วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 01, 2568

Kraduk

 
ขาดกับบทเจตนาเครื่องทุศีลอันเป็นมิจฉาชีพ ซึ่งเกิดขึ้นในฐานะทั้ง ๗
เหล่านี้แล นี้ชื่อว่า สัมมาอาชีวะ.
บทว่า อนุปฺปนฺนานํ ความว่า เห็นอารมณ์ทั้งหลายเห็นปานนั้น
ในเรือนแห่งหนึ่ง ย่อมยังฉันทะให้เกิด เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม
อันเป็นบาปซึ่งยังไม่เกิดขึ้นแก่ตน หรือว่าเห็นอารมณ์ทั้งหลาย ที่กำลังเกิดขึ้น
แก่ผู้อื่น ย่อมยังฉันทะให้เกิด เพื่อความไม่เกิดขึ้น แห่งอกุศลธรรมอันเป็น
บาป ซึ่งยังไม่เกิดขึ้น อย่างนี้ว่า โอหนอ ธรรมอันเป็นบาปเห็นปานนี้
ไม่พึงเกิดขึ้นแก่เรา ดังนี้. บทว่า ฉนฺทํ ความว่า ย่อมยังวิริยฉันทะ
เป็นเหตุให้สำเร็จแห่งการปฏิบัติมิให้อกุศลธรรมเหล่านั้นเกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น.
บทว่า วายมติ ได้แก่ ย่อมทำความพยายาม. บทว่า วิริยํ อารภติ
ได้แก่ ย่อมยังความเพียรให้เป็นไป. บทว่า จิตฺตํ ปคฺคณฺหาติ ความว่า
ย่อมทำจิตอันความเพียรประคองไว้แล้ว. บทว่า ปทหติ ความว่า ย่อมยัง
ความเพียรให้อาทิผิด สระเป็นไปว่า หนัง เอ็น และกระดูกอาทิผิด จงเหือดแห้งไปก็ตามอาทิผิด อักขระเถิด. บทว่า
อุปฺปนฺนานํ ความว่า เคยเกิดขึ้นแล้วแก่ตน ด้วยสามารถความฟุ้งซ่าน
ย่อมยังฉันทะให้เกิด เพื่อละอกุศลธรรมเหล่านั้น ด้วยคิดว่า บัดนี้ เราจัก
ไม่ให้อกุศลธรรมทั้งหลายเช่นนั้นเกิดขึ้น.
บทว่า อนุปฺปนฺนานํ กุสลานํ ความว่า กุศลธรรมมีปฐมฌาน
เป็นต้น ที่ยังไม่ได้. บทว่า อุปฺปนฺนานํ ได้แก่ กุศลธรรมเหล่านั้นนั่นแล
ที่ตนได้แล้ว. บทว่า ฐิติยา ความว่า เพื่อความตั้งมั่นด้วยสามารถความ
เกิดขึ้นติดกันบ่อย ๆ. บทว่า อสมฺโมสาย ได้แก่ เพื่อความไม่สูญหาย.
บทว่า ภิยฺโย ภาวาย ได้แก่ เพื่อสูงขึ้นไป. บทว่า เวปุลฺลาย ได้แก่
เพื่อความไพบูลย์. บทว่า ปาริปูริยา ได้แก่ เพื่อให้ภาวนาบริบูรณ์.
สัมมาวายามะ แม้นี้ชื่อว่า ต่างกันในส่วนเบื้องต้น เพราะอกุศลธรรมที่ยัง
 
๓๐/๔๑/๓๐

ไม่มีความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก