วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 09, 2568

Amnat

 
กรรมที่ต้องทำด้วยอนุสาวนา ๓ มีญัตติเป็นที่ ๔ อย่างนี้ คือ ญัตติ ๑
อนุสาวนา ๓ ตามอนุมัติของสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล
ชื่อว่าญัตติจตุตถกรรม.
บรรดากรรมเหล่านั้น อปโลกนกรรม พึงทำเพียงอปโลกน์, ไม่
ต้องทำด้วยอำนาจญัตติกรรมเป็นต้น. อนึ่ง ญัตติกรรม พึงทำตั้งญัตติอย่าง
เดียว, ไม่ต้องทำด้วยอำนาจอปโลกนกรรมเป็นต้น.
ส่วนญัตติทุติยกรรม ที่ต้องอปโลกน์ทำก็มี ไม่ต้องอปโลกน์ทำก็มี.
ใน ๒ อย่างนั้น กรรมหนัก ๖ อย่างนี้ คือ สมมติสีมา ถอนสีมา ให้ผ้า-
กฐิน รื้อกฐิน แสดงที่สร้างกุฎี แสดงที่สร้างวิหาร ไม่ควรอปโลกน์ทำ; พึง
สวดญัตติทุติยกรรมวาจาทำเท่านั้น.
กรรมเบาเหล่านี้ คือ สมมติ ๑๓ ที่เหลือ และสมมติมีการให้ถือ
เสนาสนะและให้มฤดกจีวรเป็นต้น ควรเพื่อทำทั้งอปโลกน์.
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า “แต่ญัตติทุติยกรรมนั้น ไม่ควรทำด้วยอำ-
นาจญัตติกรรมและญัตติจตุตถกรรมแท้. เมื่อทำด้วยอำนาจอาทิผิด อักขระญัตติจตุตถกรรม
ย่อมเป็นกรรมมั่นคงกว่า; เพราะเหตุนั่น ควรทำ.” คำของพระอาจารย์พวกนั้น
ได้ถูกค้านแล้วเสียว่า “ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ความสังกระแห่งกรรมย่อมมี เพราะ
เหตุนั้น จึงไม่ควรทำ.”
ก็ถ้าว่า กรรมนั้นเสียโดยอักขระก็ดี เสียโดยบทก็ดี มีบทที่สวดไม่ชัด
ก็ดีไซร้, การที่สวดซ้ำ ๆ เพื่อชำระกรรมนั้นก็ควร. การสวดซ้ำ ๆ นี้ เป็น
ทัฬหีกรรมของกรรมที่ไม่กำเริบ, คงคืนเป็นกรรมในกรรมที่กำเริบ.
 
๑๐/๑๓๖๖/๙๘๔

ไม่มีความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก