วันเสาร์, พฤษภาคม 03, 2568

Nikhom

 
เป็นมัชฌิมชนบท. ในทิศทักษิณ มีนิคมอาทิผิด อักขระชื่อว่าเสตกัณณิกะ ถัดจาก
เสตกัณณิกนิคมนั้นไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท
ในทิศประจิม มีบ้านพราหมณ์ ชื่อว่าถูนะ ถัดจากบ้านพราหมณ์นั้นไป
เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท ในทิศอุดร มีภูเขา
ชื่อว่า อุสีรธชะ ถัดจากเขานั้นไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็น
มัชฌิมชนบท. พระตถาคตย่อมอุบัติ ในมัชฌิมประเทศ ที่ท่านกำหนด
ดังกล่าวมาแล้วนั้น โดยส่วนยาว วัดได้ ๓๐๐ โยชน์ โดยส่วนกว้าง
วัดได้ ๑๕๐ โยชน์ วัดโดยรอบได้ ๙๐๐ โยชน์. อนึ่งพระตถาคต
หาได้อุบัติแต่ลำพังพระองค์อย่างเดียวอาทิผิด อักขระไม่ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย
พระอัครสาวก พระอสีติมหาเถระ แม้ท่านผู้มีบุญอื่น ๆ ก็ย่อมเกิด
ขึ้น. พระพุทธมารดา พระพุทธบิดา พระเจ้าจักรพรรดิ์ และ
พราหมณ์คฤหบดี ผู้เป็นบุคคลสำคัญเหล่าอื่น ก็ย่อมเกิดในมัชฌิม-
ประเทศนี้เหมือนกัน.
ก็บทว่า อุปฺปชฺชมาโน อุปฺปชฺชติ ทั้งสองนี้ เป็นคำกล่าว
ค้างไว้เท่านั้น. ก็ในคำนี้พึงทราบความอย่างนี้ว่า พระตถาคตเมื่อ
อุบัติ ย่อมอุบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก หาอุบัติ
ด้วยเหตุอื่นไม่. ก็ในอธิการนี้ ลักษณะเห็นปานนี้ ใคร ๆ หาอาจ
คัดค้านคำทั้งสองนั่นโดยลักษณะศัพท์อื่นไม่.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความต่างกันในคำนี้ ดังนี้ว่า อุปฺปชฺ-
ชมาโน นาม (ชื่อว่าเมื่อจะอุบัติ ) อุปฺปชฺชติ นาม (ชื่อว่ากำลังอุบัติ)
อุปฺปนฺโน นาม (ชื่อว่าอุบัติแล้ว.) จริงอยู่ พระพุทธองค์ได้รับคำ
 
๓๒/๑๔๕/๑๘๙

ไม่มีความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก