วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 23, 2568

Phatthawadi

 
ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าจัณฑปัชโชตมีช้างพังชื่อภัททวดี เดินทางได้
วันละ ๕๐ โยชน์ หมอชีวกโกมารภัจจ์จึงได้ทูลถวายเนยใสนั้นแด่พระเจ้าจัณฑ-
ปัชโชตด้วยกราบทูลว่า ขอใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจงเสวยน้ำฝาด ครั้นให้
พระเจ้าจัณฑปัชโชตเสวยเนยใสแล้วก็ไปโรงช้างหนีออกจากพระนครไปโดย
ช้างพังภัททวดีอาทิผิด อักขระ. ขณะเดียวกันนั้น เนยใสที่พระเจ้าจัณฑปัชโชตเสวยนั้นย่อย ได้
ทำให้ทรงเรอขึ้น พระเจ้าจัณฑปัชโชตจึงได้รับสั่งแก่พวกมหาดเล็กว่า พนายทั้ง
หลาย เราถูกหมอชีวกชาติชั่วลวงให้ดื่มเนยใส พวกเจ้าจงค้นจับหมอชีวกมา
เร็วไว.
พวกมหาดเล็กกราบทูลว่า หมอชีวกหนีออกจากพระนครไปโดยช้าง
พังภัททวดีแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.
ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าจัณฑปัชโชตมีมหาดเล็กชื่อกากะ ซึ่งอาศัยเกิด
กับอมนุษย์ เดินทางได้วันละ ๖๐ โยชน์ พระเจ้าจัณฑปัชโชตอาทิผิด จึงดำรัสสั่งกากะมหาด
เล็กว่า พ่อนายกากะ เจ้าจงไปเชิญหมอชีวกกลับมา ด้วยอ้างว่า ท่านอาจารย์
พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งอาทิผิด สระให้เชิญท่านกลับไป ขึ้นชื่อว่าหมอเหล่านี้แลมีมารยามาก
เจ้าอย่ารับวัตถุอะไร ๆ ของเขา.
ครั้งนั้น กากะมหาดเล็กได้เดินไปทันชีวกโกมารภัจจ์ ผู้กำลังรับ
ประทานอาหารมื้อเช้าในระหว่างทางเขตพระนครโกสัมพี จึงได้เรียนแก่ชีวก
โกมารภัจจ์ว่าท่านอาจารย์ พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้เชิญท่านกลับไป.
ชี. นายกากะ ท่านจงรออยู่เพียงชั่วเวลาที่เรารับประทานอาหาร
เชิญท่านรับประทานอาหารด้วยกันเถิด.
ก. ช่างเถิด ท่านอาจารย์ พระเจ้าอยู่หัวดำรัสสั่งข้าพเจ้าไว้ว่า นาย
กากะ ขึ้นชื่อว่าหมอเหล่านี้มีมารยามาก อย่ารับวัตถุอะไร ๆ ของเขา.
 
๗/๑๓๔/๒๕๖

วันเสาร์, กุมภาพันธ์ 22, 2568

Olan

 
อันทักษิณานี้แล มหาบพิตรถวายแล้ว เข้าไปตั้ง
ไว้ดีแล้วในพระสงฆ์ ย่อมสำเร็จผลโดยฐานะ เพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูลแต่เปรตตลอดกาลนาน ดังนี้.
เพราะเหตุที่ญาติธรรม อันพระราชาผู้ทรงถวายทักษิณานี้ ทรงแสดง
แล้วด้วยทรงทำกิจที่หมู่ญาติควรทำแก่หมู่ญาติ ทรงทำให้ปรากฏแก่ชนเป็นอัน
มากหรือทรงยกเป็นตัวอย่างว่า ญาติธรรมแม้ท่านทั้งหลายก็พึงบำเพ็ญด้วยการ
ทำกิจที่หมู่ญาติพึงทำอย่างนั้นเหมือนกัน ไม่พึงทำตัวให้เดือดร้อนด้วยการร้องไห้
เป็นต้น ซึ่งไร้ประโยชน์ การบูชาหมู่เปรตอันพระราชาผู้ทรงยังหมู่เปรตเหล่านั้น
ให้ประสพทิพยสมบัติทรงทำแล้วอย่างโอฬาร และกำลังของภิกษุทั้งหลาย
อันพระราชาผู้ทรงอังคาสเลี้ยงดูภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขให้อิ่มหนำ
สำราญ ด้วยข้าวน้ำเป็นต้น ชื่อว่าทรงเพิ่มให้แล้ว และบุญมิใช่น้อย อันพระ
ราชาทรงยังจาคเจตนา มีคุณคือความอนุเคราะห์เป็นต้นเป็นบริวารให้เกิดก็
ทรงประสพแล้ว ฉะนั้น เมื่อทรงยังพระราชาให้ทรงร่าเริงด้วยคุณตามเป็นจริง
เหล่านั้นอีก จึงทรงจบเทศนาด้วยพระคาถานี้ว่า
ญาติธรรมนี้นั้น เป็นอันทรงแสดงแล้ว ๑ การ
บูชาเปตชน ก็ทรงทำอย่างโอฬารอาทิผิด กำลังของภิกษุ
ทั้งหลาย ก็ทรงเพิ่มให้แล้ว บุญมิใช่น้อย พระองค์
ทรงขวนขวายแล้ว ๑.
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงชี้แจงพระราชาด้วยธรรมีกถา
ด้วยบทคาถานี้ว่า โส ญาติธมฺโม จ อยํ นิทสฺสิโต. ความจริง การ
แสดงญาติธรรมนี่เอง เป็นการชี้บ่อย ๆ ในข้อนี้. ทรงชักชวนด้วยบทคาถานี้ว่า
 
๓๙/๘/๓๐๐

วันศุกร์, กุมภาพันธ์ 21, 2568

Sangsatheti

 
ได้ยินว่า แม้พระเถระก็คิดว่า พราหมณ์นี้ไม่ประสงค์จะตอบปัญหา
จึงเสความ เราจักให้พราหมณ์นี้ ตอบปัญหานี้ให้จงได้ เพราะฉะนั้น ท่าน
จึงกล่าวอย่างนี้ กะพราหมณ์นั้น. บทว่า สหธมฺมิกํ แปลว่า มีเหตุ. บทว่า
สํสาเทติอาทิผิด สระ แปลว่า ขยาด. บทว่า โน วิสชฺเชติ แปลว่า จะไม่ตอบ.
บทว่า ยนฺนูนาหํ ปริโมจยํ ความว่า อย่ากระนั้นเลย เราจะ
ปลดเปลื้องคนทั้งสองให้พ้นจากความลำบากใจ. เพราะว่าพราหมณ์เมื่อไม่
ตอบปัญหาที่พระอานนท์ถาม ย่อมลำบากใจ ฝ่ายพระอานนท์ เมื่อจะให้
พราหมณ์ผู้ไม่ยอมตอบ ตอบให้ได้ ก็ลำบากใจ ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระดำริว่า เราจักปลดเปลื้องคนทั้งสองนี้ จากความลำบากใจ จึงตรัส
อย่างนี้. บทว่า กานฺวชฺช ตัดบทเป็น กา นุ อชฺช. บทว่า อนฺตรากถา
อุทปาทิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ในระหว่างที่สนทนากันถึง
เรื่องอื่น มีเรื่องอะไรเกิดขึ้นบ้าง. พระศาสดาตรัสอย่างนี้ โดยมีพุทธประสงค์
ว่า ได้ยินว่า ครั้งนั้นในพระราชวัง มีกถาปรารภปาฏิหาริย์ ๓ เกิดขึ้น เรา
จะถามความข้อนั้น.
ลำดับนั้น พราหมณ์คิดว่า บัดนี้ เราสามารถจะพูดได้ เมื่อจะกราบ
ทูลข้อความที่เกิดขึ้นในพระราชวัง จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อยํ ขฺวชฺช โภ
โคตม ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อยํ ขฺวชฺช ตัดบทเป็น อยํ
โข อชฺช. บทว่า สุทํ ในคำว่า ปุพฺเพ สุทํ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า
อุตฺตริมนุสฺสธมฺมา ได้แก่มนุษยธรรมชั้นสูง กล่าวคือ กุศลกรรมบถ ๑๐.
ด้วยบทว่า อิทฺธิปาฏิหาริยํ ทสฺเสสุํ พราหมณ์กล่าวหมายเอาการเหาะขึ้น
ไปบนอากาศ ที่เป็นไปแล้วในสมัยก่อนอย่างนี้ คือ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อไป
 
๓๔/๕๐๐/๒๖๒

วันพฤหัสบดี, กุมภาพันธ์ 20, 2568

Muea

 
บัญชร สุวโปดกก็บินไปจับ. บทว่า อามนฺตยี ความว่า สุวโปดกนั้น บินไป
อย่างนี้แล้ว ประสงค์จะทำความคุ้นเคยประกอบด้วยเมถุนจึงเรียกนางนกสาลิกา
นั้น. บทว่า สุฆรํ ได้แก่ กรงงาม เพราะความเป็นที่อยู่ในกรงทอง. บทว่า
เวเส ได้แก่ ประกอบด้วยเพศ คือมีชาติตามเพศ ได้ยินว่า นกสาลิกาชื่อว่า
มีชาติตามเพศในหมู่นกทั้งหลาย เหตุนั้นจึงเรียกนกสาลิกานั้นอย่างนี้. บทว่า
ตว ความว่า เรากล่าวในเรือนงามของท่าน. บทว่า กจฺจิ เต มธุนา ลาชา
ความว่า สุวโปดกถามว่า เธอได้ข้าวตอกกับน้ำผึ้งดอกหรือ. บทว่า กุโต นุ
สมฺม อาคมฺม ความว่า นางนกสาลิกาถามว่า แน่ะสหาย ท่านมาจากไหน
เข้าไปในที่นี้. บทว่า กสฺส วา ความว่า หรือว่าใครส่งท่านมาในที่นี้.
สุวโปดกได้ฟังคำของนางนกสาลิกาแล้ว คิดว่า ถ้าเราบอกว่ามาแต่
มิถิลา นางนกสาลิกานี้แม้ถึงความตาย ก็จักไม่ทำความคุ้นเคยกับเรา ก็เรา
กำหนดนครอริฏฐปุระ ในแคว้นสีพีมาแล้ว ฉะนั้นเราจักอาทิผิด สระทำมุสาวาทกล่าวว่า
พระเจ้าสีวิราชทรงส่งมาแต่ที่นั้น คิดฉะนี้แล้วจึงกล่าวว่า
ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่เขาเลี้ยงไว้ในที่บรรทม บน
ปราสาทของพระเจ้าสีวิราช พระราชาพระองค์นั้นเป็น
ผู้ตั้งอยู่ในธรรม โปรดให้ปล่อยสัตว์ทั้งหลายที่ถูกขัง
จากที่ขังนั้น ๆ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พนฺเธ ความว่า พระราชาพระองค์นั้น
โปรดให้ปล่อยสัตว์ทั้งปวงจากที่ขัง เพราะความที่พระองค์เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม
เมื่ออาทิผิด โปรดให้ปล่อยอย่างนี้ พระองค์ตรัสว่า พวกท่านจงเชื่อเราปล่อยมันไป
ข้าพเจ้านั้นออกจากกรงทองที่เปิดไว้ ถือเอาอาหารในที่นั้น ๆ ตามที่ปรารถนา
ภายนอกปราสาทแล้วอยู่ในกรงทองนั่นเอง ไม่เหมือนเธอซึ่งอยู่ในกรงเท่านั้น
ตลอดกาลเป็นนิจอย่างนี้.
 
๖๓/๖๘๖/๔๗๐

วันพุธ, กุมภาพันธ์ 19, 2568

Mai Koet

 
๑๑. เรื่องพระอุชฌานสัญญีเถระ [๑๙๒]

ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระ
รูปหนึ่งชื่อ อุชฌานสัญญี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า “ปรวชฺชานุ-
ปสฺสิสฺส” เป็นต้น.
คุณวิเศษไม่อาทิผิด เกิดแก่ผู้เพ่งโทษผู้อื่น
ได้ยินว่า พระเถระนั้นเที่ยวแส่หาแต่โทษของภิกษุทั้งหลายเท่านั้น
ว่า “ ภิกษุนี้ ย่อมนุ่งอย่างนี้, ภิกษุนี้ ย่อมห่มอย่างนี้.” พวกภิกษุ
กราบทูลแด่พระศาสดาว่า “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเถระชื่อโน้น ย่อม
กระทำอย่างนี้.”
พระศาสดาตรัสว่า “ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในข้อวัตรกล่าว
สอนอยู่อย่างนี้ ใคร ๆ ไม่ควรติเตียน, ส่วนภิกษุใด แสวงหาโทษของ
ชนเหล่าอื่น เพราะความมุ่งหมายในอันยกโทษ กล่าวอย่างนี้แล้วเที่ยวไป
อยู่, บรรดาคุณวิเศษมีฌานเป็นต้น คุณวิเศษแม้อย่างหนึ่ง ย่อมไม่เกิด
ขึ้นแก่ภิกษุนั้น. อาสวะทั้งหลายเท่านั้น ย่อมเจริญอย่างเดียว” ดังนี้แล้ว
จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-
๑๑. ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส นิจฺจํ อุชฺฌานสญฺญิโน
อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺติ อารา โส อาสวกฺขยา.
“อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ผู้คอย
ดูโทษของบุคคลอื่น ผู้มีความมุ่งหมายในอันยกโทษ
เป็นนิตย์, บุคคลนั้น เป็นผู้ไกลจากความสิ้นไปแห่ง
อาสวะ.”
 
๔๓/๒๘/๖๐

วันอังคาร, กุมภาพันธ์ 18, 2568

Kho

 
บรรดาญาติของท่านพระสุทินน์ ได้ทราบข่าวว่า พระสุทินน์กลันทบุตร
กลับมาสู่พระนครเวสาลีแล้ว จึงนำภัตตาหารมีประมาณ ๖๐ หม้อไปถวายท่าน
พระสุทินน์ ๆ สละภัตตาหารประมาณ ๖๐ หม้อนั้นถวายแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้ว
เช้าวันนั้นครองอันตรวาสกถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกลันทคาม เที่ยว
บิณฑบาตไปตามลำดับตรอกในกลันทคาม ใกล้จะถึงเรือนบิดาของตน ก็พอดี
ทาสีของญาติท่านพระสุทินน์กำลังมีความมุ่งหมายจะเทขนมสดที่ค้างคืน จึงท่าน
พระสุทินน์ได้กล่าวคำนี้กะนางว่า น้องหญิง ถ้าของนั้นมีอันจะต้องทิ้งเป็น
ธรรมดา ขออาทิผิด อักขระท่านจงเกลี่ยลงในบาตรของเรานี้เถิด ขณะที่นางกำลังเกลี่ยขนมสด
ที่ค้างคืนนั้นลงในบาตร นางจำเค้ามือเท้าและเสียงของท่านพระสุทินน์ได้ จึง
รีบเข้าไปหามารดาของท่านพระสุทินน์ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวคำนี้กะมารดาของ
ท่านว่า คุณนายเจ้าขา โปรดทราบ พระสุทินน์บุตรคุณนายกลับมาแล้วเจ้าค่ะ.
แม่ทาสี ถ้าเจ้าพูดจริง เราจะปลดเจ้ามิให้เป็นทาสี มารดาท่านพระ-
สุทินน์กล่าว.
ขณะที่ท่านพระสุทินน์กำลังอาศัยพะไลเรือนแห่งหนึ่งฉันขนมสดที่
ค้างคืนนั้น พอดีบิดาของท่านพระสุทินน์เดินกลับมาจากที่ทำงาน ได้แลเห็น
ท่านพระสุทินน์กำลังอาศัยพะไลเรือนแห่งหนึ่งฉันขนมสดที่ค้างคืนนั้นอยู่ จึง
เดินเข้าไปหาท่านพระสุทินน์ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านว่า มีอยู่หรือ
พ่อสุทินน์ ที่พ่อจักฉันขนมสดที่ค้างคืน พ่อสุทินน์ พ่อควรไปเรือนของตน
มิใช่หรือ.
คุณโยม รูปได้ไปสู่เรือนของคุณโยมแล้ว ขนมสดที่ค้างคืนนี้รูปได้มา
แต่เรือนของคุณโยม พระสุทินน์ตอบ.
 
๑/๑๕/๓๘๒

วันจันทร์, กุมภาพันธ์ 17, 2568

Prasat

 
ในเปรตวิสัยมีมาก แต่พึงเสวยสุขนิดหน่อยในบางเวลา เพราะฉะนั้น จึงตรัส
อย่างนี้. พึงทราบการเปรียบเทียบข้ออุปมาโดยนัยก่อนในที่นี้นั่นเทียว.
พึงทราบอธิบายในอุปมาข้อที่ ๔ บทว่า พหลปตฺตปลาโส ได้แก่
มีใบเนืองนิจ คือ ปกปิดด้วยใบ. บทว่า สณฺฑจฺฉาโย ความว่า มีเงาหนา
ดุจร่มหีน. บทว่า สุขพหุลา เวทนา ความว่า เวทนาในตระกูลทั้ง
หลายมีขัตติยตระกูลเป็นต้นในมนุษยโลกเป็นอันพึงทราบว่า เวทนามากด้วย
ความสุข ทรงแสดงว่า เราเห็นบุคคลนอนหรือนั่งเสวยเวทนานั้น. พึงทราบ
ข้อเปรียบเทียบอุปมาแม้นี้โดยนัยก่อนนั้นเทียว.
พึงทราบอธิบายในอุปมาข้อที่ ๕ บทว่า ปาสาโท ได้แก่ ปราสาทยาว.
บทว่า อุลฺลิตฺตาวลิตฺตํ ความว่า ฉาบทาข้างในและฉาบทาข้างนอก. บทว่า
ผุสิตคฺคฬํ ได้แก่บานประตูหน้าต่าง ปิดสนิทดีพร้อมกับรอบวงกบ. บทว่า
โคนกตฺถโต ความว่า ลาดด้วยผ้าโกเชาว์สีดำ ขนยาวเกินกว่าสี่นิ้ว. บทว่า
ปฏิกตฺถโต ได้แก่ลาดด้วยเครื่องลาดสีขาวอันสำเร็จแต่ขน. บทว่า ปฏลิ-
กตฺถโต คือ ลาดด้วยเครื่องลาดอันสำเร็จด้วยขนมีพื้นหนา. บทว่า กทฺทลิมิค-
ปวรปจฺจตฺถรโณ ความว่า ลาดด้วยเครื่องปูลาดชั้นสูง อันสำเร็จด้วยหนัง
ชะมด. ได้ยินว่า ชนทั้งหลายลาดหนังอาทิผิด สระชะมดเบื้องบนผ้าขาวแล้วเย็บทำเครื่อง
ปูลาดนั้น. บทว่า สอุตฺตรจฺฉโท ความว่า มีเพดานกั้นในเบื้องบน คือมี
เพดานสีแดงกั้นไว้เบื้องบน. บทว่า อุภโต โลหิตกูปธาโน ได้แก่ มีหมอน
แดงวาง ณ ข้างทั้งสองของบัลลังก์ คือ หมอนหนุนศีรษะ และหมอนวางเท้า.
พึงทราบการเปรียบเทียบข้ออุปมา โดยนัยก่อนแม้ในที่นี้.
ก็โยชนาส่วนอื่นในบทนี้มีดังนี้. บุรุษนั้นย่อมรู้บุคคลที่ขึ้นสู่ทางนั้น
เทียวว่า บุคคลนี้ไปโดยทางนั้น ขึ้นสู่ปราสาทอาทิผิด สระ เข้าไปยังกูฏาคาร จักนั่งหรือ
จักนอนบนบัลลังก์ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นบุคคลผู้สั่งสมกุศลกรรม
 
๑๘/๑๙๓/๙๑

วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 16, 2568

Rupi

 
บุคคลเห็นรูป ด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียง ด้วยทิพโสตธาตุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัย
แก่กายวิญญาณ. หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอรูปีธรรม ด้วย
อำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

๑๑. ปัจฉาชาตอาทิผิด สระปัจจัย
[๒๗๖] ๑. อรูปีธรรม เป็นปัจจัยแก่รูปีอาทิผิด สระธรรม ด้วยอำนาจ
ของปัจฉาชาตปัจจัย
คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอรูปีธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้
ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.

๑๒. อาเสวนปัจจัย
[๒๗๗] ๑. อรูปีธรรม เป็นปัจจัยแก่อรูปีธรรม ด้วยอำนาจ
ของอาเสวนปัจจัย
คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอรูปีธรรม ที่เกิดก่อน ๆ ฯลฯ

๑๓. กัมมปัจจัย
[๒๗๘] ๑. อรูปีธรรม เป็นปัจจัยแก่อรูปีธรรม ด้วยอำนาจ
ของกัมมปัจจัย
 
๘๘/๒๗๖/๒๘๘

วันเสาร์, กุมภาพันธ์ 15, 2568

Paramattha

 
ทีปนีอาทิผิด อักขระมีวินิจฉัยอันไม่สับสน ก็ถึงการจบลง โดยบาลี
ประมาณ ๙๒ ภาณวาร.
ดังนั้น บุญนั้นใด อันข้าพเจ้าผู้แต่งคัมภีร์ปร-
มัตถอาทิผิด อักขระทีปนีนั้น ได้ประสบแล้ว ด้วยอานุภาพแห่งบุญ
นั้น ขอสัตว์ทั้งปวง หยั่งลงถึงศาสนาของพระโลก-
นาถ ด้วยข้อปฏิบัติมีศีลเป็นต้นอันบริสุทธิ์ จงเป็นภาคี
มีส่วนแห่งวิมุตติรส.
ขอศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จงดำรง
อยู่ยั่งยืนในโลก ขอสรรพสัตว์ จงมีความเคารพใน
ศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเป็นเนืองนิจ.
ขอฝนจงตกต้องตามฤดูกาล
ขอพระเจ้าแผ่นดิน ผู้ทรงยินดีเป็นนิจในพระ-
สัทธรรม โปรดทรงปกครองสัตวโลก โดยธรรมเทอญ.
จบกถาพรรณนาความแห่งเถรีคาถา ซึ่งท่านพระอาจารย์ธรรมปาล-
เถระ ผู้อยู่ พทรติตถวิหาร [วัดท่าพุทรา] รจนาไว้.
อรรถกถาเถรีคาถา จบบริบูรณ์
 
๕๔/๔๗๔/๕๓๙

วันศุกร์, กุมภาพันธ์ 14, 2568

Kamnat

 
อรรถกถาปฐมโนอัสสาทสูตรที่ ๕
ในสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า นิสฺสฏ แปลว่า ออกไปแล้ว. บทว่า วิสญฺญุตฺตา แปลว่า
ไม่ประกอบ. บทว่า วิปฺปมุตฺตา แปลว่า ไม่พ้นแล้ว. บทว่า วิปฺปริยา-
ทิกเตน เจตสา ได้แก่ มีใจที่ไม่มีอะไรยึดไว้เป็นต้น. บทว่า ยํ ได้แก่
กิเลสชาตหรือวัฏฏะที่ยังละไม่ได้. จิตของพระเสขะทั้งหลาย เป็นอันชื่อว่า
อันกิเลสชาตหรือวัฏฏะยังยึดมั่นอยู่เป็นต้น แต่ในที่นี้ จิตที่อันกิเลสชาต
หรือวัฏฏะชื่อว่าไม่ยึดมั่นเป็นต้น เพราะกิเลสและวัฏฏะท่านละได้แล้วโดย
ประการทั้งปวง อธิบายว่า พระอริยเจ้ามีจิตปราศจากความยึดมั่น คือ
ก้าวล่วงการยึดมั่นของกิเลสวัฏฏะ.
จบ อรรถกถาปฐมโนอาทิผิด สระอัสสาทสูตรที่ ๕

๖. ทุติยโนอัสสาทสูตร
ว่าด้วยการปฏิเสธคุณและโทษแห่งอายตนะ
[ ๑๘ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณแห่งรูปจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์
ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัดอาทิผิด สระในรูป แต่เพราะคุณแห่งรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์
ทั้งหลายจึงกำหนัดในรูป ถ้าโทษแห่งรูปจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลาย
ก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในรูป แต่เพราะโทษแห่งรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลาย
จึงเบื่อหน่ายในรูป ถ้าความสลัดออกแห่งรูปจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลาย
ก็จะไม่พึงสลัดออกจากรูป แต่เพราะความสลัดออกแห่งรูปมีอยู่ ฉะนั้น
สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ถ้าคุณแห่ง
ธรรมารมณ์จักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัดในธรรมารมณ์
 
๒๘/๑๘/๒๐

วันพฤหัสบดี, กุมภาพันธ์ 13, 2568

Pen Ton

 
อรรถกถาจักกวัตติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในจักกวัตติสูตรที่ ๒
ในบทว่า รญฺโญ ภิกฺขเว จกฺกวตฺติสฺส นี้ ชื่อว่า พระราชา
เพราะอรรถว่า ทรงยินดีในสิริสมบัติของพระองค์ หรือทรงให้พสกนิกร
ยินดีด้วยสังคหวัตถุ ๔ ชื่อว่า เจ้าจักรพรรดิ เพราะอรรถว่า สั่งการอยู่ด้วย
วาจาคล่องแคล่ว ยังจักรให้เป็นไปด้วยบุญญานุภาพว่า ขอจักรรัตนะจงแล่น
ไปตลอดภพ ดังนี้.
บทว่า ปาตุภาวา แปลว่า เพราะปรากฏ. บทว่า สตฺตนฺนํ แปลว่า
กำหนดการถือเอา. บทว่า รตนานํ ได้แก่ แสดงเรื่องที่กำหนด. ส่วน
ความหมายของคำในบทนี้ ชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่า ให้เกิดความยินดี.
อีกอย่างหนึ่งว่า
ที่เรียกว่า รัตนะ เพราะทำความ
เคารพ มีค่ามาก ชั่งไม่ได้ เห็นได้ยาก
เป็นของใช้ของสัตว์ผู้ไม่ทราม ดังนี้.
จำเดิมแต่จักรรัตนะบังเกิด ชื่อว่า เทวสถานอื่น ย่อมไม่มี. คน
ทั้งปวงกระทำการบูชาและอภิวาทเป็นต้น ซึ่งรัตนะนั้นอย่างเดียว ด้วยของ
หอมและดอกไม้เป็นต้นอาทิผิด สระ ดังนั้น จึงชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่า ทำความ
เคารพ ส่วนจักรรัตนะมีค่าหามิได้ เพราะทรัพย์ยังมีค่าประมาณเท่านี้ ดังนั้น
จึงชื่อว่า รัตนะ แม้เพราะอรรถว่า มีค่ามาก จักรรัตนะ ไม่เหมือนกับ
รัตนะที่มีอยู่ในโลกอย่างอื่น ดังนั้นจึงชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่า ชั่งไม่ได้.
ก็เพราะในกัปที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่อุบัติ พระเจ้าจักรพรรดิและพระ-
 
๓๐/๕๐๖/๒๖๓

วันพุธ, กุมภาพันธ์ 12, 2568

Yuet Thue

 
มิได้วิปริต ดังนี้ ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือ เป็นธรรมอัน
พระตถาคตละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสีย
แล้วติดไฟคือญาณ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า การถึงความตกลงในธรรม
ทั้งหลายแล้วถือมั่น.
[๓๒๘] คำว่า เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย ไม่ยึดอาทิผิด สระถือ มี
ความว่า เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย ย่อมไม่ถือ คือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือ
มั่นซึ่งทิฏฐิทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลายเราไม่พึงถือ ไม่พึงยึดมั่น
ไม่พึงถือมั่น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า และเราเห็นโทษในทิฏฐิ
ทั้งหลาย ไม่ยึดถือ.
อีกอย่างหนึ่ง เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายว่า ทิฏฐินี้ว่า โลกเที่ยง
สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ เป็นทิฏฐิรกเรี้ยว เป็นทิฏฐิเสี้ยนหนาม
เป็นทิฏฐิข้าศึก เป็นทิฏฐิดิ้นรน เป็นทิฏฐิเครื่องประกอบไว้ มีทุกข์ มี
ความลำบาก มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อ
หน่าย ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ไม่เป็น
ไปเพื่อความสงบ ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน จึงไม่ถือ ไม่ลูบคลำ ไม่ยึดมั่นซึ่งทิฏฐิทั้งหลาย
อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลายเราไม่พึงถือ ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึงถือมั่น
แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า และเราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย
ไม่ยึดถือ.
อีกอย่างหนึ่ง เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายว่า ทิฏฐินี้ว่า โดยโลก
เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพเป็นอื่นอาทิผิด สระ
 
๖๕/๓๒๘/๘๐๔

วันอังคาร, กุมภาพันธ์ 11, 2568

Wanon

 
ประโยชน์ทั่ว ๆ ไป ก็ฉันนั้น ไม่อาจประพฤติประโยชน์ นำความ
สุขมาให้ใครได้ ได้แต่ยังประโยชน์นั้นแหละให้เสื่อมไปเท่านั้น.
บุรุษผู้เป็นบัณฑิตนั้น ติเตียนวานรอาทิผิด อักขระจ่าฝูงด้วยคาถานี้แล้ว ก็พา
บริษัทของตนออกจากสวนไปด้วยประการฉะนี้.
แม้พระบรมศาสดา ก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เด็ก
ชาวบ้านคนนี้ มิใช่จะเพิ่งประทุษร้ายสวนในบัดนี้เท่านั้น ก็หา
มิได้ แม้ในกาลก่อน ก็ได้ประทุษร้ายสวนมาแล้วเหมือนกัน ครั้น
ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดก
ว่า วานรจ่าฝูงในครั้งนั้น มาเป็นเด็กชาวบ้าน ผู้ทำลายสวนใน
บัดนี้ ส่วนบุรุษผู้เป็นบัณฑิต ได้แก่ เราตถาคต ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาอารามทูสกAramadusakaชาดกที่ ๖
 
๕๖/๔๖/๓๗

วันจันทร์, กุมภาพันธ์ 10, 2568

Puthuchon

 
พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธ์แห่งพระอาทิตย์ ตรัส
ปุถุชนไว้ ๒ พวก คือ อันธปุถุชน ๑ กัลยาณ-
ปุถุชน ๑.

บรรดาปุถุชนที่กล่าวไว้แล้วทั้ง ๒ จำพวกนั้น อันธปุถุชน
พึงทราบว่า เป็นอันกล่าวไว้แล้ว. บทว่า ยถาภูตํ นปฺปชานาติ ความว่า
ปุถุชนอาทิผิด ผู้ไม่ได้สดับ ย่อมไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า ภวังคจิตนี้ ชื่อว่า
เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสทั้งหลายอันจรมาอย่างนี้ ชื่อว่า หลุดพ้น
แล้วอย่างนี้. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่ไม่รู้. บทว่า
จิตฺตภาวนา นตฺถิ ได้แก่ ความตั้งมั่นแห่งจิต การกำหนดจิตไม่มี.
ด้วยภาวะที่ไม่มีนั่นแลทรงแสดงว่า เรากล่าวว่าไม่มีดังนี้.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑

อรรถกถาสูตรที่ ๒

ในสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สุตวา ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยการศึกษา. ก็ในบทว่า
สุตวา นี้ เมื่อว่าโดยพิสดาร พึงทราบความโดยตรงกันข้ามกับ
บทว่า อสฺสุตวา.
บทว่า อริยสาวโก ได้แก่ พระอริยะที่ไม่เป็นพระสาวกก็มี
เช่นพระพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้า. พระสาวกที่ไม่เป็น
พระอริยะก็มี เช่นคฤหัสถ์ผู้ยังไม่บรรลุผล. ไม่เป็นทั้งพระอริยะ
 
๓๒/๖๑/๑๑๑

วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 09, 2568

Amnat

 
กรรมที่ต้องทำด้วยอนุสาวนา ๓ มีญัตติเป็นที่ ๔ อย่างนี้ คือ ญัตติ ๑
อนุสาวนา ๓ ตามอนุมัติของสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล
ชื่อว่าญัตติจตุตถกรรม.
บรรดากรรมเหล่านั้น อปโลกนกรรม พึงทำเพียงอปโลกน์, ไม่
ต้องทำด้วยอำนาจญัตติกรรมเป็นต้น. อนึ่ง ญัตติกรรม พึงทำตั้งญัตติอย่าง
เดียว, ไม่ต้องทำด้วยอำนาจอปโลกนกรรมเป็นต้น.
ส่วนญัตติทุติยกรรม ที่ต้องอปโลกน์ทำก็มี ไม่ต้องอปโลกน์ทำก็มี.
ใน ๒ อย่างนั้น กรรมหนัก ๖ อย่างนี้ คือ สมมติสีมา ถอนสีมา ให้ผ้า-
กฐิน รื้อกฐิน แสดงที่สร้างกุฎี แสดงที่สร้างวิหาร ไม่ควรอปโลกน์ทำ; พึง
สวดญัตติทุติยกรรมวาจาทำเท่านั้น.
กรรมเบาเหล่านี้ คือ สมมติ ๑๓ ที่เหลือ และสมมติมีการให้ถือ
เสนาสนะและให้มฤดกจีวรเป็นต้น ควรเพื่อทำทั้งอปโลกน์.
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า “แต่ญัตติทุติยกรรมนั้น ไม่ควรทำด้วยอำ-
นาจญัตติกรรมและญัตติจตุตถกรรมแท้. เมื่อทำด้วยอำนาจอาทิผิด อักขระญัตติจตุตถกรรม
ย่อมเป็นกรรมมั่นคงกว่า; เพราะเหตุนั่น ควรทำ.” คำของพระอาจารย์พวกนั้น
ได้ถูกค้านแล้วเสียว่า “ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ความสังกระแห่งกรรมย่อมมี เพราะ
เหตุนั้น จึงไม่ควรทำ.”
ก็ถ้าว่า กรรมนั้นเสียโดยอักขระก็ดี เสียโดยบทก็ดี มีบทที่สวดไม่ชัด
ก็ดีไซร้, การที่สวดซ้ำ ๆ เพื่อชำระกรรมนั้นก็ควร. การสวดซ้ำ ๆ นี้ เป็น
ทัฬหีกรรมของกรรมที่ไม่กำเริบ, คงคืนเป็นกรรมในกรรมที่กำเริบ.
 
๑๐/๑๓๖๖/๙๘๔

วันเสาร์, กุมภาพันธ์ 08, 2568

Prasong

 
ในที่สุด (รัชกาล) แห่งพระเจ้าวินทุสารนั้น พระเจ้าอโศกก็ขึ้นครองราชย์.
ในกาลก่อนแต่ทรงอภิเษก พระเจ้าอโศกนั้น ครองราชย์อยู่ ๔ ปี. ในปีที่ ๑๘
จากเวลาที่พระเจ้าอโศกทรงอภิเษกแล้ว พระมหินทเถระก็มายืนอยู่ที่เกาะนี้.
คำนี้ว่า พระมหินทเถระยืนอยู่ที่เกาะนี้ ในปีที่ ๒๓๖ พรรษา นับมาแต่ปีที่
สมเด็จพระสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบ ตามสายราชวงศ์
(ของพระราชาในชมพูทวีป) นั่น ดังพรรณนามา ฉะนี้.
[พระเจ้าเทวานัมปิยดิสทรงพบพระมหินทเถระ]
ก็ในวันนั้น ที่เกาะตัมพปัณณิทวีป มีงานนักษัตรฤกษ์ในเชษฐมาสต้น
(คือเดือน ๗). พระราชาทรงรับสั่งให้โฆษณานักษัตรฤกษ์ แล้วทรงบังคับ
พวกอำมาตย์ว่า พวกท่าน จงเล่นมหรสพเถิด ดังนี้ มีราชบุรุษจำนวนถึง
สี่หมื่นเป็นบริวาร เสด็จออกไปจากพระนคร มีพระประสงค์อาทิผิด จะทรงกีฬาล่าเนื้อ
จึงเสด็จไปโดยทางที่มิสสกบรรพตตั้งอยู่. เวลานั้น มีเทวดาตนหนึ่ง ซึ่งสิงอยู่
ที่บรรพตนั้น คิดว่า เราจักแสดงพระเถระทั้งหลาย แก่พระราชา จึงแปลง
เป็นตัวเนื้อละมั่งเที่ยวทำทีกินหญ้าและใบไม้อยู่ในที่ไม่ไกล (แต่พระเถระนั้น).
พระราชาทรงทอดพระเนตรเห็นเนื้อละมั่งตัวนั้นแล้ว จึงทรงดำริว่า บัดนี้
ยังไม่สมควรจะยิงเนื้อ ตัวที่ยังเลินเล่ออยู่ จึงทรงดีดสายธนู. เนื้อเริ่มจะหา
ทางหนี ๆ ไปทางที่กำหนดหมายด้วยต้นมะม่วง. พระราชาเสด็จติดตามไป
ข้างหลัง ๆ แล้วเสด็จขึ้นสู่ทางที่กำหนดด้วยต้นมะม่วงนั่นเอง. ฝ่ายมฤค ก็หายตัว
ไปในที่ไม่ไกลพระเถระทั้งหลาย. พระมหินทเถระเห็นพระราชากำลังเสด็จมา
ในที่ไม่ไกล จึงอธิษฐานใจว่า ขอให้พระราชาทอดพระเนตรเห็นเฉพาะเรา
เท่านั้น อย่าทอดพระเนตรเห็นพวกนอกนี้เลย จึงทูลทักว่า ติสสะ ติสสะ
 
๑/๑๒๖/๙

วันศุกร์, กุมภาพันธ์ 07, 2568

Nirotha

 
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค. แม้เสียงอย่างนี้ว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี ดังนี้ ก็
เป็นสีหนาทอีกประการหนึ่ง. ใจความของสีหนาทนั้น มีว่า เมื่อปัจจัย
มีอวิชชาเป็นต้นนี้มีอยู่ ผลมีสังขารเป็นต้นนี้ ก็มี. บทว่า อิทํ น โหติ
ความว่า เมื่อปัจจัยอวิชชาเป็นต้นไม่มี ผลมีสังขารเป็นต้นนี้ ก็ไม่มี.
บทว่า อิมสฺส อุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ ความว่า เพราะปัจจัยมีอวิชชา
เป็นต้นนี้เกิด ผลมีสังขารเป็นต้นนี้ก็เกิด. บทว่า อิมสฺมึ อสติ อิทํ
น โหติ ความว่า เมื่อปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นนี้ไม่มี ผลมีสังขารเป็นต้นนี้
ก็ไม่มี. บทว่า อิมสฺส นิโรธาอาทิผิด สระ อิทํ นิรุชฺฌติ ความว่า เพราะปัจจัย
มีอวิชชาเป็นต้นนี้ดับ ผลมีสังขารเป็นต้นนี้ก็ดับ.
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงอาการที่สิ่งนั้น มี [เกิด] และดับ โดย
พิสดาร จึงตรัสว่า ยทิทํ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เป็นต้น. บทว่า
เอวํ สฺวากฺขาโต ได้แก่ที่ทรงกล่าวไว้ด้วยดี คือตรัสไว้ดีแล้ว โดย
การจำแนกปัญจขันธ์เป็นต้น อย่างนี้. บทว่า ธมฺโม ได้แก่ธรรม คือ
ปัญจขันธ์และปัจจยาการ. บทว่า อุตฺตาโน ได้แก่ไม่คว่ำแล้ว. บทว่า
วิวโฏ ได้แก่เปิดตั้งไว้. บทว่า ปกาสิโต ได้แก่แสดงแล้ว ส่องให้สว่าง
แล้ว. ผ้าเก่า ที่ทะลุ ฉีก มีปมเย็บไว้ในที่นั้น ๆ เรียกกันว่า ปิโลติกา
ในคำว่า ฉินฺนปิโลติโก ผู้ใดไม่มีผ้าเก่านั้น นุ่งห่มแต่ผ้าใหม่ขนาด ๘
ศอก หรือ ๙ ศอก ผู้นั้น ชื่อว่า ฉินฺนปิโลติก ขาดผ้าเก่า ธรรมแม้นี้
ก็เป็นเช่นนั้น. ในธรรมนี้มิใช่มีภาวะคือสมณะดุจผ้าทะลุฉีกและมีปมที่เย็บ
ไว้ด้วยอำนาจหลอกลวงเขาเป็นต้น. อีกนัยหนึ่ง แม้ผ้าเล็ก ๆ ก็เรียก
ปิโลติกา [ผ้าเก่า ผ้าขี้ริ้ว ] ผู้ใดไม่มี ปิโลติกา นั้น แต่มีแต่ผ้าผืนใหญ่
ขนาด ๘-๙ ศอก ผู้นั้น ก็ชื่อว่า ฉินนปิโลติกะ ขาดผ้าเก่าผ้าขี้ริ้ว
 
๒๖/๖๗/๑๑๔

วันพฤหัสบดี, กุมภาพันธ์ 06, 2568

Khoma

 
ครั้นท่านได้รับตำแหน่งอันเลิศนั้นอย่างนี้แล้ว จึงได้ระลึกถึงบุพ-
กรรมของตน ได้รับความโสมนัส เมื่อจะประกาศอ้างถึงข้อประพฤติของ
พระพุทธเจ้า จึงกล่าวคาถาเป็นต้นว่า ปทุมุตฺตรสฺส ภควโต ดังนี้. บทว่า
วตฺถํ โขมํ มยา ทินฺนํ ความว่า ผ้าที่เกิดในแคว้นโขมะอาทิผิด อักขระ คือเรามีจิต
เลื่อมใส มีความเคารพนับถือมาก ในพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้น้อมถวาย
ผ้าโขมะอาทิผิด อักขระที่มีเนื้อละเอียดอ่อนยิ่งนัก. บทว่า สยมฺภุสฺส ความว่า พระองค์
นั่นแล เป็นแล้ว เกิดแล้ว คือนิพพานแล้วโดยอริยชาติ. บทว่า มเหสิโน
เชื่อมความว่า ชื่อว่า มเหสี เพราะอรรถว่า ค้นหา แสวงหา กองศีล
กองสมาธิ กองปัญญา กองวิมุตติ และกองวิมุตติญาณทัสสนะอย่างใหญ่
หลวงได้, เราได้ถวายผ้าโขมะเพื่อประโยชน์แก่การทำเป็นจีวร แด่พระ-
สยัมภูผู้แสวงหากองแห่งสาระคุณอันใหญ่นั้นแล้ว.
บทว่า ตํ ในบทว่า ตํ เม พุทโธ วิยากาสิ นี้ เป็นทุติยาวิภัตติ
ใช้ลงในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติ, อธิบายว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงกระทำ คือ
ตรัสแล้วโดยพิเศษ ถึงผลทานของเราผู้ถวายผ้านั้น. บทว่า ชลชุตฺตม-
นามโก ได้แก่ มีพระนามว่า ปทุมุตตระ. ปาฐะว่า ชลรุตฺตมนายโก
ดังนี้ก็มี, ความแห่งปาฐะนั้นว่า ผู้นำชั้นยอด คือประธานแห่งหมู่เทวดา
และพรหมทั้งหลายผู้รุ่งเรืองอาทิผิด อาณัติกะ. บทว่า อิมินา วตฺถทาเนน ความว่า ด้วย
ผลแห่งการถวายผ้า ในอนาคตกาล เธอจักเป็นผู้มีวรรณะเพียงดัง
ทองคำ.
บทว่า เทฺว สมฺปตฺตึ อนุโภตฺวา ได้แก่ ได้เสวยสมบัติทั้งสอง คือ
ทิพยสมบัติ และมนุษยสมบัติ. บทว่า กุสลมูเลหิ โจทิโต ความว่า
เป็นผู้อันส่วนแห่งกุศลตักเตือนแล้ว คือส่งไปแล้ว ได้แก่ คล้าย ๆ กับ
 
๗๑/๑๕/๑๕

วันพุธ, กุมภาพันธ์ 05, 2568

Khoi

 
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแผ่เมตตาจิตไปยังโรชะมัลลกษัตริย์
แล้วทรงลุกจากที่ประทับเสด็จเข้าพระวิหาร ครั้นโรชะมัลลกษัตริย์ อันพระ-
เมตตาจิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าถูกต้องแล้ว ได้เที่ยวค้นหาตามวิหาร ตาม
บริเวณทั่วทุกแห่งดุจโคแม่อาทิผิด อักขระลูกอ่อน แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ท่านเจ้าข้า
เวลานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประทับ อยู่
ที่ไหน เพราะข้าพเจ้าใคร่จะเฝ้าพระองค์
ภิกษุทั้งหลายถวายพระพรว่า ท่านโรชะ พระวิหารนั่นเขาปิดพระ-
ทวารเสียแล้ว ขอท่านโปรดสงบเสียง เสด็จเข้าไปทางพระวิหารนั้น ค่อยอาทิผิด อักขระ
ย่องเข้าไปที่หน้ามุข ทรงกระแอมแล้วทรงเคาะพระทวารเถิด พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจักทรงเปิดพระทวารรับท่าน ถวายพระพร.

โรชะมัลลกษัตริย์ได้ธรรมจักษุ
ขณะนั้น โรชะมัลลกษัตริย์ทรงสงบเสียง เสด็จเข้าไปทางพระวิหาร
ซึ่งปิดพระทวารเสียแล้วนั้น ค่อย ๆ ย่องเข้าไปที่หน้ามุข ทรงกระแอมแล้ว
เคาะบานพระทวาร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปิดพระทวารรับ จึงโรชะมัลล-
กษัตริย์เสด็จเข้าพระวิหาร ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วประทับนั่งเฝ้า
อยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่โรชะ-
มัลลกษัตริย์ คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา ซึ่งโทษแห่ง
กามอันต่ำทรามอันเศร้าหมอง และอานิสงส์ในความออกจากกาม ขณะเมื่อ
พระองค์ทรงทราบว่าโรชะมัลลกษัตริย์มีจิตคล่อง มีจิตอ่อน มีจิตปราศจาก
นิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา ที่
พระพุทธเจ้าทั้งหลายยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
 
๗/๘๘/๑๕๕

วันอังคาร, กุมภาพันธ์ 04, 2568

Mai Dai

 
ในการสมมติสีมานั้น ความคาบเกี่ยวกันและความทับกันจะมีได้ด้วย
ลักษณะอย่างใด, ลักษณะทั้งปวงนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวเสร็จแล้วในอุโบสถ
ขันธกะ.
สีมาทั้ง ๑๑ อย่างนี้ ไม่จัดเป็นสีมา เป็นเท่ากับคามเขตเท่านั้น. กรรม
ที่สงฆ์นั่งทำในสีมาเหล่านั้น ย่อมเสีย ด้วยประการฉะนี้. เพราะเหตุนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า กรรมย่อมวิบัติโดยสีมา ด้วยอาการ ๑๑ เหล่านี้.

[กรรมวิบัติโดยปริสะ]
อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในวิบัติแห่งกรรมโดยปริสะ ดังต่อไปนี้ :-
ไม่มีคำน้อยหนึ่งที่จัดว่าไม่ตื้น.
ลักษณะของภิกษุผู้เข้ากรรมและภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะ ในกรรมวิบัติ
โดยปริสะนั้น ที่ข้าพเจ้าควรกล่าวก็มีบ้าง แต่ท่านได้กล่าวไว้ข้างหน้าแล้วแล
โดยนัยเป็นต้นว่า จตฺตาโร ภิกฺขู ปกตตฺตา กมฺมปฺปตฺตา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ปกตตฺตา กมฺมปฺปตฺตา มีความว่า
ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุ ๔ รูปผู้มีตนเป็นปกติ คือ ผู้อันสงฆ์มิได้
ยกวัตร อันสงฆ์มิได้ลงโทษ ผู้มีศีลบริสุทธิ์ ภิกษุ ๔ รูป ผู้เข้ากรรม คือ
ผู้ควร ผู้สมควร ได้แก่เป็นเจ้าของแห่งกรรม. กรรมนั้น เว้นพวกเธอเสีย
ย่อมทำไม่ได้อาทิผิด อาณัติกะ. ฉันทะก็ดี ปาริสุทธิก็ดี ของพวกเธอยังไม่มา. ฝ่ายภิกษุที่เหลือ
ถ้าแม้มีประมาณพันรูป. ถ้าว่าเป็นสมานสังวาสก์ ย่อมเป็นผู้ควรแก่ฉันทะ
ทั้งหมดทีเดียว. พวกเธอมอบฉันทะและปาริสุทธิแล้ว จะมาหรือไม่มาก็ตาม.
ส่วนกรรมคงตั้งอยู่.
 
๑๐/๑๓๖๖/๙๙๕

คลังบทความของบล็อก