วันอังคาร, มีนาคม 21, 2566

Manomayamhi

 
ตลอด ๒๕ ครั้ง. บทว่า จตุตฺตึสติกขตฺตุญฺจ ความว่า จักได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิในมนุษย์โลกตลอด ๓๔ ครั้ง.
บทว่า ยํ ยํ โยนึ ความว่า ย่อมระลึกได้ถึงชาติในกำเนิดมนุษย์
เป็นต้น. อธิบายว่า ดอกปทุมจักทรงไว้ กั้นไว้ซึ่งเธอผู้ตั้งอยู่ คือ นั่งอยู่
หรือยืนอยู่ ในอัพโภกาสคือที่ว่าง-ในกำเนิดนั้น ๆ. บทว่า ปกาสิเต
ปาวจเน ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงประกาศ คือแสดง
พระไตรปิฎกทั้งสิ้น จักได้คือเข้าถึงความเป็นมนุษย์คือชาติแห่งมนุษย์.
บทว่า มโนมยมฺหิอาทิผิด อักขระ กายมฺหิ ความว่า ชื่อว่า มโนมยะ เพราะอรรถว่า
เกิดด้วยใจ คือด้วยฌานจิต อธิบายว่า จิตย่อมเป็นไปด้วยประการใด เขา
จะให้กายเป็นไป คือกระทำให้มีคติจิตเป็นไปอย่างนั้น. ในเพราะกาย
อันสำเร็จด้วยใจนั้น ดาบสนั้น จักมีชื่อว่าจูฬปันถกะผู้สูงสุด คือเป็นผู้เลิศ.
คำที่เหลือเป็นคำที่รู้ได้ง่าย เพราะท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลัง และเพราะ
มีอรรถตื้นทั้งนั้น.
บทว่า สรึ โกกนทํ อหํ ความว่า เราลูบคลำท่อนผ้าที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงนิรมิต ระลึกถึงดอกบัวชื่อโกกนท. บทว่า ตตฺถ จิตฺตํ
วิมุจฺจิ เม ความว่า จิตของเราสดชื่นน้อมไปในดอกบัวชื่อว่าโกกนท.
เชื่อมความว่า ลำดับนั้น เราบรรลุพระอรหัตแล้ว.
เชื่อมความว่า บรรลุถึงบารมี คือที่สุดในกายอันสำเร็จด้วยใจ คือ
อันมีคติแห่งจิต ในที่ทุกสถานคือที่ทั้งปวง. คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าว
แล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาจูฬปันถกะเถราปทาน
 
๗๑/๑๖/๒๗

ไม่มีความคิดเห็น: