วันอาทิตย์, มกราคม 07, 2567

Pom

 
และรังดุมนั้น ก็แสดงรูปต่าง ๆ มีรูปคล้ายเจดีย์ชื่ออัคฆิยะ รูปคทาและรูปไม้
พลองเป็นต้นไว้, เย็บยกเป็นรูปตาปูไว้ ; วิธีทำทั้งหมดไม่ควร จะทำผ้าลูกดุม
และห่วงลูกดุมไว้เพียง ๔ มุมเท่านั้นจึงควร.

[ วิธีซักและย้อมจีวร ]
ด้ายมุมและปมเทียว เป็นของที่รู้ได้ยากในเมื่อย้อมจีวรแล้วสมควรอยู่.
จะใส่จีวรลงในน้ำต่างๆ มีน้ำส้มผะอูมแป้งและน้ำข้าวเป็นต้น ไม่ควร. แต่ใน
เวลาทำจีวร จะใส่ลงเพื่อซักเหงื่อมือและสนิมเข็มเป็นต้น และในเวลาที่จีวร
สกปรกจะใส่ลงเพื่อซักให้สะอาด ก็ควร จะใส่ของหอม ครั่งหรือน้ำมันลงใน
น้ำย้อมไม่ควร. อันภิกษุย้อมจีวรไม่ควรเอาสังข์หรือแก้วมณีหรือวัตถุอย่างใด
อย่างหนึ่งทุบจีวร ไม่ควรคุกเข่าทั้งสองลงที่พื้นดินแล้วเอามือทั้งสองจับจีวร
ขัดถูแม้ที่รางย้อม แต่จะวางจีวรไว้ที่รางย้อมหรือบนแผ่นกระดาน แล้วให้จับ
ชายทั้งสองรวมกันไว้ เอามือทุบ สมควรอยู่. แม้การทุบนั้น ก็ไม่ควรเอา
กำปั้นทุบ. แต่พระเถระในปางก่อนทั้งหลายไม่ได้วางจีวรไว้ แม้ที่รางย้อมเลย
คือรูปหนึ่งเอามือจับจีวรยืน อีกรูปหนึ่ง วางจีวรไว้บนมือ แล้วจึงเอามือ
ทุบ ไม่ควรทุบเส้นด้ายที่หูจีวร. ในเวลาย้อมเสร็จแล้ว ควรตัดทิ้งเสีย.
ส่วนด้ายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !
เราอนุญาตเส้นด้ายที่หูจีวร ดังนี้นั้น ควรทำให้เป็นบ่วงผูกไว้ที่อนุวาต เพื่อ
คล้องจีวรไว้ในเวลาย้อม. แม้ที่ลูกดุมจะมีลวดลายหรือขอดปมอาทิผิด อักขระไว้ เพื่อทำให้
สวยงาม ไม่ควร ต้องทำลายเสียก่อนจึงควรใช้สอย.

[ บริขารที่ควรใช้และไม่ควรใช้ ]
ที่บาตรหรือถลกบาตร จะเอาเหล็กจารเขียนลวดลาย หรือจะเขียนไว้
ทั้งภายในภายนอกก็ตาม, ลวดลายนั้น ไม่ควร จะยกบาตรขึ้นกลึงให้เกลี้ยง
 
๒/๑๗๕/๘๖

ไม่มีความคิดเห็น: