วันพฤหัสบดี, สิงหาคม 10, 2566

Thiao

 
ของพ่อแม่ของตน นกมูลไถตอบว่า คือ ที่ก้อนดินรอยไถ. ภิกษุทั้งหลาย
ครั้งนั้นแล เหยี่ยวนกเขาทรนงในกำลังของตน เชื่อในกำลังของอาทิผิด อักขระ
ตน ปล่อยนกมูลไถไปโดยกล่าวว่า ดูก่อนนกมูลไถ เจ้าจงไปเถิด
ถึงเจ้าไปในที่นั้นก็ไม่พ้น. ครั้งนั้นแล นกมูลไถบินโผไปสู่ที่ก้อนดิน
รอยไถ ขึ้นยังก้อนดินก้อนใหญ่ ยืนท้าเหยี่ยวนกเขาว่า มาเดี๋ยวนี้ซิ เจ้า
เหยี่ยวนกเขา มาเดี๋ยวนี้ซิ เจ้าเหยี่ยวนกเขา.
ครั้นนั้นเหยี่ยวนกเขา ผู้ทรนงในกำลังของตน เชื่อมั่นใน
กำลังของตน ลู่ปีกทั้งสองพลันโฉบลงตรงนกมูลไถ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ครั้งใดแล นกมูลไถรู้ตัวว่า เหยี่ยวนกเขาตัวนี้สามารถพุ่งตัวลงมาแล้ว
ครั้งนั้นแล นกมูลไถก็หลบซ่อนตรงระหว่างก้อนดินนั้นนั่นเอง. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล เหยี่ยวนกเขา จึงได้แต่ให้อกกระแทก
ที่ก้อนดินนั้นแล. ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นก็เหมือนกับที่ภิกษุเที่ยวไปในที่
อโคจร อันเป็นถิ่นของปรปักษ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล
พวกเธอจงอย่าเที่ยวไปในที่อโคจร อันเป็นถิ่นของปรปักษ์. เมื่อเธอเที่ยว
ไปในแดนอโคจร อันเป็นถิ่นของปรปักษ์ มารย่อมได้ช่อง มารย่อมได้อา-
รมณ์. ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าคืออโคจร ถิ่นของปรปักษ์ สำหรับภิกษุ คือ
กามคุณ ๕. กามคุณ ๕ เป็นไฉน ? ได้แก่รูปที่พึงรู้ได้ด้วยจักษุอันน่าปรารถนา
น่าใคร่น่าพึงใจประกอบด้วยความใคร่เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ฯลฯ โผฏ-
ฐัพพะที่พึงรู้ด้วยกาย ฯลฯ อันเป็นที่ตั้งแห่งอาทิผิด อักขระความกำหนัด. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย นี้ คืออโคจรอันเป็นถิ่นของปรปักษ์สำหรับภิกษุ. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวอาทิผิด อักขระในโคจร ฯลฯ มารย่อมไม่ได้อารมณ์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อะไรคือโคจรของภิกษุ ซึ่งเป็นถิ่นของบิดามารดา
ของตน คือสติปัฏฐาน ๔. สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯลฯ ธรรมที่
เป็นถิ่นบิดาของตน.
 
๑๕/๕๐/๑๒๗

ไม่มีความคิดเห็น: