วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 10, 2568

Pathama

 
แต่ในที่นี้ (ปริยายศัพท์นั้น) ย่อมลงสู่ในอรรถว่า การณะบ้าง
เทศนาบ้าง. เพราะฉะนั้น ปริยายศัพท์ ในคำนี้ว่า สพฺพธมฺมมูลปริยายํ
ดังนี้ พึงทราบอย่างนี้ว่า การณะ ที่รู้กันว่า เหตุที่ไม่ทั่วไปแก่ธรรมทั้ง-
ปวง หรือว่าเทศนา คือ การณะ (เหตุ) แห่งธรรมทั้งปวง ดังนี้.
อนึ่ง สภาวธรรมทั้งหลาย แม้ที่เป็นในภูมิ ๔ ไม่พึงเข้าใจว่า
ชื่อว่า ธรรมทั้งปวง เพราะเหตุที่สูตรนั้นมีเนื้อความที่จะต้องแนะนำ แต่
สภาวธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ เท่านั้น ที่นับเนื่องอาทิผิด อาณัติกะในสักกายทิฏฐิ พึงเข้า
ใจว่า ธรรมทั้งปวง โดยไม่มีส่วนเหลือ. ในข้อนี้มีการอธิบายความดังว่า
มานี้แล.
หลักการใช้ โว ศัพท์
โว ศัพท์ ในบทว่า โว นี้ ย่อมใช้ในปฐมาวิภัตติ ทุติยาวิภัตติ
ตติยาวิภัตติ จตุตถีวิภัตติ ฉัฏฐีวิภัตติ และปทปูรณะ (ทำบทให้เต็ม).
อธิบายว่า
โว ศัพท์ ใช้ในปฐมาอาทิผิด สระวิภัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อน
อนุรุทธะ ก็เธอทั้งหลาย ยังเป็นผู้สามัคคี บันเทิงอยู่ ไม่โกรธกัน
อยู่หรือ ดังนี้.
ใช้ในทุติยาวิภัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจงไป เราตถาคตขอประฌามพวกเธอ ดังนี้.
ใช้ในตติยาวิภัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า อันพวกเธอไม่ควรอยู่
ในสำนักของเราตถาคต ดังนี้.
ใช้ในจตุตถีวิภัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
 
๑๗/๙/๔๙

วันพุธ, กรกฎาคม 09, 2568

Khlat

 
เขลาไม่ฉลาด กระด้างด้วยมานะ เป็นคนขลาดอาทิผิด อักขระ ไม่อาจเข้าเฝ้าพระสมณ-
โคดมได้ เข้ามาใกล้ถึงเพียงนี้แล้ว ยังไม่ทันเฝ้าพระสมณโคดม ไฉนจึง
กลับเสีย ผู้ที่ถูกชุมนุมชนดูหมิ่นพึงเสื่อมยศ ผู้เสื่อมยศก็พึงเสื่อมโภคสมบัติ
เพราะได้ยศเราจึงได้โภคสมบัติ.
[๑๘๔] ลำดับนั้น พราหมณ์โสณทัณฑะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค-
เจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัย
พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ฝ่ายพราหมณ์
และคฤหบดีชาวนครจัมปา บางพวกก็ถวายอภิวาท บางพวกก็ปราศรัย
บางพวกก็ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า บางพวกก็ประกาศชื่อ
และโคตร บางพวกก็นิ่งอยู่ แล้วต่างก็นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ๆ. ได้
ยินว่า ในขณะนั้น พราหมณ์โสณทัณฑะนั่งครุ่นคิดถึงแต่เรื่องนั้นว่า ถ้า
เราจะพึงถามปัญหากะพระสมณโคดม หากพระองค์จะพึงตรัสกะเราอย่างนี้
ว่า พราหมณ์ ปัญหาข้อนี้ท่านไม่ควรถามอย่างนั้น ที่ถูกควรจะถามอย่างนี้
ดังนี้ ชุมนุมชนนี้จะพึงดูหมิ่นเราด้วยเหตุนั้นว่า พราหมณ์โสณทัณฑะเป็น
คนเขลา ไม่ฉลาด ไม่อาจถามปัญหาโดยแยบคายกะพระสมณโคดมได้ ผู้
ที่ถูกชุมนุมชนดูหมิ่น พึงเสื่อมยศ ผู้เสื่อมยศก็พึงเสื่อมโภคสมบัติ เพราะได้
ยศเราจึงมีโภคสมบัติ ถ้าพระสมณโคดมจะพึงตรัสถามปัญหากะเรา ถ้าเรา
แก้ไม่ถูกพระทัย ถ้าพระองค์จะพึงตรัสกะเราอย่างนี้ว่า พราหมณ์ ปัญหา
ข้อนี้ท่านไม่ควรแก้อย่างนี้ ที่ถูกควรจะแก้อย่างนี้ ดังนี้ ชุมนุมชนนี้จะพึงดู
หมิ่นเราได้ด้วยเหตุนั้นว่า พราหมณ์โสณทัณฑะเป็นคนเขลา ไม่ฉลาด ไม่
อาจแก้ปัญหาให้ถูกพระทัยพระสมณโคดมได้ ผู้ที่ถูกชุมนุมชนดูหมิ่นพึงเสื่อม
ยศ ผู้เสื่อมยศก็พึงเสื่อมโภคสมบัติ เพราะได้ยศเราจึงมีโภคสมบัติ ถ้า
 
๑๒/๑๘๓/๘

วันอังคาร, กรกฎาคม 08, 2568

Makkha

 
แสดงพระปาฏิหาริย์สามพันห้าร้อยแก่ชฎิลสามพี่น้อง ให้บรรพชาแล้วพาไป
คยาสีสประเทศ ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตร ประทานพระอรหัตแก่ชฎิล
พันหนึ่ง เสด็จไปต้อนรับพระมหากัสสประยะทางสามคาวุต ประทานอุปสมบท
ด้วยโอวาทสามข้อ ครั้งหนึ่งเวลาปัจฉาภัตร เสด็จแต่พระองค์เดียวล่วงมรรคา
สิบห้าโยชน์ ให้ปุกกุสาติกุลบุตรตั้งอยู่ในอนาคามิผล เสด็จไปต้อนรับมหากัปปินะ
ระยะทางยี่สิบโยชน์ ประทานพระอรหัต ครั้งหนึ่งเวลาปัจฉาภัตร เสด็จแต่
พระองค์เดียว ล่วงมรรคาสามสิบโยชน์ ให้พระองคุลีมาลซึ่งเป็นคนหยาบช้า
ตั้งอยู่ในพระอรหัต ครั้งหนึ่งเสด็จล่วงมรรคาอาทิผิด อักขระสามสิบโยชน์ โปรดอาฬวกยักษ์
ให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ทรงกระทำความสวัสดีแก่กุมารที่จะเป็นอาหารยักษ์
ครั้งหนึ่งเสด็จจำพรรษาในดาวดึงส์พิภพ ให้เทวดาแปดสิบโกฏิบรรลุธรรมา-
ภิสมัย แล้วเสด็จไปพรหมโลก ทำลายทิฏฐิของพวกพรหม ประทานพระอรหัต
แก่พวกพรหมหมื่นหนึ่ง เสด็จจาริกไปสามมณฑลตามลำดับปี ประทานสรณะ
และศีลแก่พวกมนุษย์ที่มีอุปนิสัยสมบูรณ์ ทรงประพฤติประโยชน์มีประการ
ต่าง ๆ แม้แก่นาคและสุบรรณเป็นต้น.
พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ
นั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตบรรลุอภิสัมโพธิญาณแล้วประพฤติเป็นประโยชน์
แก่สัตวโลกในบัดนี้ ไม่น่าอัศจรรย์ แม้ในกาลก่อนเมื่อตถาคตยังมีกิเลสมีราคะ
เป็นต้น ก็ได้ประพฤติเป็นประโยชน์แก่สัตวโลกมาแล้วเหมือนกัน ทรงนำ
อดีตนิทานมาดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล ครั้งพระศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเจ้าอุส-
สินนรราชเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี เมื่อพระกัสสปสัมมาสัม-
 
๖๐/๑๖๗๒/๑๗๑

วันจันทร์, กรกฎาคม 07, 2568

Cham Doem

 
จำพวกข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมอาทิผิด อักขระแต่วันนี้เป็น
ต้นไป

เศรษฐีบุตรโสณ - โกฬิวิสะออกบวช
[๒] ครั้งนั้น เศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะได้มีความปริวิตก ดังนี้ ว่า
ด้วยวิธีอย่างไร ๆ เราจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว
อันบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่ จะประพฤติพรหมจรรย์นี้ให้สมบูรณ์โดยส่วนเดียว
ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ทำไม่ได้ง่าย ไฉนหนอ เราพึง
ปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ครั้น
ประชาชนเหล่านั้นชื่นชมยินดี ภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากที่นั่ง
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณหลีกไปแล้ว หลังจากประชาชน
พวกนั้นหลีกไปแล้วไม่นานนัก เขาได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง .
เศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่นั้นแล ได้กราบทูลคำนี้แด่อาทิผิด อักขระ
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ด้วยวิธีอย่างไร ๆ ข้าพระพุทธเจ้าจึง
จะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว อันบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่จะประ-
พฤติพรหมจรรย์นี้ ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์ โดยส่วนเดียว ดุจสังข์
ที่ขัดแล้ว ทำไม่ได้ง่าย ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนาจะปลงผมและหนวดครองผ้า
กาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ขอพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดให้
ข้าพระพุทธเจ้าบวชเถิด พระพุทธเจ้าข้า เศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะได้รับ
บรรพชา อุปสมบทในพุทธสำนักแล้ว ก็แลท่านพระโสณะอุปสมบทแล้วไม่
นาน ได้พำนักอยู่ ณ ป่าสีตวัน ท่านปรารภความเพียรเกินขนาด เดินจงกรม
จนเท้าทั้ง ๒ แตก สถานที่เดินจงกรมเปื้อนโลหิต ดุจสถานที่ฆ่าโค ฉะนั้น
 
๗/๒/๕

วันอาทิตย์, กรกฎาคม 06, 2568

Phuttha Chao

 
ภ. อย่าเลย โมคคัลลานะ การพลิกแผ่นดิน เธออย่าพอใจเลย
สัตว์ทั้งหลายจะพึงได้รับผลตรงกันข้าม.
ม. ขอประทานพระวโรกาส ขอภิกษุสงฆ์ทั้งหมดพึงไปบิณฑบาตใน
อุตรกุรุทวีป พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็ภิกษุผู้ไม่มีฤทธิ์เล่า เธอจักทำอย่างไรแก่ภิกษุเหล่านั้น
ม. ข้าพระพุทธเจ้าอาทิผิด จักทำให้ภิกษุทั้งหมดไปได้ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. อย่าเลย โมคคัลลานะ การที่ภิกษุสงฆ์ทั้งหมดไปบิณฑบาตถึง
อุตรกุรุทวีป เธออย่าพอใจเลย.
เหตุให้พระศาสนาดำรงอยู่ไม่นานและนาน
[๗] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ได้มีความ
ปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทั้งหลาย พระองค์ไหนไม่ดำรงอยู่นาน ของพระองค์ไหนดำรงอยู่นาน ดังนี้
ครั้นเวลาสายัณห์ท่านออกจากที่เร้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า
ข้าพระพุทธเจ้าไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ณ ตำบลนี้ ได้มีความปริวิตกแห่งจิต
เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย พระองค์
ไหน ไม่ดำรงอยู่นาน ของพระองค์ไหนดำรงอยู่นาน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนสารีบุตร พระศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามวิปัสสี พระนามสิขี และพระนามเวสสภู ไม่ดำรง
อยู่นาน ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามกกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และ
พระนามกัสสปะดำรงอยู่นาน.
 
๑/๗/๑๒

วันเสาร์, กรกฎาคม 05, 2568

At

 
ธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่พิจารณาอรรถอาทิผิด แห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา ธรรม
เหล่านั้นย่อมไม่ควรต่อการเพ่งพินิจแก่พวกเขา ผู้ไม่พิจารณาอรรถด้วยปัญญา
พวกเขาเรียนธรรมมีการโต้แย้งเป็นอานิสงส์ และมีหลักการบ่นเพ้อว่าอย่างนี้
เป็นอานิสงส์ และย่อมไม่ได้รับประโยชน์แห่งธรรมที่พวกกุลบุตรต้องประสงค์
เล่าเรียน ธรรมเหล่านั้นที่เขาเรียนไม่ดี ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อ
ทุกข์ สิ้นกาลนาน แก่โมฆบุรุษเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะอะไรเป็นเหตุ ? ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะธรรมทั้งหลายอันโมฆบุรุษเหล่านั้นเรียนไม่ดี.
อนึ่ง ปริยัติอันบุคคลเรียนดีแล้วคือจำนงอยู่ซึ่งความบริบูรณ์แห่งคุณ
มีสีลขันธ์เป็นต้นนั่นแล เรียนแล้ว ไม่เรียนเพราะเหตุมีความโต้แย้งเป็นต้น,
ปริยัตินี้ ชื่อว่าปริยัติมีประโยชน์ที่จะออกจากวัฏฏะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
หมายตรัสไว้ว่า ธรรมเหล่านั้น อันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนานแก่กุลบุตรเหล่านั้น ข้อนั้น
เพราะอะไรเป็นเหตุ ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะธรรมทั้งหลายอัน
กุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ดังนี้.
ส่วนพระขีณาสพผู้มีขันธ์อันกำหนดรู้แล้ว มีกิเลสอันละแล้ว มีมรรค
อันอบรมแล้ว มีธรรมอันไม่กำเริบแทงตลอดแล้ว มีนิโรธอันกระทำให้แจ้ง
แล้ว ย่อมเรียนซึ่งปริยัติใด เพื่อต้องการแก่อันดำรงซึ่งประเพณี เพื่อต้องการ
แก่อันตามรักษาซึ่งวงศ์ ปริยัตินี้ ชื่อว่าปริยัติของท่านผู้ประดุจขุนคลัง.
[ภิกษุผู้ปฏิบัติดีใน ๓ ปิฎกได้ผลดีต่างกัน]
อนึ่ง ภิกษุผู้ปฏิบัติในพระวินัย อาศัยสีลสมบัติ ย่อมได้บรรลุวิชชา
๓ ก็เพราะตรัสจำแนกประเภทวิชชา ๓ เหล่านั้นนั่นแลไว้ในพระวินัยนั้น. ผู้
๑, ๒. ม. มู ๑๒/๒๖๘-๒๖๙.
 
๑/๙/๕๒

วันศุกร์, กรกฎาคม 04, 2568

Dueat Ron

 
ด้วยปัญญาอันใด ก็ปัญญาอันนั้นสูงสุดกว่าทรัพย์. บทว่า อโพฺยสิตตฺตา
ความว่า เพราะยังอยู่ไม่จบพรหมจรรย์ อธิบายว่า เพราะยังไม่มีการบรรลุ
อรหัต. บทว่า ภวาภเวสุ ได้แก่ ในภพเลวและประณีต. บทว่า อุเปติ
คพฺภญฺจ ปรญฺจ โลกํ ความว่า เมื่อคนเหล่านั้นกระทำบาปอยู่ สัตว์ผู้ใด
ผู้หนึ่งต้องประสบสังสารวัฏสืบ ๆ ไป ย่อมเข้าถึงครรภ์และโลกอื่น. บทว่า
ตสฺสปฺปปญฺโย ความว่า คนไม่มีปัญญาอื่นก็เชื่อถือคนไม่มีปัญญาเช่นนั้นนั้น.
บทว่า สกมฺมุนา หญฺติ ความว่า ย่อมเดือดอาทิผิด อักขระร้อนด้วยกรรมกรณ์ มีตีด้วย
หวายเป็นต้น ด้วยอำนาจกรรมที่ตนเองทำไว้. บทว่า เปจฺจ ปรมฺหิ โลเก
ความว่า ไปจากโลกนี้แล้ว เดือดร้อนในอบายโลกอื่น. บทว่า วิรูปรูเปน
มีรูปต่าง ๆ อธิบายว่า มีสภาวะต่าง ๆ. บทว่า กามคุเณสุ ได้แก่ เห็น
อาทีนพในกามคุณทั้งปวงทั้งในปัจจุบันและภายภาคหน้า. บทว่า ทหรา แปลว่า
อ่อน โดยที่สุดเพียงเป็นกลละ. บทว่า วุฑฺฒา คือเกินร้อยปี. บทว่า อปณฺณกํ
สามญฺญเมว เสยฺโย ความว่า มหาราช อาตมภาพ บวชเพราะใคร่ครวญแล้วว่า
สามัญญผลเท่านั้นไม่ผัดไม่แยกเป็นสองนำสัตว์ออกจากทุกข์โดยส่วนเดียว เป็น
ธรรมอันยิ่งกว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย เพราะฉะนั้น พระองค์ทรงเห็น ทรง
สดับอย่างไร จึงตรัสข้อใด จงจำอาตมภาพว่า อาตมภาพเห็นและฟังข้อนี้จึง
ออกบวช แล้วก็จบเทศนาแล.

จบ อรรถกถารัฏฐปาลสูตรที่ ๒
 
๒๑/๔๕๑/๖๔

วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 03, 2568

Si

 
ภิกษุจงใจว่า จักปล่อยสุกกะสีแดง พยายาม สุกกะสีเหมือนเปรียง
เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจว่า จักปล่อยสุกกะสีขาว พยายาม สุกกะสีเหมือนเปรียง
เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
ปิฏฐิจักร รอบที่ ๕ จบ
ปิฏฐิจักร รอบที่ ๖
[๓๓๖] ภิกษุจงใจว่า จักปล่อยสุกกะสีอาทิผิด เหมือนน้ำมัน พยายาม สุกกะ
สีเหมือนน้ำท่า เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจว่า จักปล่อยสุกกะสีเหมือนนมสด พยายาม สุกกะสี
เหมือนน้ำท่า เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจว่า จักปล่อยสุกกะสีเหมือนนมส้ม พยายาม สุกกะสี
เหมือนน้ำท่า เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจว่า จักปล่อยสุกกะสีเหมือนเนยใส พยายาม สุกกะสี
เหมือนน้ำท่า เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจว่า จักปล่อยสุกกะสีเขียว พยายาม สุกกะสีเหมือนน้ำท่า
เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจว่า จักปล่อยสุกกะสีเหลีอง พยายาม สุกกะสีเหมือนน้ำท่า
เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจว่า จักปล่อยสุกกะสีแดง พยายาม สุกกะสีเหมือนน้ำท่า
เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
 
๓/๓๓๖/๖๖

วันพุธ, กรกฎาคม 02, 2568

Sattawalok

 
อรรถกถาพระวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกาแปล
มหาวิภังควรรณนา
ภาค ๑
อารัมภกถา
ข้าพเจ้าขอถวายนมัสการแด่พระผู้เป็น
ที่พึ่ง ผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา
พระองค์ผู้ทรงกระทำกรรมที่ทำได้ยากยิ่ง
ตลอดกาลซึ่งจะนับประมาณมิได้ แม้ด้วย
หลายโกฏิกัป ทรงถึงความยากลำบาก เพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตวโลกอาทิผิด อาณัติกะ. ข้าพเจ้าขอ
ถวายนมัสการแก่พระธรรมอันประเสริฐ อัน
ขจัดเสียซึ่งข่ายคือกิเลส มีอวิชชาเป็นต้น
ที่พระพุทธเจ้าทรงเสพอยู่เป็นนิตย์ ซึ่งสัตว-
โลก เมื่อไม่หยั่งรู้ต้องท่องเที่ยวไปสู่ภพน้อย
และภพใหญ่. ข้าพเจ้าขอถวายนมัสการด้วย
เศียรเกล้า ซึ่งพระอริยสงฆ์ ผู้ประกอบ
องค์การศึกษาแผนกบาลี แปลออกสอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๔๘๙อาทิผิด -๒๕๐๖
 
๑/๙/๑๙

วันอังคาร, กรกฎาคม 01, 2568

Klop Kluean

 
ภิกษุทั้งหลายได้ยินเดียรถีย์พวกนั้น เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่
จึงเข้าไปหาพระหัตถกะ ศากยบุตรถึงสำนัก ครั้นแล้วได้ถามพระหัตถกะว่า
อาวุโสหัตถกะ ข่าวว่าท่านเจรจาอยู่กับพวกเดียรถีย์ กล่าวปฏิเสธแล้วรับ กล่าว
รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องอื่นกลบเกลื่อนเรื่องอื่น กล่าวเท็จทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ พูด
นัดหมายไว้แล้ว ทำให้คลาดเคลื่อน จริงหรือ.
พระหัตถกะ ศากยบุตรตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าพวกเดียรถีย์
เหล่านี้ เราต้องเอาชนะด้วยวิธีใดอาทิผิด วิธีหนึ่ง เราไม่ควรให้ความชนะแก่เดียรถีย์
พวกนั้น.
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่
ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระหัตถกะ ศากยบุตร
เจรจาอยู่กับพวกเดียรถีย์ จึงได้กล่าวปฏิเสธแล้วรับ กล่าวรับแล้วปฏิเสธอาทิผิด อักขระ เอา
เรื่องอื่นกลบเกลื่อนเรื่องอื่น กล่าวเท็จทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ พูดนัดหมายไว้แล้ว ทำให้
คลาดเคลื่อนเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุ
เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถาม พระหัตถกะ
ศากยบุตรว่า จริงหรือหัตถกะ ข่าวว่าเธอเจรจาอยู่กับพวกเดียรถีย์ กล่าวปฏิเสธ
แล้วรับ กล่าวรับแล้ว ปฏิเสธ เอาเรื่องอื่นกลบอาทิผิด เกลื่อนเรื่องอื่น กล่าวเท็จทั้งๆ
ที่รู้อยู่ พูดนัดหมายไว้แล้ว ทำให้คลาดเคลื่อน.
พระหัตถกะ ศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
 
๔/๑๗๓/๒

คลังบทความของบล็อก