วันพฤหัสบดี, มีนาคม 30, 2566

Kot mai

 
จักพรรดินั้น ถึงความมั่นคงถาวร เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ผู้ทรง
มีชนบทถึงความมั่นคงถาวร.
บทว่า ปโรสหสฺสํ แปลว่า มีพระโอรสมากเกิน ๑,๐๐๐
พระองค์. บทว่า สูรา ได้แก่ผู้ไม่ขลาด ในบทว่า วีรงฺครูปา มีรูป
วิเคราะห์ดังต่อไปนี้ องค์ของผู้แกล้วกล้า ชื่อว่า วีรังคะ วีรังคะ
องค์ผู้กล้าหาญเป็นรูปของโอรสเหล่านั้น เหตุนั้นโอรสเหล่านั้น
ชื่อว่า วิรังครูปา ผู้มีองค์แห่งผู้กล้าหาญเป็นรูป. ท่านอธิบายไว้ว่า
โอรสเหล่านั้น ไม่เกียจคร้าน เหมือนผู้มีความเพียรเป็นปกติ มีความ
เพียรเป็นสภาวะ และมีความเพียรมาก. ท่านอธิบายว่าแม้จะรบ
ทั้งวันก็ไม่เหน็ดเหนื่อย. บทว่า สาครปริยนฺตํ ความว่า มีมหาสมุทร
ตั้งจดขุนเขาจักรวาฬเป็นขอบเขตล้อมรอบ. บทว่า อทณฺเฑน ได้แก่
เว้นจากอาชญา คือการปรับสินไหมด้วยทรัพย์บ้าง ลงอาชญา
ทางตัวบทกฎอาทิผิด อักขระหมาย โดยสั่งจำคุก ตัดมือเท้าและประหารชีวิตบ้าง
บทว่า อสตฺเถน ได้แก่ เว้นจากใช้ศัสตราเบียดเบียนผู้อื่นมีศัสตรา
มีคมข้างเดียวเป็นต้น บทว่า ธมฺเมน อภิวิชิย ความว่า ทรงชนะ
ตลอดแผ่นดิน มีประการดังกล่าวแล้ว โดยธรรมอย่างเดียว โดยนัย
อาทิว่า ไม่พึงฆ่าปาณะ สัตว์ที่พระราชาผู้เป็นข้าศึก ต้อนรับ
เสด็จอย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์โปรดเสด็จมาเถิด.
บทว่า สุเขสินํ ความว่า ย่อมเรียกสัตว์ทั้งหลายผู้แสวงหา
ความสุข. บทว่า สุญฺญพฺรหฺมูปโค ความว่า ผู้เข้าถึงวิมานอาทิผิด อักขระพรหม
 
๓๗/๕๙/๑๙๕

ไม่มีความคิดเห็น: