วันพฤหัสบดี, มกราคม 25, 2567

Patikha

 
อนึ่ง วิหิงสานี้ เพราะยังไม่มา (ยังไม่ได้กล่าวไว้) ในหนหลัง จึง
ควรทราบโดยการจำแนกอรรถเป็นต้น ดังต่อไปนี้
คำว่า วิหึสํ มีวิเคราะห์ว่า ที่ชื่อว่า วิหิงสา เพราะอรรถว่า มี
เจตนาเป็นเหตุเบียดเบียนสัตว์ หรือสัตว์มีความเบียดเบียน. วิหิงสานั้น บัณฑิต
พึงทราบว่า มีความเบียดเบียนเป็นลักษณะ หรือว่ามีความเป็นปฏิปักษ์ต่อ
กรุณาเป็นลักษณะ มีความให้เกิดความหวาดเสียวในสันดานของสัตว์อื่นเป็นรส
หรือว่า มีความกำจัดความกรุณาในสันดานของคนเป็นรส มีความเป็นบ่อเกิด
แห่งทุกข์เป็นปัจจุปัฏฐาน มีปฏิฆะอาทิผิด อักขระเป็นปทัฏฐาน.
อโลภะ (ความไม่โลภ) เรียกว่า เนกขัมมะ เพราะออกจากความ
โลภ. ปฐมฌานก็เรียกว่า เนกขัมมะ เพราะออกจากนิวรณ์ทั้งหลาย กุศลทั้ง
หมดก็เรียกว่า เนกขัมมะ เพราะออกจากอกุศลทั้งหมด. ธาตุประกอบด้วย
เนกขัมมะ ชื่อว่า เนกขัมมธาตุ คำว่าเนกขัมมธาตุนี้ เป็นชื่อของเนกขัมม-
วิตก. ธาตุที่ประกอบด้วยความไม่พยาบาท ชื่อว่า อัพยาปาทธาตุ คำว่า
อัพยาปาทธาตุนี้เป็นชื่อของเมตตา. ธาตุที่ประกอบความไม่เบียดเบียน ชื่อว่า
อวิหิงสาธาตุ คำว่า อวิหิงสาธาตุนี้เป็นชื่อของอวิหิงสาวิตก ธาตุคืออวิหิงสา
นั้นเอง ชื่อว่า อวิหิงสาธาตุ คำว่า อวิหิงสาธาตุนี้เป็นชื่อของกรุณา.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะแสดงเนื้อความ (ธาตุ ๖)
นั้นนั่นแหละจึงเริ่มบทภาชนะ (บทขยายความ) ว่า ตตฺถ กตมา กามธาตุ
(ในธาตุ ๖ นั้น กามธาตุเป็นไฉน) เป็นต้น .
ในพระบาลีนั้น บทว่า ปฏิสํยุตฺโต (ประกอบ) ที่ชื่อว่า ปฏิสํยุตฺโต
(ประกอบ) ด้วยอำนาจสัมปโยคะ.๑ บทว่า ตกฺโก วิตกฺโก (ความตรึก
๑ สัมปโยคะ ประกอบด้วยองค์ ๔ คือ เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีอารมณ์อันเดียวกัน และ
มีวัตถุที่อาศัยเกิดอันเดียวกัน
 
๗๗/๑๒๓/๒๔๖

ไม่มีความคิดเห็น: