วันศุกร์, มีนาคม 10, 2566

Duang

 
ปลอบจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรปลอบจิตให้ร่าเริง ๑ เพ่งดูจิตในสมัยที่ควร
เพ่งดู ๑ เว้นบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ๑ เสพบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น ๑ น้อมไปใน
สมาธินั้น ๑.
เมื่อพระโยคีนั้นหมั่นประกอบโดยนัยดังกล่าวมาอย่างนี้อยู่ มโนทวารา-
วัชชนะ ซึ่งมีนิมิตเป็นอารมณ์ ตัดภวังค์แล้วก็เกิดขึ้นขณะที่ควรกล่าวว่า
อัปปนา จักเกิดขึ้นในบัดนี้. ก็เมื่อมโนทวาราวัชชนะนั้นดับไป บรรดาชวนะ
ทั้งหลาย ๔ หรือ ๕ ดวงอาทิผิด อักขระ ยึดเอาอารมณ์นั้นนั่นแลแล่นไป ซึ่งชวนะดวงแรก
ชื่อบริกรรม ที่ ๒ ชื่ออุปจาระ ที่ ๓ ชื่ออนุโลม ที่ ๔ ชื่อโคตรภู ที่ ๕ ชื่อ
อัปปนาจิต อีกอย่างหนึ่ง ดวงอาทิผิด อักขระแรกเรียกว่าบริกรรมและอุปจาระ ที่ ๒ เรียกว่า
อนุโลม ที่ ๓ เรียกว่า โคตรภู ที่ ๔ เรียกว่า อัปปนาจิต. จริงอยู่ ชวนะ
ดวงที่ ๔ เท่านั้น บางทีที่ ๕ ย่อมเป็นไป๑. ไม่ถึงดวงที่ ๖ หรือที่ ๗ เพราะ
อาสันนภวังค์ (ภวังค์ใกล้อัปปนา) ตกไป.
ส่วนพระโคทัตตเถระ ผู้ชำนาญอภิธรรม กล่าวไว้ว่า กุศลธรรม
ทั้งหลาย ย่อมเป็นธรรมมีกำลัง โดยอาเสวนปัจจัย เพราะฉะนั้น ชวนะย่อม
ถึงที่ ๖ หรือที่ ๗. คำนั้นถูกคัดค้านในอรรถกถาทั้งหลาย. ในชวนจิตเหล่านั้น
จิตที่เป็นบุรพภาค เป็นกามาวจร ส่วนอัปปนาจิตเป็นรูปาวจร. ปฐมฌาน
ซึ่งละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕ สมบูรณ์ด้วยลักษณะ ๑๐ มีความงาม ๓
ย่อมเป็นอันพระโยคีนี้บรรลุแล้ว โดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้. เธอยังองค์ฌาน
ทั้งหลาย มีวิตกเป็นต้นให้สงบราบคาบในอารมณ์นั้นนั่นเอง ย่อมบรรลุฌาน
ที่ ๒ ที่ ๓ และที่ ๔. และด้วยเหตุมีประมาณเพียงนี้ เธอย่อมเป็นผู้ถึงที่สุด
แห่งภาวนา ด้วยอำนาจแห่งการหยุดไว้. ในอธิการนี้ มีสังเขปกถาเท่านี้ ส่วน
๑. โยชนา ๑/๓๓๘ แก้ อปฺเปติ เป็น ปวตฺตติ
 
๒/๒๒๖/๓๖๙

ไม่มีความคิดเห็น: