั่งคือนิพพาน ด้วยผลจิตซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์.
บทว่า สจฺฉิกเรยฺย ความว่า พึงถูกต้องด้วยสามารถแห่งคุณแล้ว
กระทำฝั่งคือนิพพานให้ประจักษ์ ด้วยปัจจเวกขณญาณ อีกอย่างหนึ่ง
อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาว่า พึงถึงฝั่งด้วยโสดาปัตติมรรค พึงบรรลุด้วย
 
๖๕/๒๙/๑๖๙

ไม่มีความคิดเห็น: