วันพุธ, กันยายน 28, 2565

Wang

 
อรรถกถารถสูตรที่ ๒
ในรถสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ .
บทว่า สุขโสมนสฺสพหุโล ความว่า ภิกษุชื่อว่าผู้มากด้วยสุขและ
โสมนัส เพราะภิกษุนั้นมีสุขทางกาย และมีสุขทางใจมาก. บทว่า โยนิ
จสฺส อารทฺธา โหติ ความว่า และเหตุของภิกษุนั้นบริบูรณ์. ในบท
อาสวานํ ขยา นี้ท่านประสงค์เอาพระอรหัตตมรรคว่าอาสวักขัย. อธิบายว่า
เพื่อประโยชน์แก่พระอรหัตนั้น. บทว่า โอธตปโตโท ได้แก่แส้ที่วางอาทิผิด อักขระขวาง
ไว้กลางรถ บทว่า เยนิจฺฉกํ ได้แก่ปรารถนาไปทางทิศใด บทว่า ยทิจฺฉกํ
ได้แก่ ปรารถนาการไปใดๆ. บทว่า สาเรยฺย แปลว่า พึงส่งไปวิ่งไปข้างหน้า
บทว่า ปจฺจาสาเรยฺย แปลว่า พึงวิ่งกลับ ( ถอยหลัง ) บทว่า อารกฺขาย
แปลว่า เพื่อประโยชน์แก่อันรักษา. บทว่า สญฺญมาย ได้แก่ เพื่อห้าม
ความสลดใจ. บทว่า ทมาย ได้แก่ เพื่อหมดพยศ. บทว่า อุปสมาย
ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การเข้าไปสงบกิเลส.
ในบทว่า เอวเมวโข มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- เหมือนอย่างว่า
เมื่อนายสารถี ผู้ไม่ฉลาด เทียมม้าสินธพที่ไม่ได้ฝึก ขับรถไปตามทางขรุขระ
(ไม่สม่ำเสมอ) แม้ล้อก็ย่อมแตก แม้เพลาและกีบของม้าสินธพ ก็ถึงความ
ย่อยยับกับทั้งตนเอง และไม่สามารถจะให้แล่นไปได้ตามทางไปตามที่ต้อง
การได้ฉันใด ภิกษุผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ๖ ก็ฉันนั้น ไม่สามารถ
เสวยความยินดีในความสงบตามที่ต้องการได้. ส่วนนายสารถีผู้ฉลาด
เทียมม้าสินธพที่ฝึกแล้ว ให้รถแล่นในพื้นที่เรียบ จับเชือก ตั้งสติไว้
ที่กีบม้าสินธพทั้งหลาย ถือแส้จับให้หมดพยศขับไป ให้มันวิ่งไปตามทาง
ไปที่ตนต้องการ ๆ ฉันใด ภิกษุผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้ง ๖ ก็ฉันนั้น
 
๒๘/๓๑๙/๓๙๗

ไม่มีความคิดเห็น: