วันอังคาร, สิงหาคม 08, 2566

Ok Chak

 
ได้แก่ สัตว์ที่มีอินทรีย์เลวอื่นจากนั้น. อีกอย่างหนึ่ง สองบทนี้มีความ
อย่างเดียวกัน ตรัสเป็น ๒ ส่วน ก็ด้วยอำนาจเวไนยสัตว์. บทว่า อินฺทฺริย-
ปโรปริยตฺตํ ความว่า ความยิ่งและความหย่อน ความเจริญและความ
เสื่อมแห่งอินทรีย์ทั้งหลายมีสัทธินทรีย์เป็นต้น. กถากล่าวถึงญาณแม้นี้โดย
พิสดาร ก็มาในอภิธรรมเหมือนกันโดยนัยเป็นต้นว่า บรรดาญาณเหล่านั้น
ญาณที่รู้ความที่สัตว์อื่น บุคคลอื่น มีอินทรีย์ยิ่งและหย่อนตามเป็นจริง
ของพระตถาคตนั้นเป็นไฉน. พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงรู้อาสยะ
อัธยาศัยดี ทรงรู้อนุสยะ อัธยาศัยเลวของสัตว์ทั้งหลายดังนี้.
บทว่า ฌานวิโมกฺขสมาธิสมาปตฺตีนํ ได้แก่ แห่งฌาน ๔ มีปฐม-
ฌานเป็นต้น วิโมกข์ ๘ มีว่า รูปี รูปานิ ปสฺสติ บุคคลผู้เจริญรูปฌาน
เห็นรูปทั้งหลายเป็นต้น สมาธิ ๓ มีสมาธิที่มีวิตก ที่มีวิจารเป็นต้น และ
อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ มีปฐมฌานสมาบัติเป็นต้น. บทว่า สงฺกิเลสํ ได้
แก่ ธรรมฝ่ายเสื่อม. บทว่า โวทานํ ได้แก่ ธรรมฝ่ายอาทิผิด อักขระวิเศษ. บทว่า วุฏฺฐานํ
ได้แก่ แม้การออกจากสมาบัตินั้น ๆ ก็ชื่อว่าวุฏฐานะ ฌานที่คล่องแคล่ว
และภวังคจิต และผลสมาบัติ ท่านก็เรียกอย่างนั้น จริงอยู่ ฌานที่คล่อง
แคล่วชั้นต่ำ ๆ ย่อมเป็นปทัฏฐานของฌานชั้นสูง ๆ เพราะฉะนั้น แม้โวทาน
ท่านก็เรียกว่าวุฏฐานะ การออกจากฌานทั้งปวงย่อมมีด้วยภวังคจิต การ
ออกอาทิผิด สระจากนิโรธสมาบัติ ย่อมมีด้วยผลสมาบัติ. ข้าพเจ้าหมายเอาข้อนั้น จึง
กล่าวว่า แม้การออกจากสมาบัตินั้น ๆ ชื่อว่า วุฏฐานะ. แม้ญาณนี้ท่านก็
กล่าวไว้พิสดารแล้วในอภิธรรม โดยนัยเป็นต้นว่า บรรดาญาณเหล่านั้น
ญาณที่รู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกแห่งฌานวิโมกข์ สมาธิ
และสมาบัติตามเป็นจริงของพระตถาคตเป็นไฉน. บทว่า ฌายี ได้แก่ ผู้มี
 
๓๘/๒๑/๖๗

ไม่มีความคิดเห็น: