วันอาทิตย์, เมษายน 14, 2567

Sap

 
พรรณนาคาถาว่า ยานีธ
บัดนี้ จะเริ่มพรรณนาความ เพราะข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ว่าจักพรรณนา
ความแห่งรัตนสูตรนั้น แต่อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
๕ คาถา นี้ ที่เหลือท่านพระอานนทเถระกล่าวจะอย่างไรก็ตาม ประโยชน์อะไร
ของเราด้วยคาถาเล็กน้อย ที่ยังไม่ได้ตรวจตรานี้ ข้าพเจ้าจักพรรณนาความแห่ง
รัตนสูตรนี้ แม้โดยประการทั้งปวง.
จะพรรณนาคาถาแรกว่า ยานีธ ภูตานิ เป็นต้น. ในคาถาแรกนั้น
บทว่า ยานิ ได้แก่ เช่นใด ไม่ว่าจะมีศักดิ์น้อยหรือศักดิ์มาก. บทว่า อิธ
แปลว่า ในประเทศนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงสถานที่ประชุมในขณะ
นั้น . ในบทว่า ภูตานิ ภูตศัพท์อาทิผิด อักขระ ใช้หมายถึงสิ่งที่มีอยู่ ได้ในประโยคเป็น
ต้นอย่างว่า ภูตสฺมึ ปาจิตฺติยํ เป็นอาบัติปาจิตตีย์ เพราะภูตคาม. ใช้
หมายถึง ขันธปัญจก ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ภูตมิทํ ภิกฺขเว
สมนุปสฺสถ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงพิจารณาเห็นขันธปัญจกนี้. ใช้
หมายถึงรูป มีปฐวีธาตุเป็นต้น ๔ อย่าง ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า
จตฺตาโร โข ภิกฺขุ มหาภูตา เหตุ ดูก่อนภิกษุ มหาภูตรูป ๔ แลเป็น
เหตุ. ใช้หมายถึงพระขีณาสพ ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า โย จ กาลฆโส
ภูโต ก็พระขีณาสพใดแล กินกาลเวลา. ใช้หมายถึงสรรพสัตว์ ได้ในประ-
โยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า สพฺเพว นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสยํ
สรรพสัตว์จักทอดทิ้งเรือนร่างไว้ในโลก. ใช้หมายถึงต้นไม้เป็นต้นได้ในประโยค
เป็นต้นอย่างนี้ว่า ภูตคามปาตพฺยตาย ในเพราะพรากภูตคาม. ใช้หมาย
ถึงหมู่สัตว์ภายใต้เทพชั้นจาตุมมหาราช ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ภูตํ
ภูตโต สญฺชานาติ จำได้ซึ่งหมู่สัตว์โดยเป็นหมู่สัตว์ก็จริง ถึงกระนั้น ภูตํ
ศัพท์ พึงทราบว่าใช้ในอรรถว่า อมนุษย์ โดยไม่ต่างกัน.
 
๓๙/๗/๒๒๘

ไม่มีความคิดเห็น: