วันพฤหัสบดี, เมษายน 06, 2566

Pandite

 
เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาควนิโก ได้แก่บุรุษ ผู้เรียนศิลปะ
ชาวนาควัน. ก็บุรุษผู้เรียนศิลปะจากผู้อื่น เรียกว่า นาควนิกะ. บทว่า
จตฺตาริ ปทานิ ได้แก่บทคือญาณ คือรอยคือญาณ ๔ อธิบายว่า ฐานที่
ญาณเหยียบ. บทว่า ปณฺฑิเตอาทิผิด อักขระ ในคำว่า ขตฺติยปณฺฑิเต เป็นต้น ได้แก่
ผู้ประกอบด้วยความเป็นบัณฑิต. บทว่า นิปุเณ แปลว่า ผู้ละเอียดคือผู้รู้
อรรถอันละเอียด ได้แก่ผู้สามารถแทงตลอดอรรถอันละเอียดอื่น ๆ. บทว่า
กตปรปฺปวาเท ได้แก่ รู้ปรัปปวาท และทำการย่ำยีปรัปปวาทะ. บทว่า
วาลเวธิรูเป แปลว่า เสมือน นายขมังธนูผู้ยิงขนทราย. บทว่า เต ภินฺทนฺตา
มญฺเญ จรนฺติ ความว่า เที่ยวไปประหนึ่งทำลายทิฏฐิของผู้อื่น แม้อย่าง
ละเอียดด้วยปัญญาของตนเหมือนนายขมังธนูผู้ยิงขนทราย. บทว่า ปญฺหํ
อภิสงฺขโรนฺติ ได้แก่ ตั้งปัญหา ๒ บทบ้าง ๓ บทบ้าง ๔ บทบ้าง. บทว่า
วาทํ อาโรเปสฺสาม ได้แก่ยกโทษขึ้น. บทว่า น เจว สมณํ โคตมํ ปญฺหํ
ปุจฺฉนฺติ ความว่า เพราะเหตุไรจึงไม่ถาม.
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงธรรมท่ามกลางบริษัท
จึงทรงตรวจดูอัธยาศัยของบริษัท แต่นั้นก็ทรงเห็นว่า ขัตติยบัณฑิตเหล่านั้น
มาแต่งปัญหาที่ลี้ลับ ชื่อว่า โอวัฏฏิกสาระ ปัญหาวกวน พระองค์มิได้ถูก
ขัตติยบัณฑิตถามเลย เมื่อตรัสถามปัญหาเหล่านี้ว่า ในการถามปัญหา มีโทษ
เพียงเท่านี้ ในการตอบปัญหา มีโทษเพียงเท่านี้ ในอรรถ บท อักขระ
มีโทษเพียงเท่านี้ พึงตรัสถามอย่างนี้ เมื่อจะทรงตอบ พึงตอบอย่างนี้
เพราะฉะนั้น จึงทรงใส่ไว้ในระหว่างธรรมกถา แล้วทรงกำจัดปัญหา
ที่ขัตติยบัณฑิตนำมาแต่งเป็นโอวัฏฏิกปัญหาเสียด้วยประการฉะนี้. เหล่าขัตติย-
บัณฑิตย่อมจะดีใจว่า เป็นการดีสำหรับเราหนอ ที่พวกเราไม่ต้องถาม
ปัญหานี้ ก็ถ้าพึงถามไซร้ พระสมณโคดมพึงทอดทิ้งพวกเราให้หมดที่พึ่ง.
 
๑๘/๓๓๙/๔๘๘

ไม่มีความคิดเห็น: