วันพุธ, เมษายน 19, 2566

Kratham

 
อโมหะความไม่หลง เป็นปฏิปักษ์ต่อการไม่เจริญในกุศลธรรมทั้ง
หลาย คือเป็นเหตุให้เจริญ. บุคคลมีความไม่หลง ย่อมถือเอาไม่วิปริตจาก
การถือเอาวิปริตของคนหลง. บุคคลทรงจำความแน่นอนโดยเป็นความแน่
นอน ย่อมเป็นไปในสภาวะที่เป็นจริง ด้วยความไม่หลง. ก็คนหลงย่อม
ถือเอาความจริง ว่าไม่จริง และความไม่จริง ว่าจริง ย่อมมีทุกข์เพราะ
ไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา ด้วยประการนั้น.
คนไม่หลงย่อมไม่มีมรณทุกข์ เพราะเกิดแต่การพิจารณา มีอาทิ
อย่างนี้ว่า จะได้ความทุกข์นั้นแต่ไหนในที่นี้. ก็ความตายด้วยความลุ่มหลง
เป็นทุกข์ และความตายด้วยความลุ่มหลงนั้น ไม่มีแก่คนไม่หลง. บรรพชิต
ทั้งหลายย่อมอยู่ร่วมกันเป็นสุข ไม่บังเกิดในกำเนิดเดียรฉาน. ก็คนที่ลุ่ม
หลงเป็นนิจย่อมเข้าถึงกำเนิดเดียรฉานด้วยความหลง. และความไม่หลงเป็น
ปฏิปักษ์ต่อความหลง. กระทำให้ไม่มีความเป็นกลาง ด้วยอำนาจความ
หลง. อวิหิงสาสัญญา ธาตุสัญญา การปฏิบัติมัชฌิมาปฏิปทา การทำลาย
๒ คัณฐะหลัง ย่อมมีด้วยความไม่หลง. สติปัฏฐาน ๒ ข้อหลัง ย่อมสำเร็จ
ด้วย อานุภาพของความไม่หลงนั้นแล.
ความไม่หลงเป็นปัจจัยให้เป็นผู้มีอายุยืน. ด้วยว่าคนผู้ไม่หลง รู้
ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์, เว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เสพเฉพาะสิ่งที่เป็น
ประโยชน์, ย่อมมีอายุยืน, ไม่เสื่อมจากอรรถสมบัติ. ก็คนผู้ไม่หลงเมื่อ
กระทำอาทิผิด สระสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนนั่นแล ย่อมยังตนอาทิผิด อักขระให้ถึงพร้อมด้วยความไม่
หลง ย่อมเป็นปัจจัยแห่งการอยู่อย่างประเสริฐ เป็นผู้ดับในฝ่ายที่เป็นกลาง.
 
๖๕/๖๙/๓๘๔

ไม่มีความคิดเห็น: