วันอาทิตย์, สิงหาคม 13, 2566

Moha

 
กันโดยความเกิดพร้อมกันในกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันด้วยการประมาณ
เพราะฉะนั้น ท่านจึงนำกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันโดยการเกิดพร้อมกันนี้มา
แสดงไว้ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า ตํสมฺปยุตโต (อันสัมปยุตด้วยสังโยชน์ ๓ นั้น) ได้แก่
สัมปยุตด้วยกิเลส ๘ ซึ่งตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับสังโยชน์ ๓ นั้นเหล่านั้น อีก
อย่างหนึ่ง พึงทำการแยกแสดงความเป็นขันธ์สัมปยุตแต่ละขันธ์อย่างนี้ คือ
สัมปยุตด้วยโลภะนั้น และสัมปยุตด้วยโทสะนั้น. บรรดากิเลสเหล่านั้น เมื่อ
ถือโลภะ หมู่กิเลสซึ่งเป็นสังขารขันธ์นี้ คือ โมหะ มานะ ถีนะ อุทธัจจะ
อหิริกะ อโนตตัปปะ ก็ชื่อว่า สัมปยุตด้วยโลภะ เมื่อถือเอาโทสะ หมู่กิเลส
ซึ่งเป็นสังขารขันธ์นี้คือ โมหะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ ก็ชื่อว่า
สัมปยุตด้วยโทสะ เมื่อถือเอาโมหะ หมู่กิเลสซึ่งเป็นสังขารขันธ์นี้ คือ โลภะ
โทสะ มานะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ ก็ชื่อว่า สัมปยุตด้วยโมหะอาทิผิด อักขระ
เมื่อท่านถือเอามานะ หมู่กิเลสซึ่งเป็นสังขารขันธ์นี้ คือ โลภะ โทสะ โมหะ
ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ ซึ่งเกิดพร้อมกับมานะนั้น ก็ชื่อว่า
สัมปยุตตด้วยมานะ.
โดยอุบายนี้ บัณฑิตพึงทำการประกอบว่า ขันธ์สัมปยุตด้วยถีนะนั้น
สัมปยุตด้วยอุทธัจจะนั้น สัมปยุตด้วยอหิริกะ สัมปยุตด้วยอโนตตัปปะนั้น
ดังนี้.
บทว่า ตํสมุฏฺฐานํ ได้แก่ ตั้งขึ้นด้วยโลภะนั้น ฯลฯ ตั้งขึ้นด้วย
อโนตตัปปะ. ในบทว่า อิเม ธมฺมา ทสฺสเนน ปหาตพฺพา (สภาวธรรม
เหล่านี้ อันโสดาปัตติมรรคพึงประหาณ) นี้อธิบายว่า โสดาปัตติมรรค ชื่อว่า
ทัสสนะ อธิบายว่า ธรรมทั้งหลายอันโสดาปัตติมรรคนั้นพึงละ.
 
๗๖/๖๘๘/๓๗๓

ไม่มีความคิดเห็น: