วันพุธ, สิงหาคม 30, 2566

Ubekkha

 
เป็นอารมณ์บ้าง มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง ด้วยสามารถแห่งรูปที่ได้เห็น
เสียงที่ได้ฟังและอารมณ์ที่ได้ทราบแล้วรู้แจ้งแล้ว. อภิชฌาก็อย่างนั้น.
พยาบาทมีสัตว์เป็นอารมณ์. มิจฉาทิฏฐิ มีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยสามารถ
แห่งธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ บ้าง มีสัตว์เป็นอารมณ์ ด้วยสามารถแห่ง
บัญญัติบ้าง. บทว่า เวทนาโต ความว่าปาณาติบาต เป็นทุกขเวทนา.
เหมือนอย่างว่า พระราชาทั้งหลาย ทรงเห็นโจรแล้ว แม้จะทรงร่าเริงอยู่
ตรัสว่า พวกท่านจงไปฆ่าโจรนั้น ดังนี้ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น สันนิฏฐาปก-
เจตนา ( เจตนาที่ให้สำเร็จ ) ก็ชื่อว่า สัมปยุตด้วยทุกข์แท้. อทินนาทาน
มีเวทนา ๓. มิจฉาจาร มีเวทนา ๒ คือ สุข และมัชฌัตตเวทนา (อุเบกขาอาทิผิด อักขระ)
ส่วนว่า ในสันนิฏฐาปกจิต (จิตที่ให้สำเร็จ) มิจฉาจาร ไม่เป็นมัชฌัตต
เวทนา. มุสาวาท มีเวทนา ๓. ปิสุณวาจาก็อย่างนั้น. ผรุสวาจา เป็น
ทุกขเวทนา. สัมผัปปลาปะ มีเวทนา ๓. อภิชฌามีเวทนา ๒ คือ สุข
และมัชฌัตตเวทนา ( อุเบกขา ). มิจฉาทิฏฐิก็อย่างนั้น. พยาบาทเป็นทุกข-
เวทนา. บทว่า มูลโต ความว่า ปาณาติบาต มีมูล ๒ คือ โทสะ และโมหะ.
อทินนาทานก็มีมูล ๒ เหมือนกัน คือโทสะและโมหะบ้าง โลภะและโมหะ
บ้าง. มิจฉาจาร มีมูล ๒ คือ โลภะและโมหะ. มุสาวาท ก็มีมูล ๒ คือ
โทสะและโมหะบ้าง โลภะและโมหะบ้าง. ปิสุณวาจา และสัมผัปปลาปะ
ก็อย่างนั้น. ผรุสวาจามีมูล ๒ คือ โทสะและโมหะ. อภิชฌามีมูลเดียว
คือโมหะ. พยาบาทก็อย่างนั้น. มิจฉาทิฏฐิมีมูล ๒ คือ โลภะและโมหะ
ดังนี้แล.
กุศลกรรมบถทั้งหลายมีเจตนางดเว้น จากปาณาติบาตเป็นต้น
บัณฑิตพึงทราบด้วยสามารถแห่งสมาทานวิรัติ สัมปัตตวิรัติ. และสมุจเฉท-
 
๑๖/๓๖๓/๓๙๙

ไม่มีความคิดเห็น: