วันพฤหัสบดี, มีนาคม 09, 2566

Patipak

 
ก็ในสมัยใด จิตเป็นธรรมชาติฟุ้งซ่าน ในสมัยนั้นเป็นเวลาเหมาะ
ที่จะเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เหมาะที่จะเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เหมาะที่
จะเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดังนี้ . ก็ในบรรดาโพชฌงค์เหล่านี้ สติ-
สัมโพชฌงค์เป็นเอกให้สำเร็จประโยชน์แก่โพชฌงค์ทุกข้อ. เหมือนอย่าง
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ก็เรากล่าวสติแลว่ามีประโยชน์แก่โพชฌงค์ทุกข้อ
ดังนี้ บาลีว่า สพฺพตฺถกํ ดังนี้ก็มี. บาลีทั้ง ๒ (นั้น) ความหมายก็
คือว่า จำต้องปรารถนาในโพชฌงค์ทุกข้อ (เหมือนกัน). พึงทราบวินิจฉัย
ในโพชฌงค์นี้แม้โดยไม่ขาดไม่เกินอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
โพชฌงค์ไว้ ๗ ประการเท่านั้นไม่ขาดไม่เกิน เพราะ ๓ ข้อเป็นปฏิปักษ์
ต่อความหดหู่, ๓ ข้อเป็นปฏิอาทิผิด อักขระปักษ์ต่อความฟุ้งซ่าน, และเพราะสติเป็น
ประโยชน์แก่โพชฌงค์ทุกข้ออย่างนี้.
บัณฑิตครั้นทราบอรรถวรรณนาของบททั้ง ๗ ที่กล่าวโดยนัยเป็นต้น
ว่า สติสมฺโพชฺฌงฺคํ อย่างนี้ก่อนแล้ว บัดนี้ พึงทราบอรรถวรรณนา
อย่างนี้ ในประโยคเป็นต้นว่า ภาเวติ วิเวกนิสฺสิตํ ดังนี้ (ต่อไป).
บทว่า ภาเวติ ความว่า ย่อมให้เจริญ อธิบายว่า ย่อมให้เกิด
ขึ้น คือให้บังเกิดขึ้นเฉพาะในจิตสันดานของตนบ่อย ๆ.
บทว่า วิเวกนิสฺสิตํ คืออาศัยวิเวก. ความสงัด ชื่อว่าวิเวก. วิเวกนั้น
มี ๕ อย่างคือ ตทังควิเวก วิกขัมภนวิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัส-
สัทธิวิเวก และนิสสรณวิเวก ความที่วิเวกนั้นเป็นต่าง ๆ กัน พึงทราบ
โดยนัยที่ท่านกล่าวไว้ในคำนี้ว่า อริยธมฺเม อวินีโต ดังนี้ . ความจริง
วิเวกนี้นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า วินัย ในบทว่า อริยธมฺเม
 
๑๗/๑๙/๑๙๖

ไม่มีความคิดเห็น: