วันจันทร์, มีนาคม 13, 2566

Sampayut

 
ก็เมื่อรูปในจักขุทวารไปสู่คลอง เมื่ออาวัชชนะเป็นต้นเกิดแล้วดับไป
ด้วยสามารถทำกิจของตนให้สำเร็จเบื้องบนจากภวังคจลนะในที่สุด ชวนะย่อม
เกิดขึ้น. ชวนะนั้นย่อมเป็นเหมือนอาคันตุกบุรุษในจักขุทวารอันเป็นเรือนของ
อาวัชชนะเป็นต้นที่เกิดขึ้นในครั้งก่อน. เมื่ออาคันตุกบุรุษนั้นเข้าไปในเรือน
ของคนอื่นเพื่อขออะไร ๆ แม้เมื่อเจ้าของบ้านนั่งนิ่งก็ไม่ควรบังคับ ฉันใด
แม้เมื่ออาวัชชนะเป็นต้น ในจักขุทวารอันเป็นเรือนของอาวัชชนะเป็นต้น ไม่-
กำหนัด ไม่โกรธ และไม่หลง ก็ไม่ควรกำหนัด โกรธ และหลงฉันนั้น. พึงทราบ
อสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยสามารถความเป็นอาคันตุกะ (ผู้จรมา) อย่างนี้
ด้วยประการฉะนี้.
ก็จิตเหล่านี้ใด อันมีโวฏฐัพพนะเป็นที่สุด เกิดขึ้นในจักขุทวาร จิต
เหล่านั้น ย่อมแตกทำลายไปในที่นั้น ๆนั่นเอง พร้อมกับสัมปยุตตธรรม ย่อม
ไม่เห็นกันและกัน จิตนอกนี้ ย่อมเป็นไปชั่วคราว. ในข้อนั้น อุปมาเหมือน
ในเรือนหลังหนึ่ง เมื่อคนตายกันหมด คนหนึ่งที่เหลือไม่ควรยินดีในการฟ้อน
การขับเป็นต้น ของผู้มีมรณธรรมในขณะนั้น ฉันใด เมื่ออาวัชชนะเป็นต้น
สัมปยุตในทวารหนึ่ง ตายไปในที่นั้น ๆ แม้ชวนะแห่งมรณธรรมในขณะนั้น
ที่เหลือก็ไม่ควรยินดีด้วยสามารถ ความกำหนัด ความโกรธ และความหลง
พึงทราบ อสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยสามารถความเป็นตาวกาลิก (เป็นไป
ชั่วคราว) อย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบ อสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยสามารถการ
พิจารณาขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจัย. ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ จักษุและรูปเป็น
รูปขันธ์ เวทนาสัมปยุตด้วยรูปขันธ์นั้น เป็นเวทนาขันธ์ สัญญาสัมปยุตอาทิผิด อักขระด้วย
เวทนานั้น เป็นสัญญาขันธ์ สังขารมีผัสสะเป็นต้น เป็นสังขารขันธ์. การแล
และการเหลียวย่อมปรากฏในการพร้อมเพรียงแห่งขันธ์ทั้งหลาย ๕ เหล่านี้ ด้วย
 
๓๐/๖๘๔/๓๙๖

ไม่มีความคิดเห็น: