วันพุธ, กันยายน 21, 2565

Chettana

 
กรรม ชื่อว่า ธุระ. เจตนา แม้ที่จะถึงในพระสูตรลำดับต่อไป อย่างนี้ว่า
บุญกรรม ๔ เหล่านี้ เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองประกาศแล้ว ชื่อว่า
ธุระ. เจตนาที่เป็นไปในกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ มีประเภทเช่น กรรมดำ
มีวิบากดำ เป็นต้น. แม้ในนิทเทสวารแห่งกรรมนั้น ท่านก็กล่าวเจตนาอาทิผิด สระนั้น
ไว้โดยนัยว่า ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร พร้อมทั้งความเบียดเบียน ดังนี้เป็นต้น.
ส่วนเจตนาที่เป็นไปในกายทวาร ท่านหมายเอาว่ากายกรรมในสูตรนี้. เจตนาที่
เป็นไปในวจีทวาร เป็นวจีกรรม. เจตนาที่เป็นไปในมโนทวารเป็นมโนกรรม
เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวว่า กรรม ในพระสูตรนี้ชื่อว่า ธุระ, เจตนาในพระ
สูตรลำดับต่อไป ก็ชื่อว่า ธุระ. แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติกรรม
ว่ากรรม เหมือนอย่าง แม้เจตนาในพระสูตรนี้นี่แล ก็ชื่อว่า กรรมเหมือน
กัน. สมดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนา
ว่ากรรม เพราะคนคิดแล้วจึงทำกรรม.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร จึงตรัสเรียก เจตนาว่ากรรม.
ตอบว่า เพราะกรรมมีเจตนาเป็นมูล.
ก็ในอกุศลและกุศลทั้งสองนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสกายกรรม
วจีกรรม ที่ถึงอกุศลว่าเป็นใหญ่ ดังนี้ ย่อมไม่ลำบาก ตรัสมโนกรรมฝ่ายกุศล
ว่า เป็นใหญ่ ดังนี้ ก็ไม่ลำบาก จริงอย่างนั้น บุคคลพยายามด้วยกายอย่าง
เดียวกระทำกรรม ๔ (อนันตริยกรรม) มีมาตุฆาตเป็นต้น ก็ด้วยกายเท่านั้น
บุคคลกระทำกรรมคือ สังฆเภท (ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน) อันจะยังผลให้บุคคล
ตั้งอยู่ในนรกถึงกัปหนึ่ง ก็ด้วยวจีทวาร ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
กายกรรม วจีกรรม ฝ่ายอกุศลว่าเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า ไม่ลำบาก. ส่วนเจตนา
ในฌานอย่างเดียวย่อมนำสวรรค์สมบัติมาให้ถึง ๘๔,๐๐๐ กัป เจตนาในมรรค
อย่างเดียวเพิกถอนอกุศลทุกอย่างย่อมถือเอาพระอรหัตได้ ดังนั้น พระผู้มีพระ-
 
๒๐/๘๓/๑๓๘

ไม่มีความคิดเห็น: