วันจันทร์, มิถุนายน 30, 2568

Kamarom

 
[๗๐๑] ข้าพระองค์พร้อมด้วยบุตรเข้าไปสู่ป่า
แสวงหาเนื้อ ญาติเหล่านั้นไม่รู้ว่าข้าพระองค์ตายหรือ
เป็น ข้าพระองค์ขอทูลลาพระภูริทัตผู้เรืองยศ โอรส
แห่งกษัตริย์แคว้นกาสี พระองค์ทรงอนุญาตแล้ว ข้า-
พระบาทก็จะได้ไปเยี่ยมญาติ.
[๗๐๒] การที่ท่านได้มาอยู่ในสำนักของเรานี้
เป็นความพอใจของเราหนอ แต่ว่ากามารมณ์อาทิผิด อักขระเช่นนี้
เป็นของหาไม่ได้ง่ายในมนุษย์ ถ้าท่านไม่ปรารถนาจะ
อยู่ เราจะบูชาท่านด้วยกามารมณ์ทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ท่านไปเยี่ยมญาติได้โดยสวัสดี.
[๗๐๓] ดูกรพราหมณ์ เมื่อท่านทรงทิพยมณี
นี้อยู่ ย่อมได้ปศุสัตว์และบุตรทั้งหลายตามปรารถนา
ท่านจงถือเอาทิพยมณี ไปปราศจากโรคภัยเป็นสุขเถิด.
[๗๐๔] ข้าแต่พระภูริทัต พระดำรัสของพระ
องค์หาโทษมิได้ ข้าพระองค์ยินดียิ่งนัก ข้าพระองค์
แก่แล้วจักบวช ไม่ปรารถนากามทั้งหลาย.
[๗๐๕] ถ้าหากพรหมจรรย์มีการแตกหัก กิจที่
ต้องทำด้วยอาทิผิด สระโภคทรัพย์ทั้งหลายเกิดขึ้น ท่านอย่าได้มี
ความหวั่นใจ ควรมาหาเรา เราจะให้ทรัพย์แก่ท่าน
มาก ๆ.
[๗๐๖] ข้าแต่พระภูริหัต พระดำรัสของพระ-
องค์หาโทษมิได้ ข้าพระองค์ยินดียิ่งนัก ข้าพระองค์
จักกลับมาอีก ถ้าจักมีความต้องการ.
 
๖๔/๗๐๒/๕

วันอาทิตย์, มิถุนายน 29, 2568

Doi

 
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกปัจจัยทั้งหลายขึ้นโดยอาทิผิด อักขระอนุโลมตามนัยที่ตรัสไว้
ในกุสลติกะในปัจจนียนัย แล้วทรงแสดงวาระ ๙ ในปัจจัยทั้งปวงว่า นเหตุยา
นว เป็นต้น ด้วยอำนาจการนับโดยปัจจนียะ เกี่ยวกับวาระที่ได้ในปัจจัยเหล่า-
นั้น วาระเหล่านั้นผู้ศึกษาพึงยกบาลีขึ้นแสดงโดยนัยว่า บุคคลถวายทานด้วยจิต
ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนา โดยนเหตุปัจจัย ดังนี้ เป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งวิสัชนา ๙
วาระ อันมีปัจจัยที่มีมูละ ๑ และมีมูลี ๑ เป็นที่สุด.
ก็ในการรวมปัจจัยในอธิการนี้ คำว่า นเหตุปจฺจยา ฯเปฯ นอุป-
นิสฺสเย อฏฺฐ ผู้ศึกษาพึงทราบวาระด้วยอำนาจนานักขณิกกัมมปัจจัย. จริงอยู่
กรรมที่มีกำลังทรามย่อมไม่เป็นอุปนิสสยปัจจัย แต่เป็นปัจจัยโดยนานักขณิก-
กัมมปัจจัยอย่างเดียวเท่านั้น ก็ฆฏนาที่เหลือทั้งในอนุโลมปัจจนียะและปัจจนียา-
นุโลมในอธิการนี้ ผู้ศึกษาสามารถนับได้โดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในหนหลัง
ด้วยอำนาจแห่งวาระที่ได้แล้วในการประกอบแห่งปัจจัยนั้น ๆ เพราะฉะนั้นจึง
ไม่อธิบายอย่างพิสดาร แล.
อรรถกถาวรรณนาเนื้อความแห่งเวทนาติกปัฏฐาน จบแล้ว
 
๘๖/๑๒๓๗/๗๔

วันเสาร์, มิถุนายน 28, 2568

Bencha Khan

 
เหยียดออกแล้ว ขูดจนเกลี้ยงเกลา. แท้จริงหนังโคที่เขาใช้ขอไม่ถึงร้อยเล่ม
ขูดออก ยังไม่เกลี้ยงเกลา ใช้ขอถึงร้อยเล่มย่อมเกลี้ยงเกลา เหมือนพื้นกลอง
เพราะฉะนั้นจึงตรัสอย่างนี้. บทว่า อุกฺกุลวิกุลํ แปลว่า สูง ๆ ต่ำ ๆ คือ
เป็นที่ดอนบ้าง เป็นที่ลุ่มบ้าง. บทว่า นทีวิทุคฺคํ ได้แก่ แม่น้ำและที่ซึ่ง
เดินไม่สะดวก บทว่า ปฐวีสญฺํ ปฏจฺจ มนสิกโรติ เอกตฺตํ ความว่า
ใส่ใจสัญญาอย่างเดียวที่อาศัยกันเกิดขึ้นในปฐวีกสิณ. บทว่า ทรถมตฺตา
ความว่า จำเดิมแต่นี้ พึงทราบความกระวนกระวาย โดยความกระวนกระวาย
ที่เป็นไปในวาระทั้งปวง. บทว่า อนิมิตฺตํ เจโต สมาธึ ได้แก่ วิปัสสนา-
จิตตสมาธิ. เจโตสมาธิที่เว้น จากนิมิตว่าเที่ยงเป็นต้นนั้น ท่านกล่าวว่า อนิมิต.
บทว่า อิมเมวกายํ ท่านแสดงวัตถุด้วยวิปัสสนา. ในบทเหล่านั้น บทว่า
อิมเมว ได้แก่ มหาภูตรูปทั้ง ๔ นี้. บทว่า สฬายตนิกํ แปลว่า ปฏิอาทิผิด อักขระสังยุต
ด้วยสฬายตนะ. บทว่า ชีวิตปจฺจยา ความว่า ชีวิตยังเป็นอยู่ได้ ก็ชั่วชีวิ-
ตินทรีย์ยังเป็นไป อธิบายว่า ปฐวีสัญญานั้น ยังมีความกระวนกระวายที่เป็นไป.
เพื่อจะทรงแสดงความเห็นแจ้งโดยเฉพาะของวิปัสสนา จึงตรัสว่า อนิมิตฺตํ อีก.
บทว่า กามาสวํ ปฏิจฺจ แปลว่า อาศัยกามาสวะ. อธิบายว่า ความกระวน
กระวายที่จะเกิดขึ้นและที่เป็นไปแล้ว ไม่มีในที่นี้ คือไม่มีในอริยมรรคและ
อริยผล. บทว่า อมิเมว กายํ นี้ ตรัสเพื่อแสดงความกระวนกระวายของ
เบญจอาทิผิด อาณัติกะขันธ์ที่ยังเหลืออยู่. ด้วยประการฉะนี้ เป็นอันทรงเปลี่ยนมนุสสสัญญาเป็น
คามสัญญา ฯลฯ มรรคเป็นวิปัสสนา แล้วทรงแสดงความว่างเปล่าล่วงส่วน
โดยลำดับ. บทว่า ปริสุทฺธํ ได้แก่ ปราศจากอุปกิเลส. บทว่า อนุตฺตรํ
แปลว่าเว้น จากสิ่งอื่นที่ยอดเยี่ยม คือประเสริฐสุดกว่าทุกอย่าง บทว่า สุญฺญตํ
ได้แก่ สุญญตาผลสมาบัติ บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะสมณพราหมณ์
 
๒๓/๓๔๒/๑๒

วันศุกร์, มิถุนายน 27, 2568

Duang Ta

 
อานุภาพมากถึงเพียงนี้ พระศาสดาต้องอัศจรรย์แน่ ดังนี้ แล้วพากัน สนใจต่อ
พระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น หาสนใจต่อท่านพระสาคตะไม่.

ทรงแสดงอนุปุพพิกถาและจตุราริยสัจ
ลำดับนั้นอาทิผิด อาณัติกะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของพวก
เขาด้วยพระทัย แล้วทรงแสดงอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศ ทานกถา
ศีลกถา สัคคกถา ซึ่งโทษแห่งกามอันต่ำทรามอันเศร้าหมอง และ
อานิสงส์ในการออกบรรพชา เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า พวกเขามีจิตสงบ
มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรง
ประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง
คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาอาทิผิด อักขระเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจาก
มลทิน ได้เกิดแก่พวกเขา ณ ที่นั่งนั้นเองว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น
ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับอาทิผิด อักขระเป็นธรรมดา ดุจผ้าที่สะอาด ปราศจากมลทิน
ควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้นพวกเขาได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรม
แล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว
ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นใน
คำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลคำนี้ ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ภาษิตของ
พระองค์แจ่มแจ้งนัก พระพุทธเจ้าข้า ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธ
เจ้าข้า พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงาย
ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด
ด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้าเหล่านี้ขอถึงพระผู้มี-
พระอาทิผิด อักขระภาคเจ้า พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรง
 
๗/๑/๔

วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 26, 2568

La Loei

 
ให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าถักด้วยขนสัตว์ ภิกษุเหล่านั้นได้ละเลยอาทิผิด อาณัติกะอุเทศ ปริปุจฉา
อธิศีล อธิจิต อธิปัญญาเสีย แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าพวกภิกษุชาวพระนครภัททิยะตั้งหน้าพากเพียรตกแต่งเขียงเท้าหลากหลาย
อยู่ คือ ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้า ทำเองบ้าง สั่ง
ให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้ามุงกระต่าย ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่ง
เขียงเท้าสานด้วยหญ้าปล้อง ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วย
ใบเป้ง ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยแฝก ทำเองบ้าง สั่ง
ให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าถักด้วยขนสัตว์ ย่อมละเลยอุเทศ ปริปุจฉา อธิศีล
อธิจิต อธิปัญญา จริงหรือ ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
เล่าโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้ตั้งหน้าพากเพียรตกแต่งเขียงเท้าหลากหลายอยู่ คือ
ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้า ได้ทำเองบ้าง ได้
สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้ามุงกระต่าย ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำ
บ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้าปล้อง ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียง-
เท้าสานด้วยใบเป้ง ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยแฝก
ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าถักด้วยขนสัตว์ โมฆบุรุษเหล่านั้น
ได้ละเลยอุเทศ ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญาเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
การกระทำของเหล่าโมฆบุรุษนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส . . . ครั้น แล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมเขียงเท้าสานด้วยหญ้า เขียงเท้าสานด้วยหญ้ามุงกระ-
 
๗/๑๒/๒๓

วันพุธ, มิถุนายน 25, 2568

Huang

 
ว่า เราเป็นน้องชายของสุทัสสนะ ผู้เป็นพี่ชายเรา. อธิบายว่า ความว่า ชน
ทั้งหมดย่อมรู้จักเราในนาคพิภพระยะทาง ๕๐๐ โยชน์ อย่างนี้ว่า วิทู ผู้รู้วิเศษ.
ก็แลพระมหาสัตว์ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วจึงคิดว่า พราหมณ์นี้ เป็นผู้
ดุร้ายหยาบคาย ถ้าเขาจะไปบอกแก่หมองูแล้ว พึงทำแม้อันตรายแก่อุโบสถกรรม
ของเรา ไฉนหนอเราจะนำพราหมณ์ผู้นี้ไปยังนาคพิภพ พึงให้ยศแก่ท่านเสีย
ให้ใหญ่โตแล้ว จะพึงทำอุโบสถกรรมของเราให้ยืนยาวนานไปได้. ลำดับนั้น
พระโพธิสัตว์จึงกล่าวกะพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ เราจะให้ยศ
แก่ท่านให้ใหญ่โต นาคพิภพเป็นสถานอันน่ารื่นรมย์นัก มาไปกันเถิด ไปใน
นาคพิภพนั้นด้วยกัน. พราหมณ์กล่าวว่า ข้าแต่นาย บุตรของข้าพเจ้ามีอยู่คน
หนึ่ง เมื่อบุตรนั้นมา ข้าพเจ้าก็จักไป. ลำดับนั้นพระมหาสัตว์จึงกล่าวกะ
พราหมณ์นั้นว่า ดูกรพราหมณ์ ท่านจงไปนำบุตรของท่านมาเถิด เมื่อจะบอกที่
อยู่ของพระองค์จึงกล่าวว่า
ท่านเพ่งดูห้วงน้ำลึกวนอยู่ทุกเมื่อ น่ากลัวใด ห้วงอาทิผิด อาณัติกะ
น้ำนั้น เป็นที่อยู่อันรุ่งเรืองของเรา ลึกหลายร้อยชั่ว
บุรุษ ท่านอย่ากลัวเลย จงเข้าไปยังแม่น้ำยมุนา เป็น
แม่น้ำที่มีสีเขียวไหลจากกลางป่า กึกก้องด้วยเสียงนก
ยูงและนกกระเรียน เป็นที่เกษมสำราญของผู้มีอาจารวัตร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทาวฏฺฏํ แปลว่า วนเวียนเป็นไปอยู่
ทุกเมื่อ. บทว่า เภสฺมึ แปลว่า น่าสะพรึงกลัว. บทว่า อเปกฺขสิ ความว่า
ท่านเพ่งดูห้วงน้ำเห็นปานนี้นั้นใด. บทว่า มยูรโกญฺจาภิรุทํ ความว่า กึก-
ก้องด้วยเสียงร้องของนกยูงและนกกระเรียนที่อยู่ในกลุ่มป่าที่ฝั่งทั้ง ๒ ของแม่น้ำ
ยมุนา. บทว่า นีโลทกํ แปลว่า น้ำมีสีเขียว. บทว่า วนมชฺฌโต ได้แก่
 
๖๔/๗๗๔/๔๙

วันอังคาร, มิถุนายน 24, 2568

Yoeiyan

 
กับทาส ทาสี และรถม้านี้เป็นการกระทำครั้งแรกของเกล้ากระหม่อม ขอให้
ฝ่าพระบาทจงทรงพระกรุณาโปรดรับค่าอาทิผิด อักขระเลี้ยงดูเกล้ากระหม่อมเถิด พระเจ้าข้า.
พระราชกุมารรับสั่งว่า อย่าอาทิผิด สระเลย พ่อชีวก ทรัพย์นี้จงเป็นของเจ้า
คนเดียวเถิด และเจ้าจงสร้างบ้านอยู่ในวังของเราเถิด.
ชีวกโกมารภัจจ์ทูลรับพระบัญชาเจ้าชายอภัยว่า เป็นพระกรุณายิ่งพระ
เจ้าข้า แล้วได้สร้างบ้านอยู่ในวังของเจ้าชายอภัย.

เรื่องพระเจ้าพิมพิสารทรงประชวรโรคริดสีดวงงอก
[๑๓๑] ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชทรง
ประชวรโรคริดสีดวงงอก พระภูษาเปื้อนพระโลหิต พวกพระสนมเห็นแล้วพา
กันเย้ยหยันอาทิผิด อาณัติกะว่า บัดนี้พระเจ้าอยู่หัวทรงมีระดู ต่อมอาทิผิด อักขระพระโลหิตบังเกิดแก่พระองค์
แล้ว ไม่นานเท่าไรนัก พระองค์จักประสูติ พระราชาทรงเก้อเพราะคำเย้ยหยัน
ของพวกพระสนมนั้น ต่อมาท้าวเธอได้ตรัสเล่าความนั้นแก่เจ้าชายอภัยว่า พ่อ
อภัย พ่อป่วยเป็นโรคเช่นนั้นถึงกับภูษาเปื้อนโลหิต พวกพระสนมเห็นแล้ว
พากันเย้ยหยันว่า บัดนี้พระเจ้าอยู่หัวทรงมีระดู ต่อมพระโลหิตบังเกิดแก่พระ-
องค์แล้ว ไม่นานเท่าไรนัก พระองค์จักประสูติ เอาเถอะ พ่ออภัย เจ้าช่วยหา
หมอชนิดที่พอจะรักษาพ่อได้ให้ทีเถิด.
อ. ขอเดชะ นายชีวกผู้นี้เป็นหมอประจำข้าพระพุทธเจ้า ยังหนุ่ม
ทรงคุณวุฒิ เธอจักรักษาพระองค์ได้.
พ. พ่ออภัย ถ้าเช่นนั้นพ่อจงสั่งหมอชีวก เขาจักได้รักษาพ่อ.
ครั้งนั้นเจ้าชายอภัย สั่งชีวกโกมารภัจจ์ว่า พ่อชีวก เจ้าจงไป
รักษาพระเจ้าอยู่หัว ชีวกโกมารภัจจ์รับสนองพระบัญชาว่าอย่างนั้นพระเจ้าข้า
แล้วเอาเล็บตักยาเดินไปในราชสำนัก ครั้นถึงแล้วเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอม
 
๗/๑๓๑/๒๔๘

วันจันทร์, มิถุนายน 23, 2568

Yom

 
[๑๖] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่ง เป็นแผลที่หน้า เธอถามภิกษุ
ทั้งหลายว่า แผลของผมอาทิผิด เป็นเช่นไร ขอรับ ภิกษุทั้งหลายตอบอย่างนี้ว่า
แผลของคุณเป็นเช่นนี้ ขอรับ เธอไม่เชื่อ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดู
เงาหน้าที่แว่นหรือทำภาชนะนี้ได้ เพราะเหตุอาพาธ.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ทาหน้าเป็นต้น
[๑๗] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ทาหน้า ถูหน้า ผัดหน้า เจิมหน้า
ด้วยมโนศิลา ย้อมตัว ย้อมหน้า ย้อมทั้งตัวและหน้า ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า. . . เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลาย. .. กราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทาหน้า
ไม่พึงถูหน้า ไม่พึงผัดหน้า ไม่พึงเจิมหน้าด้วยมโนศิลา ไม่พึงย้อมตัว ไม่
พึงย้อมหน้า ไม่พึงย้อมอาทิผิด อักขระทั้งตัวและหน้า รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๑๘] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธด้วยโรคนัยน์ตา ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า. .. ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้
ทาหน้าได้ เพราะเหตุอาพาธ.
[๑๙] สมัยต่อมา ที่พระนครราชคฤห์ มีงานมหรสพบนยอดเขา
พระฉัพพัคคีย์ได้ไปเที่ยวดูงานมหรสพ ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้ไปดูการฟ้อนรำ การขับร้อง และ
 
๙/๑๗/๗

วันอาทิตย์, มิถุนายน 22, 2568

Pramuk

 
แล้ว จนทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตร ให้ห้ามภัตรแล้ว ได้นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง นางได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า หม่อมฉันขอถวาย
สวนอัมพปาลีวันนี้ แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขอาทิผิด อักขระ พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับเป็นสังฆารามแล้ว ครั้น แล้วพระองค์ทรงชี้แจงให้
นางอัมพปาลีเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา เสด็จลุกจาก
พระพุทธอาสน์แล้ว เสด็จพระพุทธดำเนินไป ทางป่ามหาวัน ทราบว่า พระองค์
ประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวันเขตพระนครเวสาลีนั้น.
เรื่องเจ้าลิจฉวีชาวพระนครเวสาลี จบ
ลิจฉวีภาณวาร จบ

เรื่องสีหะเสนาบดี
ทรงดำริเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
[๗๘] ก็โดยสมัยนั่นแล เจ้าลิจฉวีบรรดาที่มีชื่อเสียง มีคนรู้จัก นั่ง
ประชุมพร้อมกัน ณ ท้องพระโรงต่างพากันตรัสสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรม-
คุณ พระสังฆคุณ โดยอเนกปริยาย และเวลานั้น สีหะเสนาบดีสาวกของนิครนถ์
นั่งอยู่ในที่ประชุมนั้นด้วย จึงคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นจักเป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยไม่ต้องสงสัยเลย คงเป็นความจริง เจ้าลิจฉวี
บรรดาที่มีชื่อเสียง มีคนรู้จักเหล่านี้จึงได้นั่งประชุมพร้อมกัน ณ ท้องพระโรง
ต่างพากันตรัสสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณโดยอเนก
ปริยาย ถ้ากระไรเราพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
 
๗/๗๘/๑๒๔

วันเสาร์, มิถุนายน 21, 2568

Ukrit

 
[๑๙๐] ที่ชื่อว่า การงาน ได้แก่งานที่ทำ มี ๒ คือ งานทราม ๑
งานอุกฤษฏ์อาทิผิด อักขระ ๑.
ที่ชื่อว่า งานทราม ได้แก่งานช่างไม้ งานเทดอกไม้ ก็หรืองานที่
เขาเย้ยหยัน เหยียดหยาม เกลียดชัง ดูหมิ่น ไม่นับถือกันในชนบทนั้น ๆ
นี้ชื่อว่างานทราม.
ที่ชื่อว่า งานอุกฤษฏ์ ได้แก่งานทำนา งานค้าขาย งานเลี้ยงโค
ก็หรืองานที่เขาไม่เย้ยหยัน ไม่เหยียดหยาม ไม่เกลียดชัง ไม่ดูหมิ่น นับถือกัน
ในชนบทนั้น ๆ นี้ชื่อว่างานอุกฤษฏ์อาทิผิด อักขระ.
[๑๙๑] ที่ชื่อว่า ศิลป ได้แก่วิชาการช่าง มี ๒ คือ วิชาการ
ช่างทราม ๑ วิชาการช่างอุกฤษฏ์ ๑.
ที่ชื่อว่า วิชาการช่างทราม ได้แก่ วิชาการช่างจักสาน วิชาการ
ช่างหม้อ วิชาการช่างหูก วิชาการช่างหนัง วิชาการช่างกัลบก ก็หรือวิชาการ
ช่างที่เขาเย้ยหยัน เหยียดหยาม เกลียดชัง ดูหมิ่น ไม่นับถือกันในชนบท
นั้น ๆ นี้ชื่อว่าวิชาการช่างทราม.
ที่ชื่อว่า วิชาการช่างอุกฤษฏ์ ได้แก่วิชาการช่างนับ วิชาการช่าง
คำนวณ วิชาการช่างเขียน ก็หรือวิชาการช่างที่เขาไม่เย้ยหยัน ไม่เหยียดหยาม
ไม่เกลียดชัง ไม่ดูหมิ่น นับถือกันในชนบทนั้น ๆ นี้ชื่อว่าวิชาการช่างอุกฤษฏ์.
[๑๙๒] โรค แม้ทั้งปวง ชื่อว่าทราม แต่โรคเบาหวาน ชื่อว่า
โรคอุกฤษฏ์.
[๑๙๓] ที่ชื่อว่า รูปพรรณ ได้แก่รูปพรรณมี ๒ คือ รูปพรรณ
ทราม ๑ รูปพรรณอุกฤษฏ์ ๑.
 
๔/๑๙๐/๓๑

วันศุกร์, มิถุนายน 20, 2568

Rap

 
ในบทเป็นอาทิว่า ฉนฺโท จ อวูปสนฺโต ความว่า เวทนาอัน
สัมปยุตด้วยจิตประกอบด้วยโลภะ ๘ ดวง ย่อมมีในเพราะความไม่สงบแห่ง
ฉันทวิตกและสัญญาทั้งสาม แต่พอฉันทะสงบ เวทนาในปฐมฌาน ก็ย่อมมี
เวทนามีทุติยฌานเป็นต้น ท่านประสงค์แล้วในเพราะความสงบฉันทะและวิตก.
เวทนาในเนวสัญญานาสัญญายตนะย่อมมีในเพราะความสงบฉันทวิตกและ
สัญญาแม้สามได้. บทว่า อปฺปตฺตสฺส ปตฺติยา ได้แก่ เพื่อบรรลุอรหัตผล.
บทว่า อตฺถิ วายามํ ได้แก่ มีความเพียร. บทว่า ตสฺมิํปิ ฐาเน
อนุปฺปตฺเต ความว่า เมื่อถึงเหตุแห่งพระอรหัตผล ด้วยสามารถแห่งการ
ปรารภความเพียรนั้น. บทว่า ตปฺปจฺจยาปิ เวทยิตํ ความว่า เวทนา
ย่อมมีเพราะฐานะเป็นปัจจัยแห่งพระอรหัต เวทนาอันเป็นโลกุตระซึ่งเกิด
พร้อมกับมรรค ๔ ท่านถือเอาแล้วด้วยบทนั้นแล.
จบอรรถกถาปฐมวิหารสูตรที่ ๑

๒. ทุติยวิหารสูตร

เวทนามีเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัย.
[๔๙] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่ตลอด ๓ เดือน ใคร ๆ ไม่พึงเข้าไปหาเรา นอก
จากภิกษุผู้นำบิณฑบาตไปให้รูปเดียว ภิกษุทั้งหลายรับอาทิผิด พระดำรัสของพระผู้มี
ภาคเจ้าแล้ว ใน ๓ เดือนนี้ ไม่มีใครเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า นอกจาก
ภิกษุผู้นำบิณฑบาตไปถวายรูปเดียว.
[๕๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากที่หลีกเร้นโดยล่วง
ไป ๓ เดือนนั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง-
 
๓๐/๔๙/๔๒

วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 19, 2568

Khong

 
ในภายใน. เพราะฉะนั้นโคตรภูญาณนั้นย่อมออก คือตั้งอยู่ในเบื้องบน
ปราศจากสังขารนิมิตภายนอก ฉะนั้นโคตรภูญาณนั้นจึงชื่อว่าวุฏฐานะ,
โคตรภูญาณนั้นย่อมหลีกออก ย่อมหมุนกลับ คือหันหลังให้ ฉะนั้น
โคตรภูญาณนั้นจึงชื่อว่าวิวัฏฏนะ วุฏฐานะนั้นด้วย วิวัฏฏนะนั้นด้วย
ฉะนั้นจึงชื่อว่าวุฏฐานวิวัฏฏนะ. เพราะเหตุนั้นท่านพุทธโฆสาจารย์
จึงกล่าวว่า
โคตรภูญาณ ยังไม่ออกจากปวัตตขันธ์
เพราะตัดสมุทัยยังไม่ขาด แต่ออกจากนิมิตได้
เพราะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ฉะนั้นจึงชื่อว่า
เอกโตวุฏฐานะ คือออกจากสังขารนิมิตโดยส่วน
เดียว ดังนี้.
ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงำเสียได้ซึ่งโคตรปุถุชน และ
เพราะก้าวขึ้นสู่โคตรอริยะ. เพราะโคตรภูญาณนี้กระทำพระนิพพาน
ชื่อว่า อนิมิตตะ ไม่มีนิมิตให้เป็นอารมณ์ในที่สุดแห่งอาเสวนะแห่งอนุ-
โลมญาณของอาทิผิด อักขระจิตที่เหนื่อยหน่ายจากสังขารทั้งปวงดุจน้ำตกจากใบบัว, ก้าว
ล่วงเสียซึ่งโคตรปุถุชน ซึ่งอันนับว่าปุถุชน, ซึ่งภูมิแห่งปุถุชน, หยั่ง
ลงสู่โคตรแห่งอริยะ อันนับว่าอริยะ เป็นภูมิแห่งอริยะ, ยังความ
๑. ปัญญานิทเทส แห่งวิสุทธิมรรค.
 
๖๘/๐/๖๙

วันพุธ, มิถุนายน 18, 2568

Sattarasa

 
อรรถกถาสรูปสังฆาทิเสส ๑๗
ในคำว่า อุทฺทิฏฺฐา โข อยฺยาโย สตฺตรสอาทิผิด อักขระ สงฺฆาทิเสสา นี้
บัณฑิตพึงทราบปฐมาปัตติกะ ๙ สิกขาบท เพิ่มจากมหาวิภังค์ ๓ สิกขาบทนี้
คือ สัญจริตตสิกขาบท ๑ ทุฏฐโทสะ ๒ สิกขาบท เข้าในลำดับแห่งปฐมา-
ปัตติกะ ๖ สิกขาบท พึงทราบยาวตติยกะ ๘ สิกขาบท เพิ่มยาวตติยกะ ๔
สิกขาบท แม้จากมหาวิภังค์เข้าในลำดับแห่งยาวตติยกะ ๔ สิกขาบท.
บัณฑิต พึงเห็นใจความในคำว่า อุทฺทิฏฺฐา โข เป็นต้นนี้ อย่าง
นี้ว่า ดูก่อนแม่เจ้าทั้งหลาย ธรรม คือ สังฆาทิเสส ๑๗ ทั้งหมด ข้าพเจ้า
ยกขึ้นแสดงแล้วแล โดยมาตรว่า เป็นปาฏิโมกอาทิผิด อักขระขุทเทส ด้วยประการอย่างนี้.
คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น เว้นแต่ปักขมานัต. ส่วนปักขมานัตนั้น พวกเราจัก
พรรณนาโดยพิสดารในขันธกะแล.
สัตตรสกัณฑวรรณนาในภิกขุนีวิภังค์ ในอรรถกถาพระวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ
 
๕/๙๒/๑๑๑

วันอังคาร, มิถุนายน 17, 2568

Muea

 
ไม่นำพาทั้งนี้ของพวกเจ้าเหล่านี้ แล้วก็พากันออกไป เมื่อเป็น
เช่นนี้ เมื่อพระอรหันต์ที่ยังไม่มา ก็ไม่มาที่มาแล้วก็อยู่เป็นทุกข์
ประเทศนั้นก็ชื่อว่า ไม่เป็นที่น่าอยู่สำหรับบรรพชิต. นั้น การ
อารักขาของเทวดาก็ไม่มี เมื่ออาทิผิด อาณัติกะการอารักขาของเทวดาไม่มี พวก
อมนุษย์ย่อมได้โอกาส อมนุษย์จะหนาแน่น ย่อมทำพยาธิที่ยัง
ไม่เกิดขึ้น บุญอันเป็นวัตถุแห่งการเห็นผู้มีศีล และถามปัญหา
เป็นต้นก็จะไม่มาถึง. โดยปริยายตรงกันข้าม ธรรมฝ่ายขาว (กุศล)
ตามที่กล่าวแล้ว ก็จะเกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น พึงทราบความเจริญ
และความเสื่อมในเรื่องนี้ด้วยอาการอย่างนี้.
จบ อรรถกถาสารันททสูตรที่ ๑
 
๓๗/๑๙/๕๒

วันจันทร์, มิถุนายน 16, 2568

Taphon

 
ส่วนข้างหนึ่ง. ก็ห้วงน้ำที่มีปูอยู่นั้นเนื่องเป็นอันเดียวกันกับแม่น้ำ
คงคา ในเวลาที่แม่น้ำคงคาเต็ม ก็เต็มไปด้วยน้ำในแม่น้ำคงคา
เมื่อน้ำแม่น้ำคงคาน้อย น้ำในห้วงก็ไหลลงสู่แม่น้ำคงคา. ครั้งนั้น
ก้ามปูแม้ทั้งสองก้ามนั้นก็ลอยไปในแม่น้ำคงคา. ในก้ามปูสองก้ามนั้น
ก้ามหนึ่งลอยเข้าไปยังมหาสมุทร พระราชาพี่น้อง ๑๐ องค์ เล่นน้ำ
อยู่ ได้ไปก้ามหนึ่งกระทำตะโพนอาทิผิด อักขระชื่อว่าอณิกมุทิงคะ ส่วนอีกก้าม
ที่ลอยเข้าไปยังมหาสมุทร พวกอสูรถือเอาไปแล้วให้กระทำเป็นกลอง
ชื่ออฬัมพรเภรี. ในกาลต่อมา พวกอสูรเหล่านั้นถูกท้าวสักกะให้
พ่ายแพ้ในสงคราม จึงทิ้งอฬัมพรเภรีนั้นหลบหนีไป. ลำดับนั้น
ท้าวสักกะให้ยึดเอาอฬัมพรเภรีนั้นมาเพื่อเป็นประโยชน์แก่พระองค์.
อาจารย์บางพวกหมายเอากลองนั้นกล่าวว่า กลองอฬัมพระดังกระหึ่ม
ดุจเมฆคำรามฉะนั้น
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประ-
กาศสัจจะแล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ สามีภรรยาแม้
ทั้งสองก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ช้างพังในกาลนั้น ได้เป็นอุบาสิกา
ผู้นี้ ส่วนช้าง คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสุวรรณกักกฏกชาดกที่ ๗
 
๕๘/๔๐๒/๑๔๑

วันอาทิตย์, มิถุนายน 15, 2568

Patiset

 
ภิกษุผู้อยู่ในที่สงัดนี้ เห็นจะไม่คำนึงถึงคำสอน
ของพระศาสดา ผู้ทรงอนุเคราะห์สัตวโลก ด้วย
ประโยชน์อย่างยอดเยี่ยมเป็นแน่ จึงไม่สำรวมอินทรีย์
เหมือนแม่อาทิผิด อาณัติกะเนื้อลูกอ่อนในป่า ฉะนั้น ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น น ศัพท์ ในบทว่า น นูนายํ นี้ เป็นนิบาต
ลงในอรรถว่า ปฏิเสธอาทิผิด อักขระ. บทว่า นูน เป็นนิบาตลงในอรรถว่า ปริวิตก. ตัด
บทเป็น นูน อยํ. บทว่า ปรมหิตานุกมฺปิโน ความว่า ของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ผู้มีปกติอนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลายอย่างยอดเยี่ยม คือเปรียบไม่ได้ หรือ
ด้วยประโยชน์อย่างยิ่ง คือ อย่างเยี่ยม. บทว่า รโหคโต ตัดบทเป็น
รหสิ คโต (อยู่ในที่ลับ) อธิบายว่า อยู่ในสุญญาคาร คือเป็นผู้ประกอบ
ด้วยกายวิเวก.
ในบทว่า อนุวิคเณติ นี้ ต้องนำเอาบททั้งสองว่า น นนู มา
เชื่อมเข้าเป็น นานุวิคเณติ นูน ได้ความว่า เห็นจะไม่คิด คือไม่ตรึก
ตรองว่า จะต้องขวนขวาย. บทว่า สาสนํ ความว่า คำสอนคือข้อปฏิบัติ
อธิบายว่า ได้แก่ การเจริญจตุสัจจกรรมฐาน. บทว่า ตถา หิ ความว่า
เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ ได้แก่ เพราะไม่ขวนขวายคำสอนของพระศาสดานั่น
เอง. บทว่า อยํ แก้เป็น อยํ ภิกฺขุ แปลว่า ภิกษุนี้.
บทว่า ปากตินฺทฺริโย ความว่า ชื่อว่า ผู้มีอินทรีย์อันเป็นแล้ว
ตามสภาพ เพราะปล่อยอินทรีย์ทั้งหลาย มีใจเป็นที่ ๖ ไปในอารมณ์ทั้งหลาย
ตามใจของตน. อธิบายว่า เป็นผู้ไม่สำรวมจักษุทวารเป็นต้น ภิกษุนั้น ชื่อว่า
อยู่อย่างผู้ไม่สำรวมอินทรีย์ เพราะไม่ตัดกิเลสเครื่องข้องคือตัณหาใด พระ
เถระเมื่อจะแสดงข้ออุปมาแห่งกิเลสเครื่องข้องคือตัณหานั้น จึงกล่าวว่า มิคี
 
๕๐/๒๔๖/๔๙๓

วันเสาร์, มิถุนายน 14, 2568

Bot Wa

 
ชื่อว่ากายิกะ. แม้ความคะนองเป็นไปทางวาจาและเป็นไปทางจิต ก็มีนัยนี้
เหมือนกัน . บทว่า อจิตฺติการกโต ไม่ทำความเคารพ คือเว้นจากความ
นับถือมาก. บทว่า อนุปาหนานํ จงฺกมนฺตานํ เมื่อภิกษุผู้เป็นเถระเดิน
ไม่สวมรองเท้า คืออยู่ในที่ใกล้ภิกษุผู้เป็นเถระผู้เดินไม่สวมรองเท้า หรือ
บทนี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอนาทระ คือแปลว่า เมื่อ. บทว่า สอุปาหโน
คือ เดินสวมรองเท้า. บทว่า นีเจ จงฺกเม จงฺกมนฺตานํ เมื่อภิกษุผู้เป็น
เถระเดินในที่จงกรมต่ำ คือเมื่อภิกษุผู้เป็นเถระเดินจงกรมในพื้นที่ที่มิได้ทำ
การกำหนดไว้ เดินจงกรมในที่จงกรมซึ่งกำหนดไว้ เกลี่ยทรายทำที่เกาะ
แม้ต่ำ. บทว่า อุจฺเจ จงฺกเม จงฺกมติ เดินในที่จงกรมสูง คือในที่
จงกรมสูงล้อมด้วยเวทีก่ออิฐ. หากล้อมด้วยกำแพงประกอบด้วยซุ้มประตู
ก็ย่อมควรเพื่อเดินในที่จงกรมเช่นนั้น ซึ่งปกปิดไว้ด้วยดี ในระหว่างภูเขา
ระหว่างป่าและระหว่างพุ่มไม้. แม้ในที่ไม่ปกปิดละอุปจารเสียก็ควร. บท
ว่า ฆฏยนฺโตปิ ติฏฺฐติ ยืนเบียดบ้าง คือยืนใกล้เกินไป. บทอาทิผิด อักขระว่า ปุรโตปิ-
ติฏฺฐติ คือ ยืนบังหน้าบ้าง. บทว่า ฐิตโกปิ ภณติ ยืนทื่อพูดบ้าง คือ
พูดไม่ก้มเหมือนตอไม้. บทว่า พาหาวิกฺเขปโก แกว่งแขน คือแกว่งแขน
ไปข้างโน้นข้างนี้พูด. บทว่า อนุปขชฺช นั่งแทรกแซง คือเข้าไปยังที่ที่
พระเถระทั้งหลายนั่ง. บทว่า นเวปิ ภิกฺขู อาสเนน ปฏิพาหติ นั่งกีด
กันอาสนะพวกภิกษุนวกะบ้าง คือไม่นั่งบนอาสนะที่ถึงตนแล้ว เข้าไป
แทรกข้างหน้าบ้างข้างหลังบ้าง ชื่อว่ากีดกันอาสนะ. บทว่า อนาปุจฺฉาปิ
กฏฺํ ปกฺขิปติ ไม่บอกก่อนแล้วใส่ฟืนบ้าง คือไม่บอกไม่ขอความยินยอม
แล้วใส่ฟืนในไฟบ้าง. บทว่า ทฺวารํ ปิทหติ ปิดประตู คือปิดเรือนไฟ.
บทว่า โอตรติ หยั่งลง คือเข้าไปยังท่าน้ำ บทว่า นหายติ อาบน้ำ คือ
 
๖๖/๔๔๑/๙๗

วันศุกร์, มิถุนายน 13, 2568

Samphat

 
[๘] ก็ภพเป็นไฉน. ภพ ๓ เหล่านี้คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ
นี้เรียกว่าภพ.
[๙] ก็อุปาทานเป็นไฉน. อุปาทาน ๔ เหล่านี้คือ กามุปาทาน
ทิฏฐุปาทาน สีลพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่าอุปาทาน.
[๑๐] ก็ตัณหาเป็นไฉน. ตัณหา ๖ หมวดเหล่านี้คือ รูปตัณหา
สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา นี้
เรียกว่าตัณหา.
[๑๑] ก็เวทนาเป็นไฉน. เวทนา ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุ-
สัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหา-
สัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสอาทิผิด อักขระชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เรียกว่า
เวทนา.
[๑๒] ก็ผัสสะเป็นไฉน. ผัสสะ ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุสัมผัส
โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส นี้เรียกว่า
ผัสสะ.
[๑๓] ก็สฬายตนะเป็นไฉน. อายตนะคือ ตา หู จมูก ลิ้น
กาย ใจ นี้เรียกว่าสฬายตนะ.
[๑๔] ก็นามรูปเป็นไฉน. เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ
มนสิการ นี้เรียกว่านาม, มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔
นี้เรียกว่ารูป, นามและรูปดังพรรณนาฉะนี้ เรียกว่านามรูป.
[๑๕] ก็วิญญาณเป็นไฉน. วิญญาณ ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุ-
วิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณ.
 
๒๖/๑๑/๒๑

วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 12, 2568

Phra Hat

 
ลำไฟแลบออกจากช่องพระนาสิกเบื้องขวา ท่อ
น้ำไหลจากช่องพระนาสิกเบื้องซ้าย. ท่อน้ำไหลออก
จากช่องพระนาสิกเบื้องขวา ลำไฟแลบออกจากช่อง
พระนาสิกเบื้องซ้าย.
ลำไฟแลบออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องขวา ท่อ
น้ำไหลออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย, ลำไฟแลบ
ออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย ท่อน้ำไหลออกจาก
จะงอยพระอังสาเบื้องขวา.
ลำไฟแลบออกจากพระหัตถ์เบื้องขวา ท่อน้ำไหล
ออกจากพระหัตถ์อาทิผิด เบื้องซ้าย, ลำไฟแลบออกจากพระ-
หัตถ์เบื้องซ้าย ท่อน้ำไหลออกจากพระหัตถ์เบื้องขวา.
ลำไฟแลบออกจากพระปรัศว์เบื้องขวา ท่อน้ำ
ไหลออกจากพระปรัศว์เบื้องซ้าย, ลำไฟแลบออกจาก
พระปรัศว์เบื้องซ้าย ท่อน้ำไหลออกจากพระปรัศว์
เบื้องขวา.
ลำไฟแลบออกจากพระบาทเบื้องขวา ท่อน้ำ
ไหลออกจากพระบาทเบื้องซ้าย, ลำไฟแลบออกจาก
พระบาทเบื้องซ้าย ท่อน้ำไหลออกจากพระบาทเบื้อง
ขวา.
ลำไฟแลบออกจากทุกพระองคุลี ท่อน้ำไหลออก
จากระหว่างพระองคุลี, ลำไฟแลบออกจากระหว่าง
พระองคุลี ท่อน้ำไหลออกจากทุกพระองคุลี.
 
๗๓/๑/๑๐๐

วันพุธ, มิถุนายน 11, 2568

Krasik Krasi

 
ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับแค้นใจ จึงเกิดขึ้นได้
แก่เขา เพราะเห็นหญิงนั้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต่อมาชายคนนั้น มีความดำริอย่างนี้ว่า เรา
กำหนัด มีจิตปฏิพัทธ์ พอใจอย่างแรงกล้า มุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิงคน
โน้น ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับแค้นใจ
จึงเกิดขึ้นแก่เราได้ เพราะเห็นหญิงคนโน้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับ
ชายอื่น อย่ากระนั้นเลย เราพึงละความกำหนัด พอใจในหญิงคนโน้นที่เรา
มีนั้นเสียเถิด เขาจึงละความกำหนัดพอใจในหญิงคนโน้นนั้นเสีย สมัยต่อมา
เขาเห็นหญิงคนนั้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความโศก ความรำพัน ความ
ทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ จะพึงเกิดขึ้นแก่ชายนั้น เพราะ
เห็นหญิงคนโน้น ยืนพูดจากระซิกกระซี้อาทิผิด อักขระร่าเริงอยู่กับชายอื่นบ้างหรือไม่.
ภิ. ข้อนั้นหามิได้ พระพุทธเจ้าข้าอาทิผิด อักขระ.
พ. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร.
ภิ. พระพุทธเจ้าข้า เพราะชายคนโน้น คลายกำหนัดในหญิงคนโน้น
แล้ว ฉะนั้น ถึงเห็นหญิงนั้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น
ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับแค้นใจ ก็
ไม่เกิดแก่เขา.
[๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นแล ภิกษุไม่เอาทุกข์ทับถมตน
ที่ไม่มีทุกข์ทับถม ๑ ไม่สละความสุขที่เกิดขึ้นโดยธรรม ๑ ไม่เป็นผู้หมก
มุ่นในความสุขนั้น ๑ เธอย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า ถึงเรานี้ยังมีเหตุแห่งทุกข์
เมื่อเริ่มตั้งความเพียร วิราคะย่อมมีได้เพราะการตั้งความเพียร อนึ่ง ถึงเรา
 
๒๒/๑๔/๑๔

คลังบทความของบล็อก