วันศุกร์, มกราคม 05, 2567

Yang

 
อารมณ์ เวทนามีลักษณะเสวยอารมณ์ ตัณหามีลักษณะเป็นเหตุ อุปาทาน
มีลักษณะยึดมั่น ภพมีลักษณะเพิ่มพูน ชาติมีลักษณะบังเกิด ชรามี
ลักษณะทรุดโทรม มรณะมีลักษณะจุติ ธาตุมีลักษณะเป็นความว่างเปล่า
อายตนะมีลักษณะเป็นที่มาต่อ สติปัฏฐานมีลักษณะบำรุง สัมมัปปธานมี
ลักษณะเริ่มตั้ง อิทธิบาทมีลักษณะสำเร็จ อินทรีย์มีลักษณะเป็นใหญ่ยิ่ง
พละมีลักษณะอันใคร ๆ ให้หวั่นไหวไม่ได้ โพชฌงค์มีลักษณะนำออก
จากทุกข์ มรรคมีลักษณะเป็นเหตุ สัจจะมีลักษณะแท้ สมถะมีลักษณะ
ไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนามีลักษณะตามพิจารณาเห็น สมถะและวิปัสสนามี
ลักษณะมีกิจเป็นหนึ่ง ธรรมที่ขนานคู่กันมีลักษณะไม่กลับกลาย ศีลวิสุทธิ
มีลักษณะสำรวม จิตตวิสุทธิมีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน ทิฏฐิวิสุทธิมีลักษณะ
เห็น ขยญาณมีลักษณะตัดได้เด็ดขาด อนุปปาทญาณมีลักษณะระงับ
ฉันทะมีลักษณะเป็นมูล มนสิการมีลักษณะเป็นสมุฏฐาน ผัสสะมีลักษณะ
เป็นที่ประชุม เวทนามีลักษณะเป็นสโมสร สมาธิมีลักษณะเป็นประมุข
สติมีลักษณะเป็นอธิปไตย ปัญญามีลักษณะยอดเยี่ยมกว่านั้น วิมุติมีลักษณะ
เป็นสาระ พระนิพพานอันหยั่งอาทิผิด อาณัติกะลงสู่อมตะมีลักษณะเป็นปริโยสาน ซึ่งแต่ละ
อย่างเป็นลักษณะที่แท้ไม่แปรผัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาสู่ลักษณะ
ที่แท้ด้วยพระญาณคติ คือ ทรงบรรลุ ทรงบรรลุโดยลำดับไม่ผิดพลาด
อย่างนี้ เหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า ตถาคต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
พระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาสู่ลักษณะที่แท้ เป็นอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมที่
แท้จริง ตามที่เป็นจริง เป็นอย่างไร ?
อริยสัจ ๔ ชื่อว่าธรรมที่แท้จริง อย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
 
๑๑/๙๐/๑๗๘

ไม่มีความคิดเห็น: