วันศุกร์, มีนาคม 17, 2566

Bali

 
บทว่า อีสิกฏฺฐายิฏฺฐิตา คือตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียดในหญ้ามุงกระต่าย. ในบท
นั้นมีอธิบายว่า สิ่งใด ที่ท่านกล่าวว่าย่อมเกิด สิ่งนั้นมีอยู่ ดุจเสาระเนียดย่อมออก
ไปจากหญ้ามุงกระต่าย. ปาฐะว่า เอสิกฏุฐายฏฺฐิตา ก็มี. อธิบายว่า เสาระเนียด
ที่ฝังไว้ดีแล้ว ไม่หวั่นไหวตั้งอยู่มั่นคง. สภาวะ ๗ กอง ตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น.
แม้ด้วยบทที่ ๒ นี้ท่านแสดงถึงความไม่พินาศไปแห่งสภาวะ ๗ กองเหล่านั้น.
บทว่า น อิญฺชนฺติ สภาวะ ๗ กองไม่หวั่นไหว คือไม่สั่นคลอนเพราะตั้งอยู่
มั่นคง ดุจเสาระเนียดฉะนั้น. บทว่า น วิปริณามนฺติ ไม่แปรปรวนคือไม่
ละปรกติไป. บทว่า อญฺญมญฺญํ พฺยาพาเธนฺติ คือไม่เบียดเบียนกันและ
กัน. บทว่า นาลํ คือไม่สามารถ.
พึงทราบความในบทมีอาทิว่า ปฐวีกาโย กองดินดังต่อไปนี้. กอง
ดินหรือหมู่ดิน. บทว่า ตตฺถ คือในกองมีชีวะเป็นที่ ๗ เหล่านั้น. บทว่า
นตฺถิ หนฺตา วา ผู้ฆ่าเองไม่มี ท่านแสดงไว้ว่าไม่มีผู้สามารถเพื่อฆ่าเองก็ดี
เพื่อใช้ให้ฆ่าก็ดี เพื่อให้เดือดร้อนก็ดี เพื่อกระทบกระทั่งก็ดี เพื่อเศร้าโศกเอง
ก็ดี เพื่อให้ผู้อื่นเศร้าโศกก็ดี เพื่อได้ยินเองก็ดี เพื่อเข้าใจเองก็ดี. บทว่า
สตฺตนฺนํเยว กายานํ แห่งสภาวะ ๗ กอง ท่านแสดงไว้ว่า เหมือนศัสตราที่ทำ
ลายในกองถั่วเขียวเป็นต้น ย่อมเข้าไปโดยระหว่างกองถั่วเขียว ฉันใด ศัสตรา
สอดเข้าไปโดยช่องในระหว่างสภาวะ ๗ กองก็ฉันนั้น ศัสตราเป็นเพียงสัญญา
อย่างเดียวเท่านั้นว่า เราจะฆ่าผู้นี้เสีย. บทว่า โยนิปฺปมุขสตสหสฺสานิ ท่าน
แสดงทิฏฐิไร้ประโยชน์โดยเพียงคาดคะเนอย่างเดียวว่า กำเนิดที่เป็นประธานและ
กำเนิดสูงสุด ๑,๔๐๖,๖๐๐ กรรม. บทว่า ปญฺจ กมฺมุโน สตานิ ความว่า ๕๐๐
กรรม. แม้ในบทมีอาทิว่า ปญฺจ กมฺมานิ ตีณิ จ กมฺมานิ ๕ กรรมและ
๓ กรรม ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า ปญฺจ กมฺมานิ
กรรม ๕ ท่านกล่าวด้วยสามารถอินทรีย์ ๕. บทว่า ตีณิ กรรม ๓ ท่านกล่าวด้วย

๑. บาลีอาทิผิด ว่า เอสิกฏฺฐายิฏฺฐิตา ม. มัช. เล่ม ๑๓/ข้อ ๓๐๒
 
๒๐/๓๑๓/๕๔๕

ไม่มีความคิดเห็น: