วันอังคาร, พฤศจิกายน 15, 2565

Tang

 
อีกอย่างหนึ่ง คำใด ตรัสว่า ภาสิตํ ท้ายคาถาต้น ทรงอ้างคำนั้น
เป็นตัวเหตุ จึงตรัสว่า เพราะเหตุที่ธรรมดาภาษิตของเรา หาได้ยากยิ่ง เพราะ
ขณะที่เว้นจากอขณะทั้งปวง หาได้ยาก และมีอานิสงส์มาก เพราะปฏิบัติด้วย
พระคุณมีปัญญาคุณและกรุณาคุณเป็นต้น ทั้งเราก็ประสงค์จะกล่าวภาสิตนั้น
จึงได้กล่าวว่า สุณนฺตุ ภาสิตํ ฉะนั้นแล ขอท่านภูตทั้งหลายทุกท่านโปรด
ตั้งอาทิผิด ใจฟังเถิด. พระดำรัสนี้เป็นอันทรงอธิบายด้วยบทแห่งคาถานี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงยกเหตุนี้อย่างนี้ ทรงประกอบภูตทั้ง
หลายไว้ในการตั้งใจฟังภาษิตของพระองค์ จึงทรงเริ่มตรัสภาษิต ที่พึงตั้งใจฟัง
ว่า เมตฺตํ กโรถ มานุสิยา ปชาย. ภาษิตนั้นมีความว่า ประชาชน
ชาวมนุษย์นี้ใดถูกอุปัทวะทั้ง ๓ ขัดขวางแล้วขอท่านทั้งหลายจงเข้าไปตั้งเมตตา
ความเป็นมิตร ความมีอัธยาศัย เอื้อประโยชน์แก่ประชาชนคนมนุษย์นั้นเถิด.
แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า มานุสิกํ คำนั้น ไม่ถูก เพราะภูตที่อยู่พื้นดินไม่
เกิด อาจารย์พวกอื่นพรรณนาความแม้อันใด ความแม้อันนั้นก็ไม่ถูก. ส่วน
ในที่นี้มีอธิบายว่า เราไม่กล่าวด้วยกำลังความเป็นใหญ่ว่าเป็นพุทธะ. ก็แต่ว่า
สิ่งไรเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกท่าน และแก่ประชาชนคนมนุษย์นี้ เราจะ
กล่าวสิ่งนั้น ว่า เมตฺตํ กโรถ มานุสิยา ปชาย ขอพวกท่านจงทำเมตตา
แก่ประชาชนคนมนุษย์เถิด.
อนึ่งในข้อนี้ เมตตาพึงทราบว่าเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้ทำเมตตา
โดยพระสูตรทั้งหลายเป็นต้นอย่างนี้ว่า
ราชฤษีเหล่าใด ชนะแผ่นดิน ๗ ทวีป ท่อง
เที่ยวบูชายัญ อัสสเมธะ ปริสเมธะ สัมมาปาสะ
วาชเปยยะและนิรัคคฬะ ราชฤษีเหล่านั้น ไม่ได้เสวย
 
๓๙/๗/๒๓๑

ไม่มีความคิดเห็น: