วันอาทิตย์, มิถุนายน 15, 2568

Patiset

 
ภิกษุผู้อยู่ในที่สงัดนี้ เห็นจะไม่คำนึงถึงคำสอน
ของพระศาสดา ผู้ทรงอนุเคราะห์สัตวโลก ด้วย
ประโยชน์อย่างยอดเยี่ยมเป็นแน่ จึงไม่สำรวมอินทรีย์
เหมือนแม่อาทิผิด อาณัติกะเนื้อลูกอ่อนในป่า ฉะนั้น ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น น ศัพท์ ในบทว่า น นูนายํ นี้ เป็นนิบาต
ลงในอรรถว่า ปฏิเสธอาทิผิด อักขระ. บทว่า นูน เป็นนิบาตลงในอรรถว่า ปริวิตก. ตัด
บทเป็น นูน อยํ. บทว่า ปรมหิตานุกมฺปิโน ความว่า ของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ผู้มีปกติอนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลายอย่างยอดเยี่ยม คือเปรียบไม่ได้ หรือ
ด้วยประโยชน์อย่างยิ่ง คือ อย่างเยี่ยม. บทว่า รโหคโต ตัดบทเป็น
รหสิ คโต (อยู่ในที่ลับ) อธิบายว่า อยู่ในสุญญาคาร คือเป็นผู้ประกอบ
ด้วยกายวิเวก.
ในบทว่า อนุวิคเณติ นี้ ต้องนำเอาบททั้งสองว่า น นนู มา
เชื่อมเข้าเป็น นานุวิคเณติ นูน ได้ความว่า เห็นจะไม่คิด คือไม่ตรึก
ตรองว่า จะต้องขวนขวาย. บทว่า สาสนํ ความว่า คำสอนคือข้อปฏิบัติ
อธิบายว่า ได้แก่ การเจริญจตุสัจจกรรมฐาน. บทว่า ตถา หิ ความว่า
เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ ได้แก่ เพราะไม่ขวนขวายคำสอนของพระศาสดานั่น
เอง. บทว่า อยํ แก้เป็น อยํ ภิกฺขุ แปลว่า ภิกษุนี้.
บทว่า ปากตินฺทฺริโย ความว่า ชื่อว่า ผู้มีอินทรีย์อันเป็นแล้ว
ตามสภาพ เพราะปล่อยอินทรีย์ทั้งหลาย มีใจเป็นที่ ๖ ไปในอารมณ์ทั้งหลาย
ตามใจของตน. อธิบายว่า เป็นผู้ไม่สำรวมจักษุทวารเป็นต้น ภิกษุนั้น ชื่อว่า
อยู่อย่างผู้ไม่สำรวมอินทรีย์ เพราะไม่ตัดกิเลสเครื่องข้องคือตัณหาใด พระ
เถระเมื่อจะแสดงข้ออุปมาแห่งกิเลสเครื่องข้องคือตัณหานั้น จึงกล่าวว่า มิคี
 
๕๐/๒๔๖/๔๙๓

ไม่มีความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก