วันอังคาร, มกราคม 16, 2567

Yokyong

 
เข้าไปจับโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง จึงต้อนโคทั้งหมดเข้าไปในคอกเดียวกัน ทีนั้น
เขาจึงต้อนออกไปทีละตัว มันก็ออกมาโดยลำดับ จึงชี้ให้จับว่า โคตัวนี้ คือ
โคดุนั้น พวกท่านจงจับมัน ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงเวทนาเหล่านั้น ที่ทรงประมวลมา
ด้วยอาการอย่างนี้แล้ว ใคร ๆ ก็อาจเพื่อให้บุคคลกำหนดเวทนานั้นได้ว่า
สภาวะใดไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่โสมนัส ไม่ใช่โทมนัส สภาวะนี้เป็น
อทุกขมสุขเวทนา ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเวทนาเหล่านั้น
เพื่อทรงชี้ถึงปัจจัยเพื่อเจโตวิมุตติ (คือ ความหลุดพ้นแห่งใจ) ที่ไม่มีทุกข์และ
สุข เพราะว่า การละสุขและทุกข์เป็นเป็นปัจจัยเพื่อเจโตวิมุตตินั้น เหมือน
อย่าง พระธรรมทินนาเถรี กล่าวไว้ว่า จตฺตาโร โข อาวุโส ปจฺจยา
อทุกฺขมสุขาย เจโตวิมุตฺติยา สมาปตฺติยา ฯเปฯ สมาปตฺติยา
ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ปัจจัยแห่งสมาบัติ ที่เป็นเจโตวิมุตติ อันไม่มีทุกข์ ไม่มี
สุข มี ๔ อย่างแล ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าถึงจตุตถ-
ฌานอันไม่มีทุกข์และสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสในก่อน
เสียได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ปัจจัยแห่ง
สมาบัติที่เป็นเจโตวิมุตติอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ๔ อย่างนี้แล.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า สังโยชน์มีสักกายทิฏฐิเป็นต้น ที่พระอริย-
เจ้าละได้แล้วในมรรคอื่น (ปฐมมรรคเป็นต้น ) พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะ
ทรงยกย่องอาทิผิด อักขระมรรคที่ ๓ จึงตรัสว่า ละแล้วในมรรคที่ ๓ นั้น ดังนี้ ฉันใด
ม. มู เล่ม ๑๒. ๕๐๓/๕๔๓
 
๗๕/๑๔๘/๔๖๗

ไม่มีความคิดเห็น: