วันเสาร์, เมษายน 29, 2566

Tang

 
ในบทว่า วิสฺสวนฺโต ตโต ตโต นี้ เชื่อมความว่า กายนี้ แม้เมื่อ
ชนทั้งหลายพยายามเพื่อจะปกปิดความที่กายเป็นของน่าเกลียด ด้วยดอกไม้
และของหอมเป็นต้น ก็ทำความพยายามนั้นให้ไร้ผล ทำน้ำลายและน้ำมูก
เป็นต้นให้ไหลออกจากทวารทั้ง ๙ และทำเหงื่อที่หมักหมมให้ไหลออก
จากขุมขนทั้งหลายบริหารอยู่.
เมื่อจะแสดงว่า ก็กายนี้แม้เป็นของน่าเกลียดอย่างนี้ ก็ยังลวงปุถุชน
ผู้บอดเขลาด้วยรูปเป็นต้นของตน เหมือนพรานเนื้อลวงเนื้อเป็นต้น ด้วย
เครื่องดักมีหลุม (พราง) เป็นต้นฉะนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า มิคํ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิคํ นิลีนํ กูเฏน ความว่า เหมือน
พรานเนื้อแอบคือซ่อนดักเนื้อ ด้วยเครื่องดักมีบ่วงเป็นต้น. จริงอยู่ อิว
ศัพท์ที่กำลังจะกล่าวถึง แม้ในประโยคนี้ ก็ควรนำมาประกอบเข้า.
บทว่า พฬิเสเนว อมฺพุชํ ความว่า เหมือนพรานเบ็ดตกสัตว์ที่เกิด
ในน้ำคือปลา ด้วยเบ็ดที่เกี่ยวเหยื่อไว้ฉะนั้น.
บทว่า วานรํ วิย เลเปน ความว่า เบญจกามคุณย่อมลวงปุถุชนผู้
บอดให้ลำบาก เหมือนพรานเนื้อลวงจับลิงด้วยตังอาทิผิด อักขระซึ่งวางไว้ที่ต้นไม้และ
ศิลาเป็นต้น.
เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามที่ว่า ใครทำให้ลำบาก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า
รูป เสียง ดังนี้. จริงอยู่ ส่วนของกาม ๕ ส่วนมีรูปเป็นต้น โดยพิเศษ
เป็นที่อาศัยของวัตถุที่เป็นวิสภาคกัน ทำใจของปุถุชนผู้บอดผู้ถูกห้อมล้อม
ด้วยอโยนิโสมนสิการ อันเป็นที่เข้าไปอาศัยของวิปลาส ให้ยินดี ชื่อว่า
ย่อมยังอันธปุถุชนเหล่านั้นให้ลำบาก เพราะนำอาทิผิด สระความพินาศมาให้ โดย
ความที่รูปเป็นต้นเป็นวัตถุที่ตั้งของกิเลส. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
 
๕๒/๓๖๐/๒๓๔

ไม่มีความคิดเห็น: