วันศุกร์, กันยายน 16, 2565

Chue

 
ชื่อว่ากถาเป็นที่มา มีอีกอย่างหนึ่ง. ส่วนแม้วิปัสสนา ท่านก็เรียกว่า
สุญญตะ อนิมิตตะและอัปปณิหิตะ. บรรดาบทเหล่านั้น ภิกษุใด กำหนด
สังขารทั้งหลายโดยความเป็นของไม่เที่ยง เห็นโดยความไม่เที่ยง ย่อมออก
จากความไม่เที่ยง วิปัสสนา อันเป็นวุฏฐานคามินีของภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่า
อนิมิตะ ภิกษุใดกำหนดโดยความเป็นทุกข์เห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อม
ออกจากความทุกข์ วิปัสสนาของภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าอัปปณิหิตะ ภิกษุใด
กำหนดโดยความเป็นอนัตตา เห็นโดยความเป็นอนัตตาย่อมออกจากความ
เป็นอนัตตา วิปัสสนาของภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าสุญญตะ บรรดาบทเหล่านั้น
มรรคของอนิมิตตวิปัสสนา ชื่อว่า อนิมิต, ผลของอนิมิตตมรรค ชื่อว่า
อนิมิต, เมื่อผัสสะที่เกิดพร้อมกับอนิมิตตผลสมาบัติถูกต้องอยู่ ท่านเรียกว่า
อนิมิตตผัสสะ ย่อมถูกต้อง. แม้ในอัปปณิหิตะและสุญญตะ ก็มีนัยนี้
เหมือนกัน. เมื่อท่านกล่าว โดยเป็นที่มา พึงถึงความกำหนดว่า สุญญต-
ผัสสะ อนิมิตตผัสสะ หรืออัปปณิหิตผัสสะ เพราะฉะนั้น ผู้ดำรงอยู่
โดยที่เป็นที่มา พึงกล่าวโดยมีคุณ และโดยอารมณ์. ก็ผัสสะทั้งหลาย ๓
ย่อมถูกต้องอย่างนี้ดังนั้น จึงเหมาะสม.
นิพพานชื่อว่าวิเวกในบทเป็นอาทิว่า วิเวกนินฺนํ ชื่ออาทิผิด สระว่า วิเวก
นินนะ เพราะอรรถว่า น้อมไป คือ โน้มไปในวิเวกนั้น. บทว่า วิเวก
โปณํ ชื่อว่า วิเวกโปณะ เพราะอรรถว่า ดำรงอยู่ดุจความคดด้วยเหตุ
แห่งวิเวกซึ่งมาจากอื่น. ชื่อว่า วิเวกปพฺภารํ เพราะอรรถว่าดำรงอยู่เป็น
ดุจตกไปด้วยเหตุแห่งวิเวก.
จบ อรรถกถาทุติยกามภูสูตรที่ ๖
 
๒๙/๕๗๐/๑๕๘

ไม่มีความคิดเห็น: