วันเสาร์, กันยายน 17, 2565

Thamlai

 
เกิดขึ้นโดยปราศจากหิริ เป็นนิสัยของเชือกทั้งหลาย โดยเป็นนิสสยปัจจัยแห่ง
เชือกคือสมาธิ กล่าวคือใจ ย่อมทรงไว้ซึ่งการไปโดยร่วมกันแห่งโคพลิพัท
คือความเพียร เพราะปฏิเสธการปรารภความเพียรจัดและความย่อหย่อนเกินไป.
ก็ไถประกอบกับผาลแล้ว ย่อมทำลายก้อนดิน ในเวลาไถย่อมชำแรก
วัชพืชที่มีราก ฉันใด ปัญญาที่ประกอบด้วยสติก็ฉันนั้น ย่อมทำลายอาทิผิด สระก้อนแห่ง
อารมณ์อันมีหน้าที่ประชุมความสืบต่อแห่งธรรมทั้งหลาย ในเวลาวิปัสสนา ย่อม
ชำแรกการสืบต่อแห่งกิเลสมูลทั้งหมด ก็ปัญญานั้นแล เป็นโลกุตระอย่างเดียว
และปัญญานอกนี้พึงเป็นโลกิยะ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ ดังนี้.
ชื่อว่า หิริ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า เป็นเครื่องละอายของบุคคล
หรือบุคคลย่อมละอายเอง คือเกลียดความเป็นไปแห่งอกุศล โอตตัปปะเป็นอัน
ถือเอาแล้วเทียว โดยความเป็นธรรมไปร่วมกันกับหิริศัพท์นั้น. บทว่า อีสา
ได้แก่ ท่อนไม้ที่ทรงแอกและไถไว้. เปรียบเหมือนงอนไถของพราหมณ์ ย่อม
ทรงไว้ซึ่งแอกและไถ ฉันใด หิริแม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น ชื่อว่า
ย่อมทรงไว้ซึ่งแอกและไถ กล่าวคือโลกิยปัญญาและโลกุตรปัญญา เพราะเมื่อ
หิริไม่มี ปัญญาก็ไม่มี แอกและไถที่เนื่องด้วยงอนไถ ย่อมทำหน้าที่ไม่ให้หวั่น
ไหว ไม่ย่อหย่อน ฉันใด ก็ปัญญาอันเนื่องด้วยหิริก็ฉันนั้น ย่อมทำหน้าที่
ไม่ให้หวั่นไหว ไม่ย่อหย่อน ไม่เกลื่อนกล่นด้วยความไม่มีหิริ เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า หิริ เป็นงอนไถ ดังนี้.
ชื่อว่า มโน ด้วยอรรถวิเคราะห์ว่า ย่อมรู้ คำว่า มโน นั่นเป็นชื่อ
ของจิต ก็สมาธิที่ประกอบพร้อมด้วยจิตนั้น โดยใจเป็นประธาน ทรงพระ-
 
๔๖/๓๐๑/๒๗๒

ไม่มีความคิดเห็น: