ทิสา สมนฺตา มภิธาวยนฺติ
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
ฝูงเนื้อนานาชนิด เกลื่อนกลาดอาทิผิด อักขระ ยกหูชูชัน เบิ่งตา
น่าชื่นใจ พากันวิ่งไปรอบทิศ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็น
สมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๑๑. มนุญฺญภูตา จ มหี สมนฺตา
วิราชมานา หริตา ว สทฺทลา
สุปุปฺผิรุกฺขา โมฬินิวลงฺกตา
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
แผ่นปฐพีมีหญ้าแพรกขึ้นเขียวขจีส่องประกาย
โดยรอบน่าชื่นใจ ต้นไม้ดอกบานงาม ก็ประดับดุจ
โมลี ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระ-
อังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า
๑๒. สุสชฺชิตา มุตฺตมยาว วาลุกา
สุสณฺฐิตา จารุสุผสฺสทาตา
วิโรจนยนฺเตว ทิสา สมนฺตา
สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.
ทรายทั้งหลาย ดูดังมุกดาอันธรรมดาจัดแต่งไว้
ทรวดทรงงามให้สัมผัสดีดังทอง ส่องแสงสกาว
รอบทิศ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ
พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๗๓/๑/๖๖

แห้งก็จะพึงลุกโพลง ถ้าคนทำบุญได้โดยเอาไม้และ
หญ้าให้ไฟกิน คนเผาถ่าน คนหุงเกลือ พ่อครัว และ
คนเผาศพ ก็พึงทำบุญได้ ถ้าแม้พราหมณ์เหล่านี้ทำ
บุญได้เพราะการเลี้ยงไฟ เพราะเรียนมนต์เพราะเลี้ยง
ไฟให้อิ่มหนำ ในโลกนี้ใคร ๆ ผู้เอาของให้ไฟกินจะ
ชื่อว่าทำบุญหาได้ไม่ เพราะเหตุอย่างไรเล่า เพราะไฟ
เป็นผู้อันโลกยำเกรง รู้รส ๒ อย่าง พึงกินได้มากทั้ง
ของเหม็นมีกลิ่นอันไม่น่าฟูใจ คนเป็นอันมากไม่ชอบ พวก
มนุษย์ละเว้น และเป็นของไม่ประเสริฐ คนบางพวก
นับถือไฟเป็นเทวดา ส่วนพวกมิลักขุนับถือน้ำเป็น
เทวดา ทั้งหมดนี้พูดผิด ไฟและน้ำไม่ใช่เทพเจ้าตน
ใดตนหนึ่ง โลกบำเรอไฟ ซึ่งไม่มีอินทรีย์อาทิผิด สระ ไม่มีกายที่
จะรู้สึกได้ ส่องแสงสว่าง เป็นเครื่องทำการงานของ
ประชาชน เมื่อยังทำบาปกรรมอยู่ จะพึงไปสุคติได้
อย่างไร พวกพราหมณ์ผู้ต้องการเลี้ยงชีวิตในโลกนี้
กล่าวว่า พระพรหมครอบงำอาทิผิด อักขระได้ทั้งหมด และว่าพระ-
พรหมบำเรอไฟ พระพรหมมีอานุภาพกว่าทุกสิ่ง และ
มีอำนาจ ไม่มีใครสร้างกลับไปไหว้ไฟที่ตนสร้างเพื่อ
ประโยชน์อะไร คำของพวกพราหมณ์น่าหัวเราะเยาะ
ไม่ควรแก่การเพ่งเล็ง ไม่เป็นความจริง พวกพราหมณ์
ในปางก่อนก่อขึ้นไว้ เพราะเหตุแห่งสักการะ พรา-
หมณ์เหล่านั้น เมื่อลาภและสักการะเกิดขึ้น จึงร้อย
กรองยัญพิธีว่าเป็นธรรมสงบระงับ ด้วยการฆ่าสัตว์
๖๔/๗๗๑/๒๐

๔. เสียงที่อาฬวกอาทิผิด อักขะยักษ์ยืนบนยอดเขาไกลาสประกาศว่า เรา คือ
อาฬวกะ.
ก็ในกาลนั้น เสียงนั้นก็เป็นเช่นกับเสียงที่ยักษ์ยืนที่ประตู ๆ ในชมพู-
ทวีปทั้งสิ้นประกาศก้อง และแม้หิมวันตประเทศ ซึ่งมีส่วนกว้างสามพันโยชน์
ก็หวั่นไหวด้วยอานุภาพของยักษ์ อาฬวกยักษ์นั้นก่อลมหมุนให้ตั้งขึ้นด้วยคิดว่า
เราจักให้สมณะหนีไปด้วยลมนั้นนั่นเทียว ลมอันต่างด้วยลมทางทิศตะวันออก
เป็นต้นเหล่านั้น ตั้งขึ้นแล้ว ก็ทำลายยอดภูเขาทั้งหลาย ซึ่งมีประมาณกึ่งโยชน์
๒ โยชน์ ๓ โยชน์ ถอนรากถอนโคนกอไม้และต้นไม้ในป่าเป็นต้น พุ่งตรง
ไปยังอาฬวินคร ทำสถานที่ทั้งหลายมีโรงช้างเก่าเป็นต้นให้แหลกลาญอาทิผิด อักขะ พัดผัน
หลังคาและอิฐให้ลอยละลิ่วไปในอากาศ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิษฐานว่า ขอ
ภัยพิบัติจงอย่ามีแก่ใคร ๆ ลมเหล่านั้นพัดถึงพระทศพลแล้ว ไม่สามารถทำแม้
สักว่าชายจีวรให้หวั่นไหวได้.
แต่นั้น อาฬวกยักษ์ก็ทำฝนห่าใหญ่ให้ตกลง ด้วยคิดว่า เราจักให้
น้ำท่วมให้สมณะตาย ฝนทั้งหลายอันต่างด้วยก้อนเมฆ ตั้งร้อยตั้งพันเป็นต้น
ก่อตัวขึ้นแล้วก็ตกลงมา ด้วยความเร็วของกระแสน้ำฝน แผ่นดินก็เป็นช่อง ๆ
ต่อแต่นั้น มหาเมฆก็มาเบื้องบนของราวป่า ก็ไม่อาจที่จะทำแม้สักว่า หยาด-
น้ำค้างให้เปียกที่จีวรของพระทศพลได้.
ต่อแต่นั้น อาฬวกยักษ์ก็ทำฝนแผ่นหินให้ตกลงมา ยอดเขาใหญ่ ๆ
พ่นควันลุกโพลงมาทางอากาศ ถึงพระทศพลแล้ว ก็กลายเป็นดอกไม้ทิพย์
และพวงดอกไม้ทิพย์ แต่นั้น ก็ทำฝนเครื่องประหารให้ตกลงมา อาวุธทั้งหลาย
๔๖/๓๑๑/๔๕๒

ทรงฉลาดในเทศนา เมื่อจะทรงแสดงบุคคลผู้กระทำก่อน จึงตรัสบทนี้ว่า
บุคคลย่อมกระทำกรรมอันลามก. ในบททั้งหลายนั้น บทว่า ถึงฉันทาคติ
ความว่า ถึงอคติ ด้วยความพอใจ คือด้วยความรัก กระทำสิ่งไม่ควรทำ.
แม้ในบทอื่นก็มีนัยนี้แล. ในบททั้งหลายนั้น ผู้ใดทำผู้ไม่เป็นเจ้าของให้
เป็นเจ้าของ ด้วยสามารถความพอใจว่า ผู้นี้เป็นมิตรของเรา เป็นผู้ชอบพอ
กับเรา เป็นผู้คบหากันมา เป็นญาติสนิทของเรา หรือให้ของขวัญแก่เรา
ดังนี้ ผู้นี้ถึงฉันทาคติ ชื่อว่าย่อมทำกรรมอันลามก. ผู้ใดกระทำผู้ไม่เป็น
เจ้าของให้เป็นเจ้าของด้วยสามารถมีเวรกันเป็นปกติว่า ผู้นี้เป็นผู้มีเวรกับ
เราดังนี้ หรือด้วยสามารถความโกรธอันเกิดขึ้นในขณะนั้น ผู้นี้ถึงโทสาคติ
ชื่อว่าย่อมทำกรรมอันลามก. อนึ่ง ผู้ใด เพราะความเป็นผู้มีปัญญาอ่อน
เพราะความเป็นผู้โง่ทึบ พูดไม่เป็นเรื่อง กระทำผู้ไม่เป็นเจ้าของให้เป็น
เจ้าของ ผู้นี้ถึงโมหาคติ ชื่อว่าย่อมกระทำกรรมอันลามก. อนึ่ง ผู้ใดกลัวว่า
ผู้นี้เป็นราชวัลลภหรือเป็นผู้อาศัยอยู่กับศัตรู พึงทำความฉิบหายแก่เราดังนี้
แล้วอาทิผิด ทำผู้ไม่เป็นเจ้าของให้เป็นเจ้าของ ผู้นี้ถึงภยาคติ ชื่อว่าย่อมทำกรรม
อันลามก. อนึ่ง ผู้ใด เมื่อแบ่งของอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมให้ของเกิน
เป็นพิเศษ ด้วยสามารถความรักว่า ผู้นี้เป็นเพื่อนของเราหรือร่วมกินร่วม
นอนกับเรา ย่อมให้ของพร่องลงไปด้วยสามารถความโกรธว่า ผู้นี้เป็นศัตรู
ของเราดังนี้ เพราะความโง่เขลา ไม่รู้ของที่ให้แล้วและยังไม่ให้ ย่อมให้
ของพร่องแก่บางคน ให้ของมากแก่บางคนกลัวว่าผู้นี้เมื่อเราไม่ให้สิ่งนี้ พึง
ทำแม้ความฉิบหายแก่เรา ย่อมให้ของเกินเป็นพิเศษแก่บางคน ผู้นั้นแม้
เป็นผู้มีอคติ ๔ อย่างนี้ ก็ถึงอคติมีฉันทาคติเป็นต้นตามลำดับ ชื่อว่าย่อม
๑๖/๒๐๖/๙๙

ความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น กิเลสทั้งปวงของพระโยคี
ผู้เสวยเวทนาอยู่ ย่อมสิ้นไป ก่อรากขึ้นไม่ได้ฉันใด
ผู้นั้นเป็นผู้มีสติประพฤติอยู่ก็ฉันนั้น ทุกข์ย่อมไม่เป็นไป
แก่ผู้นั้น ผู้ไม่คำนึงถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสผู้นั้นว่า มีในที่ใกล้พระนิพพาน.
ผู้ใดได้ดมกลิ่นแล้ว เป็นผู้มีสติเฉพาะหน้า ผู้นั้นไม่
กำหนัดยินดีในกลิ่น เป็นผู้มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์
อยู่ ทั้งไม่ยึดมั่นกลิ่นนั้น กิเลสชาติมีอภิชฌาเป็นต้น ย่อม
ไม่เป็นไปแก่พระอาทิผิด สระโยคีผู้ดมกลิ่นโดยความเป็น
ของไม่เที่ยงเป็นต้น หรือแม้กิเลสทั้งปวงของพระโยคี
ผู้เสวยเวทนาอยู่ย่อมสิ้นไป ก่อรากขึ้นไม่ได้ฉันใด ผู้นั้น
เป็นผู้มีสติประพฤติอยู่ฉันนั้น ทุกข์ย่อมไม่เป็นไปแก่
ผู้นั้น ผู้ไม่คำนึงถึงอยู่อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ผู้นั้นว่า มีในที่ใกล้พระนิพพาน.
ผู้ใดได้ลิ้มรสแล้ว เป็นผู้มีสติเฉพาะหน้า ผู้นั้นไม่
กำหนัดยินดีในรส เป็นผู้มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์
อยู่ ทั้งไม่ยึดมั่นรสนั้น กิเลสชาติมีอภิชฌาเป็นต้น ย่อม
ไม่เป็นไปแก่พระโยคีผู้ลิ้มรส ความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นต้น กิเลสทั้งปวงของพระโยคีผู้เสวยเวทนาอยู่ย่อม
สิ้นไป ก่อรากขึ้นไม่ได้ฉันใด ผู้นั้นเป็นผู้มีสติประพฤติ
อยู่ก็ฉันนั้น ทุกข์ย่อมไม่เป็นไปแก่ผู้นั้น ผู้ไม่คำนึงถึง
อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสผู้นั้นว่า มีในที่ใกล้
พระนิพพาน.
๕๓/๓๘๙/๗๙
อรรถกถาอากาสกถา
ว่าด้วย อากาศ
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอากาศ. ในเรื่องนั้น อากาศมี ๓ อย่าง คือ ปริจเฉ-
ทากาส คือช่องว่างอันเป็นที่กำหนด กสิณุคฆาฏิมากาส คือช่องว่างที่
เพิกขึ้นของกสิณ และอชฏากาส คือช่องว่างของท้องฟ้า แม้คำว่า ตุจฉากาสอาทิผิด อักขระ
คือช่องว่างอันว่างเปล่า ก็เป็นชื่อของอชฏากาสนั้นนั่นแหละ. บรรดา
อากาศเหล่านั้น ปริจเฉทากาส คือของว่างที่คั่นอยู่ระหว่างรูปกับรูป เป็น
สังขตะ ส่วนอากาศที่เหลือแม้ทั้ง ๒ นี้สักว่าเป็นบัญญัติ.
ก็ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะ และ
มหิสาสกะทั้งหลายว่า อากาศแม้ทั้ง ๒ คือกสิณุคฆาฏิมากาส และอชฏากาสอาทิผิด อักขระ
ไม่ใช่สังขตะ เหตุใด เพราะเหตุนั้น จึงเป็นอสังขตะ ดังนี้ คำถามของ
สกวาทีว่า อากาศ เป็นต้น หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ
ปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
อรรถกถาอากาสกถา จบ
๘๑/๑๑๑๒/๓๑

พระยายมกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ ท่านไม่ได้ทำความดี
ทางกาย ทางวาจา และทางใจไว้ เพราะมัวประมาทเสีย ดังนั้น เหล่านาย
นิรยบาลจักลงโทษโดยอาการที่ท่านประมาทแล้ว ก็บาปกรรมนั้นแล ไม่ใช่
มารดาทำให้ท่าน ไม่ใช่บิดาทำให้ท่าน ไม่ใช่พี่น้องชายทำให้ท่าน ไม่ใช่พี่น้อง
หญิงทำให้ท่าน ไม่ใช่มิตรอำมาตย์ทำให้ท่าน ไม่ใช่ญาติสาโลหิตทำให้ท่าน
ไม่ใช่สมณะและพราหมณ์ทำให้ท่าน ไม่ใช่เทวดาทำให้ท่าน ตัวท่านเองทำเข้า
ไว้ ท่านเท่านั้นจักเสวยวิบากของบาปกรรมนี้.
[๕๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระยายมครั้นปลอบโยน เอาอกเอาใจ
ไต่ถามถึงเทวทูตที่ ๑ กะสัตว์นั้นแล้ว จึงปลอบโยน เอาอกเอาใจ ไต่ถาม
เทวทูตที่ ๒ ว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ ท่านไม่ได้เห็นเทวทูตที่ ๒ ปรากฏใน
หมู่มนุษย์หรือ.
สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่เห็นเลย เจ้าข้า.
พระยายมถามอย่างนี้ว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ ท่านไม่ได้เห็นหญิงหรือ
ชายมีอายุ ๘๐ ปี ๙๐ ปี หรือ ๑๐๐ ปี นับแต่เกิดมา ผู้แก่ ซี่โครงคด หลังงอ
ถือไม้เท้า งกเงิ่น เดินไป กระสับกระส่าย ล่วงวัยหนุ่มสาว ฟันหัก ผมหงอก
หนังย่น ศีรษะล้าน เหี่ยว ตัวตกกระ ในหมู่มนุษย์หรือ.
สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า เห็น เจ้าข้า.
พระยายมถามอย่างนี้ว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ ท่านนั้นรู้ความ มีสติ
เป็นผู้ใหญ่อาทิผิด อาณัติกะแล้ว ได้มีความดำริดังนี้บ้างไหมว่า แม้ตัวเราแล ก็มีความแก่เป็น
ธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ควรที่เราจะทำความดีทางกาย ทางวาจา
และทางใจ.
สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่อาจ เจ้าข้า มัวประมาทเสีย เจ้าข้า.
๒๓/๓๙๖/๙๑

หาภิกษาได้ยาก. ในธรรมสังคณีมาแล้วโดยลิงค์ว่า ทิฏฐิกนฺตาโร (กันดาร
ด้วยทิฏฐิ) ชื่อว่าทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม เพราะอรรถว่าเสียดแทงและตรงข้าม
กับสัมมาทิฏฐิ.
จริงอยู่ การเห็นผิดย่อมเจาะทะลุและตรงข้ามกับการเห็นชอบซึ่ง
เกิดขึ้น. ในธรรมสังคณีอาทิผิด สระมาแล้วว่า เป็นข้าศึกของทิฏฐิ. ชื่อว่า ทิฏฐิวิบัติ
เพราะเป็นทิฏฐิปรวนแปรผิดรูปโดยที่บางครั้งถือเอาสัสสตทิฏฐิ บางครั้งถือเอา
อุจเฉททิฏฐิ.
จริงอยู่ เจ้าทิฏฐิไม่สามารถตั้งอยู่ในทิฏฐิเดียวได้ บางครั้งระลึกถึง
สัสสตทิฏฐิ บางครั้งระลึกถึงอุจเฉททิฏฐิ. ชื่อว่าทิฏฐิเป็นสังโยชน์ เพราะทิฏฐิ
นั่นแลประกอบในสิ่งไม่เป็นประโยชน์.
ชื่อว่าทิฏฐิเป็นลูกศร เพราะทิฏฐินั่นแล ชื่อว่าเป็นลูกศร เพราะ
อรรถว่า เจาะเข้าไปในภายใน และเพราะอรรถว่า นำออกได้ยาก.
ชื่อว่าทิฏฐิเป็นความคับแคบ เพราะทิฏฐินั่นแล ชื่อว่าคับแคบ เพราะ
ทำการบีบคั้น.
ชื่อว่าทิฏฐิเป็นเครื่องกังวล เพราะทิฏฐินั่นแล ชื่อว่าเป็นเครื่องกังวล
เพราะปิดกั้นความพ้น.
ชื่อว่าทิฏฐิเป็นเครื่องผูกพัน เพราะทิฏฐินั่นแล ชื่อว่าเป็นเครื่องผูกพัน
เพราะแก้ได้ยาก.
ชื่อว่าทิฏฐิเป็นเหว เพราะทิฏฐินั่นแล ชื่อว่าเป็นเหว เพราะขึ้น
ได้ยาก.
ชื่อว่าทิฏฐิเป็นอนุสัย เพราะทิฏฐินั่นแล ชื่อว่าเป็นอนุสัย เพราะไป
ด้วยเรี่ยวแรง.
๖๙/๓๖๑/๔๔
บทว่า อภินิสีทิตํ มีความว่า (เราอนุญาต) เพื่อภิกษุนั่งทับ คือ
พิงได้.
วินิจฉัยในข้อว่า คิลาเนน ภิกฺขุนา สอุปาหเนน นี้ พึงทราบ
ดังนี้:-
ภิกษุใดจัดว่าผู้อาพาธไม่สวมรองเท้า ไม่สามารถจะเข้าบ้านได้.
เรื่องพระโสณกุฏิกัณณะ
บทว่า กุรรฆเร ได้แก่ ในเมืองมีชื่ออย่างนั้น, โคจรคามอาทิผิด อักขระของพระ-
มหากัจจายนะนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ กล่าวด้วยบทว่า กุรรฆเร นั้น.
สองบทว่า ปปาเต ปพฺพเต ได้แก่ ที่ภูเขาปปาต. สถานเป็นที่
อยู่ของท่าน พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวด้วยสองบทว่า ปปาเต ปพฺพเต
นั้น.
คำว่า โสณะ เป็นชื่อของอุบาสกนั้น. ก็แลอุบาสกนั้นทรงเครื่อง
ประดับหูมีราคาโกฏิหนึ่ง เพราะฉะนั้น จึงเรียกกันว่า กุฏิกัณณะ ความว่า
โกฏิกัณณะ.
บทว่า เอกเสยฺยํ ได้แก่ การนอนของบุคคลผู้เดียว ความว่า
พรหมจรรย์ ประกอบด้วยการเป็นที่ประกอบความเพียรเนือง ๆ.
บทว่า ปาสาทิกํ ได้แก่ ให้เกิดความเลื่อมใส.
บทว่า ปสาทนียํ นี้ เป็นคำกล่าวซ้ำเนื้อความของบทว่า ปาสาทิกํ
นั้นแล.
บทว่า อุตฺตมทมถสมถํ ได้แก่ ความฝึกและความสงบคือปัญญาและ
สมาธิอันอุดม, ความว่า ความสงบกายและสงบจิตดังนี้ ก็ได้.
๗/๒๔/๕๓

ติณชาติอาทิผิด อักขระและธัญชาติที่เข้าถึงซึ่งความเป็นสิ่งอันบุคคลขจัด (เปลือก
ออกเสียแล้ว) หรือว่าเลือกเอาแต่รวงทั้งหลายแล้วถือเอา ชื่อว่า ข้าวฟ่าง
ในคาถานั้น อนึ่ง ลูกเดือย (จิงฺคูลกา) มีรวงซึ่งมีสัณฐานเหมือนดอกกณวีระ.
ถั่วเขียว (จีนกานิ) ซึ่งเขาปลูกแล้ว เกิดขึ้นที่เชิงเขาในดง ชื่อว่า
จีนกานิ.
ใบไม้ (สีเขียว) อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปตฺตปฺผลํ.
เผือกมันอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มูลปฺผลํ.
ผลไม้และผลเถาวัลย์อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ควิปฺผลํ.
อีกประการหนึ่ง เผือกมัน ท่านถือเอาด้วยศัพท์ว่า มูล.
ผลไม้และผลแห่งเถาวัลย์ ท่านถือเอาด้วยศัพท์ว่า ผล.
ผลแห่งกระจับและแห้วเป็นต้น ซึ่งเกิดในน้ำ ท่านถือเอาด้วยศัพท์ว่า
ควิปฺผล.
สองบทว่า ธมฺเมน ลทฺธํ ความว่า ละมิจฉาชีพ มีการเป็นทูต
รับใช้ และการไปสื่อข่าว แล้วได้มาด้วยการท่องเที่ยวขอเขาเลี้ยงชีพ.
พระอริยเจ้าทั้งหลายผู้สงบ ชื่อว่า สตํ.
บทว่า อสมานา ได้แก่ บริโภคอยู่.
ด้วยบาทพระคาถาว่า น กามกามา อลิกํ ภณนฺติ ฤๅษีย่อม
แสดงถึงการติเตียนต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยการสรรเสริญฤๅษีทั้งหลายว่า
ฤๅษีทั้งหลายเหล่านั้น ไม่ยึดถือของของตน บริโภคอยู่ซึ่งข้าวฟ่างเป็นต้นเหล่านั้น
อยู่อย่างนี้ ย่อมไม่พูดคำเหลาะแหละเพราะปรารถนากาม คือว่าปรารถนากาม
๔๗/๓๑๕/๙๓

๙. เรื่องพรานเบ็ดชื่ออริยะ [๒๐๒]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพรานเบ็ด
ชื่ออริยะคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า “น เตน อริโย โหติ”
เป็นต้น.
พรานเบ็ดต้องการให้พระศาสดาตรัสเรียกตนว่าอริยะ
ความพิสดารว่า วันหนึ่ง พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยแห่งโสดา-
ปัตติมรรคของนายอริยะนั้น เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในบ้านใกล้ประตูด้านทิศ
อุดร แห่งกรุงสาวัตถี อันภิกษุสงฆ์แวดล้อม เสด็จมาแต่บ้านนั้น. ขณะนั้น
พรานเบ็ดนั้นตกปลาอยู่ด้วยเบ็ด เห็นภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
ได้ทิ้งอาทิผิด สระคันเบ็ดยืนอยู่แล้ว.
พระศาสดาเสด็จกลับ ประทับยืนอยู่ ณ ที่ไม่ไกลพรานเบ็ดนั้น ตรัส
ถามชื่อของพระสาวกทั้งหลาย มีพระสารีบุตรเถระเป็นต้นว่า “ เธอชื่อไร ?
เธอชื่อไร ?” แม้พระสาวกเหล่านั้น ก็กราบทูลชื่อของตน ๆว่า “ ข้า-
พระองค์ชื่อสารีบุตร, ข้าพระองค์ชื่อโมคคัลลานะ” เป็นต้น. พรานเบ็ด
คิดว่า “ พระศาสดาย่อมตรัสถามชื่อสาวกทุกองค์, เห็นจักตรัสถามชื่อของ
เราบ้าง.”
ลักษณะผู้เป็นอริยะและไม่ใช่อริยะ
พระศาสดาทรงทราบความปรารถนาของพรานเบ็ดนั้น จึงตรัสถาม
ว่า “ อุบาสก เธอชื่อไร ?” เมื่อเขากราบทูลว่า “ ข้าพระองค์ชื่ออริยะ
พระเจ้าข้า ” ตรัสว่า “ อุบาสก ผู้ที่ฆ่าสัตว์เช่นท่านจะชื่อว่าอริยะไม่ได้,
๔๓/๒๙/๙๐
พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย มหาวารอาทิผิด สระวรรค
เล่มที่ ๕ ภาคที่ ๑
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
มัคคสังยุต
อวิชชาวรรคที่ ๑
๑. อวิชชาสูตร
ว่าด้วยอวิชชา และวิชชาเป็นหัวหน้าแห่งอกุศลและกุศล
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูล
รับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้
ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
[๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อวิชชาเป็นหัวหน้าในการยังอกุศลธรรม
ให้ถึงพร้อม เกิดร่วมกับความไม่ละอายบาป ความไม่สะดุ้งกลัวบาป ความ
เห็นผิด ย่อมเกิดมีแก่ผู้ไม่รู้แจ้ง ประกอบด้วยอวิชชา ความดำริผิดย่อมเกิด
๓๐/๑/๑
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส.
เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.
ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือ ด้วยมรรคคือวิราคะ
สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานอาทิผิด สระดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส อุปายาสอาทิผิด สระ จึงดับ.
๖/๑/๒

๖. ภูมิชสูตร
[๔๐๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเคย
เป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระ-
ภูมิชะ นุ่งสบงอาทิผิด อักขระ ทรงบาตรจีวรเข้าไปยังวังของพระราชกุมารชยเสนะในเวลาเช้า
แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้ ต่อนั้น พระราชกุมารชยเสนะเข้าไปหาท่าน
พระภูมิชะ แล้วได้ตรัสทักทายปราศรัยกับท่านพระภูมิชะ ครั้นผ่านคำทักทาย
ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงประทับ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
[๔๐๖] พระราชกุมารชยเสนะ ประทับ นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้รับสั่ง
กะท่านพระภูมิชะดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านภูมิชะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ
อย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า ถ้าแม้บุคคลทำความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์
เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์
เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความหวังและความไม่หวังแล้วประพฤติอาทิผิด อักขระ
พรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ ความไม่
หวังก็มิใช่แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ในเรื่องนี้
ศาสดาของท่านภูมิชะมีวาทะอย่างไร มีความเห็นอย่างไร บอกไว้อย่างไร
[๔๐๗] ท่านภูมิชะกล่าวว่า ดูก่อนพระราชกุมาร เรื่องนี้อาตมภาพ
มิได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าเลย แต่อาทิผิด อักขระข้อที่เป็นฐานะมีได้
แล คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ถ้าแม้บุคคลทำความ
หวัง แล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล
ถ้าแม้ทำความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย เขาก็ไม่สามารถ
๒๓/๔๐๕/๙๙
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต เป็นอัทธาส่วนอดีต ขันธ์ ๕ ที่
เป็นอนาคต เป็นอัทธาส่วนอนาคต ขันธ์ ๕ ที่เป็นปัจจุบัน เป็นอัทธาส่วน
ปัจจุบัน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อัทธา เป็น ๑๕ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อายตนะ ๑๒ ที่เป็นอดีตเป็นอัทธาส่วนอดีต อายตนะ
๑๒ ที่เป็นอนาคตเป็นอัทธาส่วนอนาคต อายตนะ ๑๒ ที่เป็นปัจจุบันเป็น
อัทธาส่วนปัจจุบัน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อัทธา เป็น ๓๖ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ธาตุ ๑๘ ที่เป็นอดีตเป็นอัทธาส่วนอดีต ธาตุ ๑๘ ที่
เป็นอนาคตเป็นอัทธาส่วนอนาคต ธาตุ ๑๘ ที่เป็นปัจจุบันเป็นอัทธาส่วน
ปัจจุบันอาทิผิด สระ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อัทธา เป็น ๕๔ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นอดีตเป็นอัทธาส่วนอดีต อินทรีย์
๒๒ ที่เป็นอนาคตเป็นอัทธาส่วนอนาคต อินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นปัจจุบันเป็น
อัทธาส่วนปัจจุบัน หรือ ?
๘๑/๑๖๑๕/๔๔๖

ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงกระหยิ่มอรหัตผล ในปัจจุบันทีเดียว ฉันใด ดูก่อน
สารีบุตร เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ ก็ฉันนั้น. ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละ
ความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก.
เวสารัชชธรรม ๔
[๑๖๗] ดูก่อนสารีบุตร ตถาคตประกอบด้วยเวสารัชชธรรม [ความ
แกล้วกล้า] เหล่าใด จึงปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท
ยังพรหมจักรให้เป็นไป เวสารัชชธรรมของตถาคตเหล่านี้มี ๔ ประการ. ๔
ประการเป็นไฉน. ดูก่อนสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า สมณะ พราหมณ์
เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ที่จักอาทิผิด อักขระทักท้วงเราโดยสหธรรมในข้อ
ว่า ท่านปฏิญาณอาทิผิด อักขระตนว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ท่านยังไม่ได้ตรัสรู้
แล้วดังนี้. ดูก่อนสารีบุตร เมื่อไม่เห็นเหตุนี้ เราก็เป็นผู้ถึงความปลอดภัย
ถึงความไม่มีภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่. ดูก่อนสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุ
นี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆในโลกที่จักทักท้วง
เราโดยสหธรรมในข้อว่า ท่านปฏิญาณตนว่าเป็นพระขีณาสพ อาสวะเหล่านี้
ของท่านยังไม่สิ้นไปแล้ว ดังนี้. ดูก่อนสารีบุตร เมื่อไม่เห็นเหตุนี้ เราก็เป็น
ผู้ถึงความปลอดภัย ถึงความไม่มีภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่. ดูก่อนสารี-
บุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือ
ใครๆในโลก ที่จักทักท้วงเราโดยสหธรรม ในข้อว่า ท่านกล่าวธรรมเหล่าใด
ว่าทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่อาจทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง ดังนี้.
ดูก่อนสารีบุตร เมื่อไม่เห็นเหตุนี้ เราก็เป็นผู้ถึงความปลอดภัย ถึงความไม่มี
ภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่. ดูก่อนสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า สมณะ
พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ที่จักทักท้วงเราโดย
๑๘/๑๖๗/๔๔

อรรถกถาปุริสสูตร
ในปุริสสูตรที่ ๑๐ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ศัพท์ว่า เสยฺยถาปิ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถแสดงการเปรียบเทียบ.
ความหมายว่า ฉันใด. บทว่า นทิยา โสเตน โอวุยฺเหยฺย ความว่า พึง
ถูกกระแสน้ำของแม่น้ำที่มีกระแสไหลเชี่ยว พัดลงไปใต้ คือนำลงไปข้างล่าง.
บทว่า ปิยรูปสาตรูเปน ความว่า เขาคิดว่า เราจักเก็บเอาแก้วมณีและทอง
คำเป็นต้น หรือของที่น่ารัก คือ สิ่งของที่เป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ
ที่มีอยู่ในแม่น้ำนั้น หรือบนฝั่งนอก (ฝั่งหน้า) ของแม่น้ำนั้นกระโดดลงไปใน
แม่น้ำแล้ว คงจมลอยไปตามกระแสน้ำที่เป็นตัวการ มีสภาพน่ารัก น่าชื่นใจ.
ศัพท์ว่า กิญฺจาปิ เป็นนิบาต ใช้ในความหมายว่า ยอมรับแต่ไม่
สรรเสริญ. ยอมรับอะไร ? ไม่สรรเสริญอะไร ? ยอมรับสิ่งของที่น่ารัก ที่
ชายคนนั้นต้องประสงค์ ว่ามีอยู่ ณ ที่นั้น แต่ไม่สรรเสริญการไปอย่างนั้น
เพราะเป็นสิ่งที่มีโทษ. มีคำอธิบายนี้ไว้ว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ แม้ว่าสิ่งของ
ที่น่ารัก ที่ท่านต้องประสงค์จะหาได้ในที่นั้นไซร้ แต่ในเพราะการไปอย่างนี้
จะมีโทษอย่างนี้ คือท่านจะต้องตกถึงห้วงน้ำข้างล่าง แล้วถึงความตายหรือ
ความทุกข์ปางตาย.
บทว่า อตฺถิ เจตฺถ เหฏฺฐา รหโท ความว่า ในภูมิภาค
ตามกระแสน้ำด้านใต้แม่น้ำนี้ลงไปมีสระใหญ่สระหนึ่ง ลึกและกว้างเหลือเกิน
และสระนั้น ชื่อว่ามีคลื่น เพราะคลื่นคือฟองขนาดมหึมา คล้ายกับยอดเขา
แก้วมณีที่ก่อตัวขึ้น เพราะถูกลมพัดมารอบด้าน ชื่อว่ามีน้ำวน โดยมีน้ำวน
คล้ายกับ ไฟใต้น้ำ เหตุที่มีอาทิผิด อาณัติกะห้วงน้ำใหญ่ไพบูลย์ไหลวนอยู่ในที่นั้น ๆ ด้วยห้วง
๔๕/๒๘๙/๖๘๗

ทำไมท่านไม่ให้เราเข้าไปเล่า. คนรับใช้กล่าวว่า แม่หนู ท่านเสนาบดีตั้งพวก
เราให้คอยรักษาการณ์ โดยสั่งว่า พวกเจ้าจงอย่าอาทิผิด สระให้ใคร ๆ อื่นนำของเคี้ยว
และของกินเข้ามาเป็นอันขาด. นางกล่าวว่า ก็พวกท่านเห็นของเคี้ยวของกิน
ในมือของฉันหรือ. คนรับใช้พูดว่า เห็นแต่พวงดอกไม้จ้ะ. นางถามว่า ท่าน
เสนาบดีของพวกท่านไม่ให้ทำแม้การบูชาด้วยดอกไม้ด้วยหรือ. คนรับใช้พูดว่า
ให้จ้ะแม่หนู. นางกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นพวกท่านหลีกไปสิ แล้วเข้าไปเฝ้าพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์ทรงให้รับ
พวงดอกไม้เถิดพระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแลดูคนรับใช้ของเสนาบดี
คนหนึ่ง แล้วให้รับพวงดอกไม้ไว้ นางถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้ว
ตั้งความปรารถนาว่า เมื่อข้าพระบาทบังเกิดในภพน้อยภพใหญ่ ขออย่าให้มี
ชีวิตอยู่ด้วยความหวาดสะดุ้งเลย ในภพที่ข้าพระบาทเกิด ขอให้เป็นที่รักดุจ
พวงดอกไม้นี้ และขอให้มีชื่อว่า สุมนาเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เจ้า
จงมีความสุขเถิด ดังนี้ นางถวายบังคมแล้วกระทำประทักษิณ กราบทูลลา
กลับไป. พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จไปยังเรือนของเสนาบดีประทับนั่งเหนือ
อาสนะที่เขาปูไว้ เสนาบดีถือข้าวยาคูน้อมเข้าไปถวาย. พระศาสดาทรงเอา
พระหัตถ์ปิดบาตรไว้. เสนาบดีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หมู่ภิกษุนั่งแล้ว
พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า เราได้บิณฑบาตหนึ่งในระหว่างทาง. เสนาบดี
นำมาลาออกได้เห็นบิณฑบาต. จูฬุปัฏฐากอาทิผิด อักขระคนรับใช้ใกล้ชิดกล่าวว่า นายขอรับ
ผู้หญิงพูดลวงกระผมว่าดอกไม้. ข้าวปายาสเพียงพอแก่ภิกษุทั้งหมด นับแต่
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นต้นไป เสนาบดีได้ถวายไทยธรรมของตน. พระศาสดา
เสวยเสร็จแล้ว ตรัสมงคลกถาเสด็จกลับ. เสนาบดีถามว่า หญิงที่ถวายบิณฑบาต
ชื่อไร. ธิดาเศรษฐีขอรับ. เสนาบดีคิดว่า หญิงมีปัญญา เมื่อมาอยู่ในเรือน
ชื่อว่า สวรรค์สมบัติของบุรุษไม่ใช่หาได้ยากเลย ดังนี้ จึงนำนางนั้นมาตั้งไว้
๓๖/๓๑/๖๔
พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย อปทาน๑
เล่มที่ ๙
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอาทิผิด พระองค์นั้น
ภัททาลิวรรคที่ ๔๒
๓. เถราปทาน
ภัททาลิเถราปทานที่ ๑ (๔๑๑)
ว่าด้วยผลแห่งการมุงมณฑปด้วยดอกรัง
[๑] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า
สุเมธะ ผู้เลิศ ประกอบด้วยพระกรุณา เป็นมุนี
ปรารถนาความวิเวก เลิศในโลกได้เสด็จเข้าไปยัง
ป่าหิมพานต์
ครั้นแล้ว พระสุเมธสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้นำ
โลก ประเสริฐอาทิผิด อักขระกว่าบุรุษ ได้ประทับนั่งขัดสมาธิ
พระพุทธเจ้าผู้นำโลก พระนามว่าสุเมธะผู้สูงสุด
กว่าบุรุษ พระองค์ประทับนั่งขัดสมาธิอยู่ ๗ คืน
๗ วัน
เราถือหาบเข้าไปกลางป่า ณ ที่นั้นเราได้
เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว
ไม่มีอาสวะ
๑. บาลีเล่มที่ ๓๓
๗๒/๑/๑

ปริมาณนี้คือ ช้างพัง ๖ เชือก กับช้างพลาย ๑ เชือก เป็นอนีกะหนึ่ง
๗ อนีกะเช่นนี้ ชื่อว่า สัตตหัตถิกอนีกะ.
บทว่า ทิคุณา ได้แก่ ๒ ชั้น.
บทว่า ติคุณา ได้แก่ ๓ ชั้น รองเท้ามีชั้นตั้งแต่ ๔ ชั้นขึ้นไป
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า รองเท้าหลายชั้น.
บทว่า สพฺพนีลกา ได้แก่ เขียวล้วนทีเดียว. แม้ในสีต่างอาทิผิด อักขระ ๆ มี
เหลืองล้วนเป็นต้น ก็มีนัยเหมือนกัน. ก็บรรดารองเท้าสีเหล่านั้น รองเท้า
เขียวคราม มีสีคล้ายสีดอกผักตบ รองเท้าเหลืองมีสีคล้ายดอกกรรณิการ์ รอง-
เท้าแดง มีสีคล้ายดอกชบา รองเท้าแดงสำลาน คือแดงอ่อน มีสีคล้ายฝาง
รองเท้าดำ มีสีคล้ายสีลูกประคำดีควาย รองเท้าแดงเข้ม มีสีคล้ายหลังตะขาบ
รองเท้าแดงกลาย ๆ มีสีเจือกัน คล้ายสีใบไม้เหลือง, แต่ในกุรุนทีแก้ว่ามีสีคล้าย
ดอกบัวหลวง. บรรดารองเท้าเหล่านี้ ภิกษุได้ชนิดใดชนิดหนึ่งแล้ว เอาผ้าเช็ดอาทิผิด อักขระ
น้ำยาทำลายสีเสียแล้วสวม ควรอยู่. แม้ทำลายสีเสียเพียงเล็กน้อย ก็ควร
เหมือนกัน.
บทว่า นีลวทฺธิกา ได้แก่ รองเท้าที่มีหูเท่านั้นเขียว. แม้ในสีทั้งปวง
มีสีเหลืองเป็นต้น มีนัยเหมือนกัน. แม้รองเท้าที่มีหูเขียวเป็นต้น เหล่านั้น
ก็พึงทำลายสีเสียแล้วจึงค่อยสวม.
บทว่า ขลฺลกพทฺธา ได้แก่ รองเท้าที่ทำติดแผ่นหนังที่พื้นขึ้นมา
เพื่อปิดส้น. รองเท้าของชาวโยนกเรียกว่า รองเท้าหุ้มเป็นกระบอกได้แก่
รองเท้าที่ปิดเท้าทั้งหมดจนถึงแข้ง.
บทว่า ปาลิคุณฺฐิมา ได้แก่ รองเท้าที่หุ้มหลังอาทิผิด อาณัติกะเท้า ปิดแค่เพียงบน
หลังเท่านั้น ไม่ปิดแข้ง.
บทว่า ตูลปุณฺณิกา ได้แก่ รองเท้าที่ทำยัดด้วยปุยนุ่น.
๗/๒๔/๔๗

เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้ ครั้นให้อภัย ให้ความไม่มีเวรอาทิผิด อักขระ ให้
ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้แล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่ง
ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนหาประมาณมิได้ นี้เป็น
ทานข้อคำรบ ๕ ซึ่งเป็นทานใหญ่ ปรากฏว่าเลิศ ปรากฏโดยราตรี ปรากฏ
ว่าเป็นวงศ์ เป็นธรรมเก่าแก่ อันสมณพราหมณ์และผู้รู้ทั้งหลาย มิได้
ลบล้าง ไม่รังเกียจอยู่ จักไม่รังเกียจ ไม่คัดค้านแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ทาน ๕ ประการนี้แล เป็นทานใหญ่ ปรากฏว่าเลิศ ปรากฏโดยราตรี ปรากฏ
ว่าเป็นวงศ์ เป็นธรรมเก่าแก่ อันสมณพราหมณ์ทั้งหลาย มิได้ลบล้าง ไม่
เคยลบล้าง ไม่รังเกียจอยู่ จักไม่รังเกียจ ไม่คัดค้านแล้ว ดังนี้๑ เป็นสูตร
มีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น ทาน ก็คือ เจตสิกธรรม น่ะสิ.
[๑๑๔๓] ส. ไม่พึงกล่าวว่า ทาน คือ ไทยธรรม หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลบางคนใน
โลกนี้ ย่อมให้ข้าว ให้น้ำ ให้ผ้า ให้ยาน ให้ดอกไม้ ให้ของหอม ให้เครื่อง
ลูบไล้ ให้ที่นอน ให้ที่พัก ให้เครื่องประทีป ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ทาน คือ ไทยธรรม น่ะสิ.
๑. องฺ. อฏฺฐก ๒๓/๑๒๙.
๘๑/๑๑๔๓/๕๕