วันอาทิตย์, เมษายน 30, 2566

Mai

 
ใช้ในอรรถว่า โสมนัส ได้ในประโยคเป็นต้นว่า เย เวทชาตา
วิจรนฺติ โลเก ชนเหล่าใดเกิดโสมนัส เที่ยวไปในโลก.
ใช้ในอรรถว่า คันถะ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า ติณฺณํ เวทานํ ปารคู
สนิฆณฺฑุเกฏุภานํ ผู้จบคัมภีร์ไตรเพท พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์และเกฏุภ-
ศาสตร์. แม้ในที่นี้ก็ใช้ในอรรถว่า คันถะ คัมภีร์. บทว่า ปารคู ได้แก่ ชื่อว่า-
ปารคูเพราะถึงฝั่งแห่งคัมภีร์ไตรเพท ด้วยเพียงทำให้คล่องปาก. บทว่า ลกฺข-
เณ ได้แก่ ในลักษณศาสตร์ มีลักษณะสตรีลักษณะบุรุษและมหาปุริสลักษณะ.
บทว่า อิติหาเส ได้แก่ ในคัมภีร์พิเศษ กล่าวคือโบราณคดี อันประกอบ
ด้วยคำเช่นนี้ว่าเล่ากันว่าดังนี้ เล่ากันว่าดังนี้. บทว่า สธมฺเม ได้แก่ ในธรรม
ของตนหรือในอาจารย์ของตัวพราหมณ์ทั้งหลาย. บทว่า ปารมึ คโต แปลว่า
ถึงฝั่ง อธิบายว่า ได้เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์.
ต่อมาวันหนึ่ง สุเมธบัณฑิต เป็นบัณฑิตผู้เพลินอยู่ด้วยกองคุณ ๑๐
ประการนั้น ก็อยู่ในที่ลับ ณ ปราสาทชั้นบน นั่งขัดสมาธิดำริว่า ขึ้นชื่อว่า
การถือปฏิสนธิในภพใหม่อาทิผิด สระเป็นทุกข์ การแตกดับแห่งสรีระในสถานที่เกิดแล้ว
เกิดเล่า ก็เหมือนกันคือเป็นทุกข์ ก็เรามีชาติ ชรา พยาธิ มรณะเป็นธรรมดา
เราเป็นอยู่อย่างนี้ ก็ควรแสวงหาพระนิพพาน อันไม่มีชาติ [ชรา] พยาธิ
มรณะ เป็นที่จำเริญสุข อันจะพ้นจากการท่องเที่ยวไปในภพ จะพึงมีได้ก็
ด้วยมรรคอย่างหนึ่ง ซึ่งจะให้ถึงพระนิพพานแน่แท้. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ในครั้งนั้น เรานั่งคิดอยู่ในที่ลับอย่างนี้ว่า ขึ้น
ชื่อว่าการเกิดใหม่และการแตกดับแห่งสรีระเป็นทุกข์.
ครั้งนั้น เรามีชาติชราพยาธิเป็นธรรมดา จำเรา
จักแสวงหาพระนิพพาน ซึ่งไม่แก่ไม่ตาย แต่เกษม.
 
๗๓/๑/๑๗๐

ไม่มีความคิดเห็น: