วันศุกร์, มกราคม 26, 2567

Pramat

 
นำออกจากทุกข์ของภิกษุผู้กำหนดขันธ์เป็นอารมณ์. คำที่เหลือก็เช่นนั้น
เหมือนกัน
จบขันธบรรพ

อายตนบรรพ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกธัมมานุปัสสนาด้วยอำนาจขันธ์ ๕
อย่างนี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะทรงจำแนก โดยอายตนะ จึงตรัสว่า ปุน จปรํ ยังมีอีก
ข้อหนึ่ง ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉสุ อชฺฌตฺติกพาหิเรสุ อายตเนสุ ใน
อายตนะภายใน และภายนอก ๖ ความว่า ในอายตนะภายใน ๖ เหล่านี้ คือ ตา
หู จมูก ลิ้น กาย ใจ. ในอายตนะภายนอก ๖ เหล่านี้คือรูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์. บทว่า จกฺขุญฺจ ปชานาติ รู้ชัดจักษุ ความว่า ย่อมรู้
ชัดจักษุประสาท โดยลักษณะพร้อมด้วยกิจตามความเป็นจริง. บทว่า รูเป จ
ปชานาติ รู้ชัดรูป ความว่า ย่อมรู้ชัดรูปอันเกิดแต่ ๔ สมุฏฐาน (กรรม อุตุ จิต
อาหาร) ในภายนอกโดยลักษณะพร้อมด้วยกิจตามความเป็นจริง. คำว่า ยญฺจ ตทุภยํ
ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชติ สํโยชนํ สังโยชน์ ย่อมอาศัย อายตนะทั้งสองเกิดขึ้น ความ
ว่า สังโยชน์ ๑๐ อย่าง คือ กามราคะ ปฏิฆะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาสอาทิผิด สระ ภวราคะ อิสสา มัจฉริยะ และ อวิชชา สังโยชน์ เกิดขึ้น เพราะ
อาศัยอายตนะทั้งสอง คือจักษุ กับรูป. และย่อมรู้ชัดสังโยชน์ ๑๐ นั้น โดย
ลักษณะพร้อมด้วยกิจตามเป็นจริง.

เหตุเกิดสังโยชน์

ถามว่า ก็สังโยชน์นั้นเกิดได้อย่างไร. ตอบว่า เกิดได้อย่างนี้ จะกล่าว
ในจักษุทวารก่อน เมื่อบุคคลยินดี. เพลิดเพลินอิฏฐารมณ์ อันมาปรากฏทางจักษุ
 
๑๔/๓๐๐/๓๒๘

ไม่มีความคิดเห็น: