วันจันทร์, พฤศจิกายน 07, 2565

Wisutthi

 
วิสุทธิมรรคนั่นแล.
ก็ในบทว่า ปฐวีกสิณ ภาเวติ นี้ ที่ชื่อว่า เพราะอรรถว่า
ทั้งสิ้น. กสิณมีปฐวีเป็นอารมณ์ ชื่อว่าปฐวีกสิณ. คำว่า ปฐวีกสิณํ ภาเวติ
นี้ เป็นชื่อของบริกรรมว่าปฐวีก็มี ของอุคคหนิมิตก็มี ของปฏิภาคนิมิต
ก็มี ของฌานอันทำนิมิตนั้นให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้นก็มี. แต่ในที่นี้ ท่าน
ประสงค์เอาฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์. ภิกษุนั้นเจริญปฐวีกสิณนั้น.
แม้ในอาโปกสิณเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็ภิกษุเมื่อจะเจริญ
กสิณเหล่านี้ ชำระศีลแล้วตั้งอยู่ในศีลอันบริสุทธิ์ ตัดบรรดาปลิโพธความ
กังวล ๑๐ ประการที่มีอยู่นั้นออกไปเสีย แล้วเข้าไปหากัลยาณมิตรผู้ให้
กรรมฐาน เรียนเอากรรมฐานที่เป็นสัปปายะโดยเกื้อกูลแก่จริตของตน
แล้วละที่อยู่อันไม่เหมาะแก่การบำเพ็ญกสิณ อย่าในที่อยู่อันเหมาะสม ทำ
การตัดความกังวลเล็ก ๆ น้อย ๆ อยู่ทำภาวนาวิธีทุกอย่างให้เสื่อมไป พึง
เจริญเถิด. นี้เป็นความย่อในสูตรนี้ ส่วนความพิสดารได้กล่าวไว้แล้วใน
วิสุทธิมรรค.
ก็วิญญาณกสิณมาในวิสุทธิอาทิผิด อักขระมรรคนั้นทั้งสิ้น วิญญาณกสิณนั้นโดยใจ
ความก็คือวิญญาณอันเป็นไปในอากาสกสิณ. ก็วิญญาณนั้นแล ท่านกล่าว
โดยเป็นอารมณ์ ไม่ใช่กล่าวโดยเป็นสมาบัติ. ก็ภิกษุนี้กระทำวิญญาณกสิณ
นั้นให้เป็นวิญญาณไม่มีที่สุด แล้วเจริญวิญญาณัญจายตะสมาบัติอยู่
เรียกว่าเจริญวิญญาณกสิณ. กสิณ ๑๐ แม้นี้ เป็นวัฏฏะบ้าง เป็นบาทของ
วัฏฏะบ้าง เป็นบาทของวิปัสสนาบ้าง เป็นประโยชน์แก่การอยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบันบ้าง เป็นบาทของอภิญญาบ้าง เป็นบาทของนิโรธบ้าง เป็นโลกิยะ
เท่านั้น ไม่เป็นโลกุตระ.
 
๓๓/๒๔๖/๒๗๐

ไม่มีความคิดเห็น: