วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 06, 2565

Watthu

 
บุคคลพิจารณาเห็นโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม และหทยวัตถุอาทิผิด สระ และขันธ์ทั้งหลายที่
เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภโสตะเป็นต้นนั้น ราคะย่อมเกิดขึ้น
โทมนัสย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยทิพยจักษุ, รู้จิตของ
บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยเจโตปริย-
ญาณ.
ขันธ์ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่
เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
[๑๔๘๕] ๓. อนุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปา-
ทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล ทำอุโบสถกรรม แล้วพิจารณากุศล
นั้น, พิจารณากุศลที่สั่งสมดีแล้วในกาลก่อน, ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌาน.
พระอริยะทั้งหลายพิจารณาโคตรภู, พิจารณาโวทาน, พิจารณากิเลส
ที่ละแล้ว, พิจารณากิเลสที่ข่มแล้ว, รู้กิเลสที่เคยเกิดแล้วในกาลก่อน, พิจารณา
เห็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เป็นอนุปาทินนุปาทินนุปานิยธรรม และ
ขันธ์ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
 
๘๖/๑๔๘๕/๒๑๖

ไม่มีความคิดเห็น: