วันศุกร์, มีนาคม 24, 2566

At

 
ชื่อว่า ปุพฺพุฏฐายี ด้วยอรรถว่า เห็นนายแต่ไกล ลุกขึ้นก่อน
ทันที.
ชื่อว่า ปจฺฉานิปาตี ด้วยอรรถว่า ลุกขึ้นอย่างนี้แล้วปูอาสนะให้นาย
ทำกิจที่ควรทำมีล้างเท้า เป็นต้น แล้วจึงพักผ่อน คือนอนในภายหลัง.
อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า ปุพฺพุฏฐายี ด้วยอรรถว่า ลุกขึ้นก่อน เมื่อนาย
ยังไม่ลุกจากที่นอน.
ชื่อว่า ปจฺฉานิปาตี ด้วยอรรถว่า ทำกิจทั้งปวงตั้งแต่เช้าตรู่จนนาย
เข้านอนในราตรี ตนจึงพักผ่อน คือนอนในภายหลัง.
ชื่อว่า กึการปฏิสฺสาวี ด้วยอรรถว่า คอยเฝ้าฟังบัญชาจะโปรดให้
ทำอะไรด้วยตั้งใจอย่างนี้ว่า เราจะทำอะไร.
ชื่อว่า มนาปจารี ด้วยอรรถว่า ทำแต่กิริยาที่น่าพอใจเท่านั้น.
ชื่อว่า ปิยวาที ด้วยอรรถว่า พูดแต่คำที่น่ารักเท่านั้น.
ชื่อว่า มุขมุลฺลิโก ด้วยอรรถว่า คอยดูหน้านายที่แจ่มใสร่าเริง.
บทว่า เทโว มญฺเญ ได้แก่เหมือนเทวดา.
บทว่า โส วตสฺสาหํ ปุญฺญานิ กเรยฺยํ ความว่า แม้เรานั้นหนอ
ก็พึงเป็นพระเจ้าแผ่นดินอย่างองค์นี้ ถ้าเราทำบุญทั้งหลาย.
ปาฐะว่า โส วตสฺสายํ ดังนี้ก็มี ความก็อย่างนี้เหมือนกัน.
ด้วยบทว่า ยนฺนูนาหํ แสดงความคิดอย่างนี้ว่า ถ้าเราจักให้ทาน
แม้ตลอดชีวิตเรา ก็ไม่อาจอาทิผิด สระให้แม้เพียงส่วนหนึ่งในร้อยของทานที่พระราชา
พระราชทานในวันเดียวได้ จึงทำอุตสาหะในบรรพชา.
บทว่า กาเยน สํวุโต ได้แก่สำรวมกาย ปิดประตูมิให้อกุศลเข้า
ไปได้.
 
๑๑/๑๔๐/๓๙๒

ไม่มีความคิดเห็น: