สา. ก็เพราะเหตุไร ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงพยากรณ์ไว้.
ก. เพราะข้อนั้นมีประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งการประพฤติ
พรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อ
เข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงทรงพยากรณ์ไว้.
จบปรัมมรณสูตรที่ ๑๒
อรรถกถาปรัมมรณสูตรที่ ๑๒
พึงทราบวินิจฉัยในปรัมมรณสูตรที่ ๑๒ ดังต่อไปนี้.
บทว่า ตถาคโต คือ สัตว์. บทว่า น เหตํ อาวุโส อตฺถสญฺหิตํ
ความว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ข้อนั้นคือทิฏฐิไม่อิงประโยชน์. บทว่า นาทิพฺรหฺม-
จริยกํ ความว่า ไม่เป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้นแห่งมรรคพรหมจรรย์.
บทว่า เอตญฺหิ อาวุโส อตฺถสญฺหิตํ ความว่า ข้อนั้น คือสัจจ-
กัมมัฏฐาน ๔ อิงประโยชน์. บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยกํ ข้อนั้น คือ
เบื้องต้น ได้แก่ข้อปฏิบัติเบื้องต้นแห่งมรรคพรหมจรรย์.
จบอรรถกถาปรัมมรณอาทิผิด อักขระสูตรที่ ๑๒
๑๓. สัทธรรมปฏิรูปกสูตร
ว่าด้วยพระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป
[๕๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ครั้งนั้น ท่านพระ-
๒๖/๕๓๑/๖๓๐

ก็ได้เป็นผู้กตัญญูกตเวทีแล้วเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า ข้าแต่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ในกาลไหนพระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล ช่างไม้ประมาณ ๕๐๐ คน
เข้าไปป่าใหญ่เชิงเขา ตัดทัพพสัมภาระได้แล้วผูกแพใหญ่ล่องลงแม่น้ำ
มีพระยาช้างเชือกหนึ่ง นัยว่า เอางวงจับกิ่งไม้ในที่ไม่เรียบร้อยแห่ง
หนึ่ง ไม่อาจจะธารกิ่งไม้หักได้ ก็เอาเท้าเหยียบลงตรงตอแหลม เท้า
ถูกตอแทง เกิดทุกขเวทนา ไม่สามารถออกไปเดินได้ ก็นอนลงที่นั้น
นั่นแหละ ล่วงไป ๒-๓ วัน พระยาช้างนั้นแลเห็นพวกช่างไม้ เดินมา
ใกล้ตัว ก็คิดว่า เราอาศัยช่างไม้เหล่านี้คงจักรอดชีวิตแน่ จึงได้เดิน
ไปตามรอยช่างไม้เหล่านั้น พวกเขาเหลียวกลับมาเห็นช้าง ก็กลัวจึงหนี
ไป พระยาช้างนั้นรู้ว่าเขาหนีก็หยุด ติดตามไปอีกเมื่อเวลาเขาหยุด
หัวหน้าช่างไม้คิดว่า ช้างเชือกนี้ เมื่อเราหยุดก็ตาม เมื่อเราหนีก็หยุด
คงจักต้องมีเหตุในที่นั้นแน่ ทุกคนอาทิผิด อักขระจึงพากันปีนขึ้นต้นไม้ นั่งคอยช้างมา
พระยาช้างนั้นเดินมาใกล้ช่างไม้เหล่านั้น ก็นอนกลิ้งแสดงเท้าของตน
เวลานั้น ช่างไม้ก็เกิดความเข้าใจ โดยกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ช้างนั่น
มาเพราะเจ็บป่วย ไม่ใช่มาเพราะเหตุอย่างอื่น จึงพากันเข้าไปใกล้
พระยาช้างนั้น เห็นตอตำเข้าไปในเท้า ก็รู้ว่า เพราะเหตุนี้เอง มันจึงมา
จึงเอามีดที่คม ขวั้นที่ปลายตอแล้วเอาเชือกผูกให้แน่น ช่วยกันดึงออก
มาได้ บีบปากแผลของมันนำเอาหนองและเลือดออก ล้างด้วยน้ำฝาด
ใส่ยาที่ตนรู้จัก ไม่นานนัก ก็ทำให้มันสบาย พระยาช้างหายป่วยแล้ว
คิดว่า ช่างไม้เหล่านี้มีอุปการะแก่เรามาก เราอาศัยช่างไม้เหล่านี้
จึงรอดชีวิต เราควรจะกตัญญูกตเวทีต่อพวกเขา จึงกลับไปที่อยู่ของตน
แล้วนำเอาลูกช้างตระกูลคันธะมา พวกช่างไม้เห็นลูกช้าง ก็ปลื้มใจ
๓๒/๑๔๙/๔๙๗

หกพรรษาแล้ว เทพดาทั้งหลายได้ร้องประกาศว่าล่วงไปหกพรรษาแล้ว บัดนี้
ถึงเวลาละ ท่านทั้งหลายพึงเข้าไปยังพระนครพันธุมดีราชธานีอาทิผิด สระ เพื่อสวดพระ-
ปาติโมกข์.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้น บางพวกไปด้วยอิทธา-
นุภาพของตน บางพวกไปด้วยอิทธานุภาพของเทวดา เข้าไปยังพระนครพันธุม-
ดีราชธานี โดยวันเดียวเท่านั้น เพื่อสวดพระปาติโมกข์
ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์
[๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ทรงสวดพระปาติโมกข์ในที่ประชุมพระภิกษุ
สงฆ์ดังนี้-
ขันติคือความทนทานเป็นตบะอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทั้ง
หลายตรัสว่า พระนิพพานเป็นธรรมอย่างยิ่ง ผู้ทำร้ายผู้อื่น
ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ไม่ชื่อว่าเป็น
สมณะเลย.
การไม่ทำบาปทั้งสิ้น การยังกุศลให้ถึงพร้อมการทำจิต
ของตนให้ผ่องใส นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
การไม่กล่าวร้าย ๑ การไม่ทำร้าย ๑ ความสำรวมใน
พระปาติโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้ประมาณในภัตตาหาร ๑
ที่นอนที่นั่งอันสงัด ๑ การประกอบความเพียรในอธิจิต ๑
หกอย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
[๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่ควงไม้พญาสาลพฤกษ์
ในป่าสุภวัน ใกล้อุกกัฏฐนคร ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไปเร้นอยู่ในที่ลับ
๑๓/๕๓/๕๕
คาถาเหล่านี้ มีอรรถพยัญชนะดี อันฤๅษีผู้เป็น
บัณฑิตกล่าวดีแล้ว คนใดคนหนึ่ง ฟังคาถาเหล่านี้
ให้มีประโยชน์พึงได้คุณพิเศษ ทั้งเบื้องต้นและเบื้อง
ปลาย ครั้นแล้ว พึงบรรลุถึงสถานที่ อันมัจจุราช
มองไม่เห็น.
[๒๔๗๗] สาลิสสระดาบส ในครั้งนั้นได้มาเป็น
พระสารีบุตร เมณฑิสสรดาบส ได้มาเป็นพระกัสสปะ
ปัพพตดาบส ได้มาเป็นพระอนุรุทธะ เทวลดาบสได้
มาเป็นพระกัจจายนะ อนุสิสสดาบส ได้มาเป็นพระ
อานนท์ กีสวัจฉดาบส ได้มาเป็นพระโกลิตะ คือพระ
โมคคัลลานะ พระนารทดาบส ได้มาเป็นพระปุณณ-
มันตานีบุตร บริษัทที่เหลือ ได้มาเป็นพุทธบริษัท
สรภังคดาบสโพธิสัตว์ ได้มาเป็นเราตถาคต เธอทั้ง-
หลายอาทิผิด อักขระจงทรงจำชาดกไว้อย่างนี้.
จบสรภังคชาดกที่ ๒
๖๑/๒๔๗๗/๕๘๘

ตั้งมั่น ชื่อว่า อัปปรชักขะอาทิผิด อักขระ. ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ชื่อว่า มหารชักขะ, ผู้มีปัญญา
ชื่อว่า อัปปรชักขะ, ผู้ทรามปัญญา ชื่อว่า มหารชักขะ ผู้มีกิเลสดุจธุลีใน
ดวงตามาก อนึ่ง บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่า ติกขินทริยะ มีอินทรีย์แก่กล้า
บุคคลผู้มีปัญญา ชื่อว่า มีปกติเห็นปรโลกและโทษว่าเป็นภัย บุคคลผู้ทราม
ปัญญา ชื่อว่า ไม่เห็นปรโลกและโทษว่าเป็นภัย. บทว่า โลโก ได้แก่
ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก สัมปัตติโลก วิปัตติภวโลก โลกหนึ่งได้
แก่สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร โลก ๒ ได้แก่นามและรูป โลก ๓ ได้แก่
เวทนา ๓ โลก ๔ ได้แก่อาหาร โลก ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์ ๕ โลก ๖
ได้แก่อายตนะภายใน ๖ โลก ๗ ได้แก่วิญญาณฐิติ ๗ โลก ๘ ได้แก่โลก
ธรรม ๘ โลก ๙ ได้แก่สัตตาวาส ๙ โลก ๑๐ ได้แก่อายตนะ ๑๐ โลก ๑๒
ได้แก่อายตนะ ๑๒ โลก ๑๘ ได้แก่ธาตุ ๑๘. บทว่า วชฺชํ ความว่า กิเลส
ทั้งหมดชื่อว่าโทษ ทุจริตทั้งหมดชื่อว่าโทษ อภิสังขารทั้งหมดชื่อว่าโทษ
กรรมที่นำสัตว์ไปสู่ภพทั้งหมดชื่อว่าโทษ ความสำคัญว่าในโลกนี้และในโทษนี้
เป็นภัยทั้งหมดปรากฏเหมือนเพชฌฆาตเงื้อดาบ. รู้เห็นรู้ทั่วแทงตลอดอินทรีย์
๕ เหล่านี้ โดยอาการ ๕๐ เหล่านี้ นี้ชื่อว่าอินทริยปโรปริยัตตญาณของพระ-
ตถาคต.
บทว่า อุปฺปลินิยํ ได้แก่ ในดงอุบล. แม้ในบทนอกนี้ ก็นัยนี้
เหมือนกัน. บทว่า อนฺโตนิมุคฺคโปสีนี ได้แก่ ดอกบัวที่จมอยู่ใต้น้ำอัน
น้ำหล่อเลี้ยงไว้. บทว่า อุทกํ อจฺจุคฺคมฺม ติฏฺฐนฺติอาทิผิด ได้แก่ ดอกบัวที่
โผล่ขึ้นพ้นน้ำ. ในดอกบัวเหล่านั้น ดอกบัวที่โผล่ขึ้นพ้นน้ำ ย่อมรอคอยสัมผัส
รัศมีพระอาทิตย์ ซึ่งจะบานในวันนี้ แต่ดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำ ซึ่งจะบานใน
วันพรุ่งนี้ ดอกบัวที่ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ใต้น้ำอาทิผิด สระอันน้ำหล่อเลี้ยงไว้ จะบานได้ใน
วันที่ ๓ แม้ดอกบัวที่เกิดในน้ำเป็นต้นอื่น ๆ ที่ยังไม่พ้นน้ำก็มี จักไม่บาน
๒๕/๕๕๘/๑๒๓

ว่าด้วยอทินนาทาน
การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ ชื่อว่า อทินนาทาน ท่านอธิบาย
ว่า การนำภัณฑะ (สิ่งของ) ของคนอื่นไป คือการลัก การขโมย. บรรดา
บทเหล่านั้น บทว่า อทินฺนํ ได้แก่ สิ่งของที่บุคคลอื่นหวงแหน. อธิบายว่า
บุคคลอื่นใช้ของที่ให้ทำแล้วตามชอบใจในสิ่งใด ไม่มีความผิดอาทิผิด อักขระ ไม่มีโทษ
เถยยเจตนาของบุคคลผู้มีความสำคัญ ในวัตถุอื่นบุคคลอื่นหวงแหนนั้น ก็รู้ว่า
ผู้อื่นหวงแหนแล้ว ให้ตั้งขึ้นด้วยความพยายามถือเอาสิ่งนั้น จึงชื่อว่า
อทินนาทาน. อทินนาทานนั้น ชื่อว่า มีโทษน้อย ในเพราะวัตถุอันเป็น
ของมีอยู่ของผู้อื่นน้อย ชื่อว่า มีโทษน้อย ในเพราะวัตถุประณีต เพราะเหตุไร
จึงมีโทษมาก เพราะวัตถุที่ลักไปนั้นเป็นของประณีต เมื่อวัตถุเสมอกัน
อทินนาทานนั้นชื่อว่ามีโทษมาก เพราะเป็นวัตถุของบุคคลผู้มีคุณอันยิ่ง ชื่อว่า
มีโทษน้อยในเพราะวัตถุอันมีอยู่ของบุคคลผู้มีคุณอันเลว โดยเทียบกับผู้มีคุณ
นั้น ๆ.
อทินนาทานนั้น มีองค์ ๕ คือ
๑. ปรปริคฺคหิตํ (สิ่งของที่เขาเก็บรักษาไว้)
๒. ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา (รู้ว่าสิ่งของที่เขาเก็บรักษาไว้)
๓. เถยฺยจิตฺตํ (มีจิตคิดลัก)
๔. อุปกฺกโม (มีความพยายาม)
๕. เตน หรณํ (นำสิ่งของนั้นไปด้วยความพยายามนั้น )
อทินนาทานนั้น มีประโยค ๖ มีสาหัตถิกปโยคะเป็นต้น ประโยค
เหล่านั้นแล ย่อมเป็นไปด้วยอำนาจแห่งอวหาร (การขโมย) ๕ เหล่านี้ คือ
๗๕/๑๖/๒๘๘

อัครสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสป ทรงสั่งให้นิมนต์มาแล้ว
ถวายบิณฑบาต ทรงสดับอนุโมทนาอยู่เทียว ได้เป็นพระโสดาบัน จึงตรัส
ถามว่า ภิกษุรูปอื่น ๆ ยังมีอีกบ้างไหม ได้ทรงสดับว่า พระศาสดาพร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์สองหมื่นรูป เสด็จประทับ อยู่ ณ ป่าอิสิปตนะ จึงทรงให้ไปนิมนต์มา
แล้วทรงถวายทาน. พระราชาทรงยังพระราชอาณาเขตให้สงบแล้ว เสด็จกลับ
แล้ว. ทีนั้นพวกพราหมณ์ทั้งหลายมาเฝ้าพระราชาก่อนกว่าทีเดียว กล่าวโทษ
พระธิดาแล้วแตกกัน. แต่พระราชาได้ทรงประทานพรไว้ในเวลาพระราชธิดา
ประสูติ. พระญาติทั้งหลาย ขอพรถวายพระนางว่า ขอให้ครองราชย์ ๗ วัน.
ครั้งนั้นพระราชาจึงทรงมอบราชสมบัติให้พระราชธิดาสิ้น ๗ วัน. พระราชธิดา
ทรงยังพระศาสดาให้เสวยอยู่ สั่งให้เชิญพระราชาเสด็จประทับนั่ง ณ ภายนอก
ม่านแล้ว. พอพระราชาได้ทรงสดับอนุโมทนาของพระศาสดาก็ได้เป็นพระ-
โสดาบัน. ก็ธรรมดาพระโสดาบันจะไม่ทรงมีอาฆาตปรารภพระตถาคต. เพราะ
ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า น ตถาคตํ อารพฺภอาทิผิด อักขระ แปลว่า ความเสียใจ ความ
โทมนัสใจ ไม่ได้ปรารภพระตถาคต.
บทว่า ยํ อิจฺฉติ ตํ หรตุ ความว่า ได้ยินว่า ฆฏิการะช่างหม้อ
ทำภาชนะทั้งหลายไว้ ไม่กระทำการซื้อและการขาย. ก็ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว
จึงไปสู่ป่า เพื่อหาฟืนบ้าง เพื่อหาดินบ้าง เพื่อหาใบไม้บ้าง. มหาชนได้ยินว่า
ฆฏิการะช่างหม้อทำภาชนะเสร็จแล้ว จึงถือเอาข้าวสาร เกลือ นมส้ม น้ำมัน
และน้ำอ้อยที่อย่างดี ๆ เป็นต้นมา. ถ้าภาชนะมีค่ามาก มูลค่า มีน้อย. จะต้องให้
สิ่งของสมควรกันจึงค่อยเอาไป ฉะนั้นมหาชนจึงยังไม่เอาภาชนะนั้นไป. จะต้อง
ไปนำเอามูลค่ามาอีก ด้วยคิดว่า ฆฏิการะช่างหม้อเป็นพ่อค้า ประกอบด้วยธรรม
ปฏิบัติบำรุงมารดาบิดา บำรุงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อกุศลจักมีแก่เราเป็นอันมาก
ดังนี้. แต่ถ้าภาชนะมีค่าน้อย มูลค่าที่เขานำมามีมาก จะช่วยเก็บงำมูลค่าที่นำ
๒๑/๔๒๒/๒๐

ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับนิยสอาทิผิด อักขระกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น . . .
พร้อมเพรียงกัน โดยไม่เป็นธรรม . . . เป็นวรรคโดยธรรม. . . เป็นวรรคโดย
เทียมธรรม. . . พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม. . . พึงแต่งจักรเหมือนหนหลัง.
ขอระงับปัพพาชนียกรรม
[๒๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลง
ปัพพาชนียกรรม แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึง
ขอระงับปัพพาชนียกรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่าง
นี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว ประพฤติ
โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปัพพาชนียกรรม
เอาละ พวกเราจะระงับปัพพาชนียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดย
ไม่เป็นธรรม ระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น. . . พร้อมเพรียงกันโดยไม่
เป็นธรรม. . . เป็นวรรคโดยธรรม. . . เป็นวรรคโดยเทียมธรรม . . . พร้อม
เพรียงกันโดยเทียมธรรม . . . พึงแต่งจักรเหมือนหนหลัง
ขอระงับปฏิสารณียกรรม
[๒๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงปฏิสาร-
ณียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอ
ระงับปฏิสารณียกรรม ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้
ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ประอาทิผิด อักขระพฤติ
โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม
เอาละ พวกเราจะระงับปฏิสารณียกรรมแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่
เป็นธรรม ระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น . . . พร้อมเพรียงกันโดยไม่
๗/๒๑๔/๔๒๑

ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่า
นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วย
ความถือผิดซึ่งรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ว่า นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.
[๒๙๖] ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ซึ่งจักขุวิญญาณ
โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณว่า
นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำอาทิผิด สระด้วย
ความถือผิดซึ่งจักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส
มโนสัมผัส ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือ
ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งจักษุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา
ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโน-
สัมผัสสชาเวทนา ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.
[๒๙๗] ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูปสัญญา
สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญา ว่า นั่น
ของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วย
ความถือผิดซึ่งรูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา
โผฏฐัพพสัญเจตนา ธรรมสัญเจตนา ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
ตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูปตัณหา สัททตัณหา
คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา ว่า นั่นของเรา เรา
เป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่ง
รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธรรมวิตก ว่า นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่ง
๖๙/๒๙๖/๒

จริงอยู่ กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมสำเร็จแก่ผู้มีสติ มีความรู้
ตัวเท่านั้น แม้ก็จริง, ถึงกระนั้น กรรมฐานอย่างอื่น นอกจากอานาปานัสสติ
กรรมฐานนี้ ย่อมปรากฏได้แก่ผู้ที่มนสิการอยู่. แต่อานาปานัสสติกรรมฐานนี้
เป็นภาระหนัก เจริญสำเร็จได้ยาก ทั้งเป็นภูมิแห่งมนสิการ ของมหาบุรุษ
ทั้งหลาย คือ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพุทธบุตรเท่านั้น,
ไม่ใช่เป็นกรรมฐานต่ำต้อย, ทั้งมิได้เป็นกรรมฐานที่สัตว์ผู้ต่ำต้อยซ่องเสพ,
เป็นกรรมฐานสงบและละเอียด โดยประการที่มหาบุรุษทั้งหลายย่อมทำไว้ใน
ใจ ; เพราะฉะนั้นในอานาปานัสสติกรรมฐานนี้ จำต้องปรารถนาสติและปัญญา
อันมีกำลัง. เหมือนอย่างว่า ในเวลาชุนผ้าสาฎกเนื้อเกลี้ยง แม้เข็มก็จำต้อง
ปรารถนาอย่างเล็ก, แม้ด้ายซึ่งร้อยในบ่วงเข็ม ก็จำต้องปรารถนาเส้นละเอียด
กว่านั้น ฉันใด, ในเวลาเจริญกรรมฐานนี้ ซึ่งเป็นเช่นกับผ้าสาฎกเนื้อเกลี้ยง
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สติมีส่วนเปรียบด้วยเข็มก็ดี ปัญญาที่สัมปยุตด้วยสตินั้น
มีส่วนเปรียบด้วยด้ายร้อยบ่วงเข็มก็ดี จำต้องปรารถนาให้มีกำลัง.
ก็แล ภิกษุผู้ประกอบด้วยสติและปัญญานั้นแล้ว ไม่จำต้องแสวงหา
ลมหายใจอาทิผิด อักขระเข้าและหายใจอาทิผิด อักขระออกนั้น นอกจากโอกาสที่ลมถูกต้องโดยปกติ. เปรียบ
เหมือนชาวนาไถนาแล้วปล่อยพวกโคถึก ให้บ่ายหน้าไปสู่ที่หากิน แล้วพึงนั่ง
พักที่ร่มไม้, คราวนั้นพวกโคถึกเหล่านั้นของเขาก็เข้าดงไป โดยเร็ว. ชาวนา
ผู้ฉลาด ประสงค์จะจับโคถึกเหล่านั้นมาเทียมไถอีก จะไม่เดินตามอาทิผิด อักขระรอยเท้าโค
ถึกเหล่านั้นเข้าไปยังดง, โดยที่แท้ เขาจะ ถือเอาเชือกและประตักเดินตรงไป
ยังท่าน้ำซึ่งโคถึกเหล่านั้นลงทีเดียว นั่งหรือนอนคอยอยู่. เวลานั้นเขาได้เห็น
โคเหล่านั้น ซึ่งเที่ยวไปสิ้นทั้งวัน แล้วลงไปสู่ท่าน้ำดื่มอาบและกินน้ำแล้ว
ขึ้นมายืนอยู่ จึงเอาเชือกผูกแล้วเอาประตักทิ่มแทง นำไปเทียม (ไถ) ทำการ
๒/๒๒๖/๓๖๔
๑๐. กันทคลกชาดก
นกหัวขวานตายเพราะไม้แก่น
[๒๖๙] ดูก่อนผู้เจริญ ต้นไม้ที่มีใบละเอียดมี
หนามนี้เป็นต้นไม้อะไร เราเจาะเพียงครั้งเดียว
ทำให้สมองศีรษะแตกได้.
[๒๗๐] นกกันทคลกะตัวนี้ เมื่อเจาะหมู่ไม้อยู่ใน
ป่า ได้เคยเที่ยวเจาะแต่ไม้แห้งที่ไม่มีแก่น ภาย
หลังมาพบเอาต้นตะเคียนซึ่งมีกำเนิดเป็นไม้แก่น
อันเป็นที่ทำลายสมองศีรษะ.
จบ กันทคลกอาทิผิด อักขระชาดกที่ ๑๐
อรรถกถากันทคลกชาดกที่ ๑๐
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภภิกษุเลียนเอาอย่างพระสุคต ตรัสพระธรรมเทศนานี้
มีคำเริ่มต้นว่า อมฺโภ โกนามยํ ลุทฺโท ดังนี้.
เรื่องย่อมีอยู่ว่า ในครั้งนั้นพระศาสดาทรงสดับว่า พระ-
เทวทัตได้เลียนเอาอย่างพระสุคต จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เทวทัตเลียนอย่างเรา ถึงความพินาศ มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้
เมื่อก่อนเทวทัตก็ได้ถึงความพินาศมาแล้ว ทรงนำเรื่องอดีต
มาตรัสเล่า.
๕๗/๒๗๐/๓๑๗

มีภิกษุสงฆ์แวดล้อม ประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ ที่เขาปูลาดไว้ ที่บริเวณ
พระคันธกุฎีแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บัดนี้เราเป็นคนแก่, ภิกษุบางพวก เมื่อเรากล่าวว่า เราจะไป
ทางนี้ บัดนี้ ก็กลับไปทางอื่นเสีย. ภิกษุบางพวก วางบาตรและจีวร
ของเราไว้ที่ภาคพื้น, พวกเธอจงรู้ภิกษุผู้จะอุปัฏฐากเราเป็นประจำ. เพราะ
ได้ฟังพระดำรัสนั้น ธรรมสังเวชเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย. ลำดับนั้น
ท่านพระสารีบุตรลุกขึ้น ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักอุปัฏฐากบำรุงพระองค์. พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ตรัสห้ามท่านพระสารีบุตร. พระมหาสาวกทั้งหมด เริ่มต้น
แต่พระมหาโมคคัลลานะไป เว้นท่านพระอานนท์เสีย พากันลุกขึ้นกราบ
ทูลโดยอุบายนั้นว่า ข้าพระองค์ จักอุปัฏฐาก, ข้าพระองค์ จักอุปัฏฐาก
ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ตรัสห้ามพระสาวกแม้เหล่านั้นเสีย. ส่วน
พระอานนท์นั้น ได้นั่งนิ่งแล้วทีเดียว. ลำดับนั้น พวกภิกษุ กล่าวกะท่าน
พระอานนท์นั้นว่า ผู้มีอายุ แม้ท่านก็จงทูลขอตำแหน่งการอุปัฏฐาก
ประจำพระศาสดาเถิด. พระอาทิผิด อาณัติกะอานนท์กล่าวว่า ถ้าทูลขอได้ตำแหน่งมาแล้ว
จะเป็นเช่นไร. ถ้าชอบใจ, พระศาสดา ก็จักตรัสเอง. ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าอื่น จะพึง
ให้อานนท์อุตสาหะขึ้นไม่ได้, ตนเองเท่านั้น ทราบแล้ว จักอุปัฏฐาก.
เรา, ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลาย พากันกล่าวว่า อานนท์ผู้มีอายุ เธอจง
ลุกขึ้น จงทูลขอตำแหน่งอุปัฏฐากกะพระศาสดาเถิด.
พระเถระลุกขึ้นแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า จักไม่ให้จีวรอันประณีต ที่พระองค์ได้แล้ว แก่ข้าพระองค์
๕๓/๓๙๗/๓๑๐

กันว่าเป็นความประสงค์เพื่อความหลุดพ้น ได้แก่มโนรถ เราไม่ประมาทเนือง ๆ
เข้าไปสู่กุฎี คือ สุญญาคาร เพื่อต้องการสิ่งใด คือ เพื่อประโยชน์อันใด
คือ เพื่อยังประโยชน์อันใดให้สำเร็จ ได้แก่เพื่อเห็นแจ้ง มุ่งแสวงหาวิชชา ๓ และ
ผลวิมุตติ ความดำริเหล่านั้นสำเร็จแล้วแก่เรา คือความดำริเหล่านั้นสำเร็จแล้ว
คือสมประสงค์เราแล้ว ทุกประการในบัดนี้ อธิบายว่า เป็นผู้มีความดำริที่เป็น
กุศลสำเร็จแล้ว คือมีมโนรถบริบูรณ์แล้ว เพื่อจะแสดงถึงความสำเร็จ แห่ง
ความดำริเหล่านั้น ท่านจึงกล่าวบทว่า มานานุสยมุชฺชหํอาทิผิด สระ (เราได้ถอนขึ้น
ซึ่งมานานุสัย) ดังนี้. ประกอบความว่า เพราะเหตุที่เราถอนขึ้น คือละ ได้แก่
ตัดขาดซึ่งมานานุสัย ฉะนั้น ความดำริทั้งหลายเหล่านั้น ของเราจึงสำเร็จ.
อธิบายว่า เมื่อละมานานุสัยได้แล้ว ขึ้นชื่อว่า อนุสัยที่ยังละไม่ได้ไม่มี และ
พระอรหัต ย่อมชื่อว่าเป็นอันได้บรรลุแล้วอีกด้วย เพราะฉะนั้น การละ
มานานุสัย ท่านจึงกล่าวกระทำให้เป็นเหตุ แห่งความสำเร็จของความดำริ
ตามที่กล่าวแล้ว.
จบอรรถกถาสีวลีเถรคาถา
จบวรรควรรณนาที่ ๖
แห่งอรรถกถาเถรคาถา ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี
ในวรรคนี้รวมพระเถระได้ ๑๐ รูป คือ
๑. พระโคธิกเถระ ๒. พระสุพาหุเถระ ๓. พระวัลลิยเถระ ๔.
พระอุตติยเถระ ๕ พระอัญชนวนิยเถระ ๖. พระกุฏิวิหารีเถระ ๗. พระทุติย-
กุฏิวิหารีเถระ ๘. พระรมณียกุฏิกเถระ ๙. พระโกสัลลวิหารีเถระ ๑๐.
พระสีวลีเถระ และอรรถกถา.
๕๐/๑๙๗/๓๑๐

เพราะฉะนั้นลูกช้างนั้นจึงไม่ถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะลงในน้ำ
ถ่ายแต่ริมฝั่งแม่น้ำภายนอกเท่านั้น. อยู่มาวันหนึ่ง ฝนตกลงมา
เหนือแม่น้ำ. คูถอาทิผิด ลูกช้างที่แห้งก็ไปสู่แม่น้ำ ได้ติดอยู่ที่พุ่มไม้
แห่งหนึ่งที่ท่ากรุงพาราณสี. ครั้งนั้นพวกควาญช้างของพระราชา
นำช้าง ๕๐๐ เชือกไปด้วยประสงค์จะให้อาบน้ำ. ช้างเหล่านั้น
ได้กลิ่นคูถของช้างอาชาไนยเข้า จึงไม่กล้าลงแม่น้ำสักตัวเดียว
ชูหางพากันหนีไปทั้งหมด. พวกควาญช้างจึงแจ้งเรื่องแก่นาย
หัตถาจารย์. พวกเขาคิดกันว่าในน้ำต้องมีอันตราย จึงทำความ
สะอาดน้ำเห็นคูถช้างอาชาไนยติดอยู่ที่พุ่มไม้ ก็รู้ว่านี่เองเป็นเหตุ
ในเรื่องนี้ จึงให้นำถาดมาใส่น้ำขยำคูถลงในถาดนั้นแล้วให้รด
จนทั่วตัวช้างทั้งหลาย. ตัวช้างก็มีกลิ่นหอม. ช้างเหล่านั้นจึง
ลงอาบน้ำกันได้. นายหัตถาจารย์ทูลเล่าเรื่องราวนั้นแด่พระราชา
แล้วกราบทูลว่า ขอเดชะพระองค์ควรสืบหาช้างอาชาไนยนั้น
นำมาเถิดพระเจ้าข้า.
พระราชาเสด็จสู่แม่น้ำด้วยเรือขนาน เมื่อเรือขนานแล่น
ไปถึงตอนบน ก็บรรลุถึงที่อยู่ของพวกช่างไม้. ลูกช้างกำลัง
เล่นน้ำอยู่ได้ยินเสียงกลอง จึงกลับไปยืนอยู่กับพวกช่างไม้.
พวกช่างไม้ถวายการต้อนรับพระราชาแล้วกราบทูลว่า ขอเดชะ
หากพระองค์มีพระประสงค์ด้วยไม้ เหตุไรต้องเสด็จมา จะทรง
ส่งคนให้ขนไปไม่ควรหรือพระเจ้าข้า. พระราชารับสั่ง นี่แน่
พนาย เรามิได้มาเพื่อประสงค์ไม้ดอก แต่เรามาเพื่อต้องการช้าง
๕๗/๑๖๒/๓๗

ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉน เธอ
เมื่อถูก ไต่สวนเพราะต้องอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ จึงได้นิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบาก
การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ครั้นทรงติเตียนแล้ว ทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ถ้ากระนั้นสงฆ์จงยกวิเหสกกรรมแก่ภิกษุฉันนะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงยกวิเหสกกรรมอย่างนั้น
กรรมวาจาลงวิเหสกกรรม
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติย-
กรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังอาทิผิด ข้าพเจ้า ภิกษุฉันนะนี้ถูกไต่สวน
ด้วยอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ได้นิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบาก ถ้าความ
พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงยกวิเหสกกรรมแก่ภิกษุฉันนะ
นี่เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังอาทิผิด ข้าพเจ้า ภิกษุฉันนะนี้ถูกไต่สวน
ด้วยอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ได้นิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบาก สงฆ์ยก
วิเหสกกรรมแก่ภิกษุฉันนะ การยกวิเหสกกรรมแก่ภิกษุฉันนะ
ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน
ผู้นั้นพึงพูด.
วิเหสกกรรมอันสงฆ์ยกแล้วแก่ภิกษุฉันนะ ชอบแก่สงฆ์
เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
๔/๓๖๐/๒๘๙
อรรถกถาทุติยขตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในทุติยขตสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
ในบทว่า มาตริ ปิตริ จ เป็นอาทิ นายมิตตวินทุกะ ชื่อว่าปฏิบัติผิด
ในมารดา. พระเจ้าอชาตศัตรู ชื่อว่าปฏิบัติผิดในบิดา. เทวทัต ชื่อว่าปฏิบัติ
ผิดในพระตถาคต. โกกาลิกะ ชื่อว่าปฏิบัติผิดในพระสาวกของพระตถาคต.
บทว่า พหุญฺจ แปลว่า มาก. บทว่า ปสวติ แปลว่า ย่อมได้. บทว่า
ตาย ความว่า ด้วยความประพฤติอาทิผิด อธรรมกล่าวคือความปฏิบัติผิดนั้น. บทว่า
เปจฺจ คือไปจากโลกนี้. บทว่า อปายญฺจ คจฺฉติ คือเขาจะต้องบังเกิดใน
นรกเป็นต้นแห่งใดแห่งหนึ่ง. ส่วนในสุกกปักข์ (ธรรมฝ่ายดี) ก็นัยนี้เหมือนกัน.
จบอรรถกถาทุติยขตสูตรที่ ๔
๕. อนุโสตสูตร
ว่าด้วยบุคคล ๔ ปรากฏในโลก
[๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ นี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔
คือใคร คือบุคคลไปตามกระแส ๑ บุคคลไปทวนกระแส ๑ บุคคลตั้งตัว
ได้แล้ว (ไม่ตามและไม่ทวนกระแส) ๑ บุคคลข้ามถึงฝั่งขึ้นอยู่บนบกเป็น
พราหมณ์ ๑
บุคคลไปตามกระแส เป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้เสพกาม
ด้วย ทำบาปกรรมด้วย นี้เรียกว่า บุคคลไปตามกระแส.
๓๕/๕/๑๐
เมื่อบุรุษนั้น กำลังกราบทูลพระราชาอยู่ แผ่นดินก็แยกช่องให้.
เขาก็จุติไปบังเกิดในอเวจีมหานรก ในขณะนั้นเอง. พระราชาก็เสด็จออกจาก
พระราชอุทยาน เสด็จสู่พระนคร.
พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำอดีตนิทานนี้มาแสดงจบแล้ว ตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในชาติก่อน พระเทวทัต
ก็กลิ้งศิลา ประทุษร้ายเราเหมือนกันแล้วทรงประชุมชาดกว่า บุรุษผู้ประทุษ
ร้ายมิตรในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระเทวทัต พญาวานร ได้มาเป็นเราผู้
ตถาคต ฉะนี้แล.
จบอรรถกถามหากปิอาทิผิด อักขระชาดก
๗. ทกรักขสชาดก
ว่าด้วยผีเสื้อน้ำ
[๒๓๗๒] ถ้าผีเสื้อน้ำแสวงหาเครื่องเซ่น ด้วย
มนุษย์ พึงจับเรือของพระนางสลากเทวี พระราชชนนี
พระนางนันทาเทวี อัครมเหสี พระติขิณกุมารราช
อนุชา ธนุเสขกุมารผู้สหาย เกวัฏพราหมณ์ปุโรหิต
มโหสถบัณฑิต และพระองค์รวมเป็น ๗ ผู้แล่นเรือ
ไปในทะเล พระองค์จะพระราชทานใครอย่างไร ให้
ตามลำดับ แก่ผีเสื้อน้ำ พระเจ้าข้า.
[๒๓๗๓] ข้าพเจ้าจะให้พระราชมารดาก่อนให้
พระมเหสี ให้กนิษฐภาดา ต่อแต่นั้นไปก็จะให้สหาย
๖๑/๒๓๗๑/๔๕๕

เพียบพร้อมอาทิผิด อักขระด้วยบุญกรรมอยู่ในเทวโลกมีบริษัทเท่าใด
บริษัทเท่านั้น จักถูกบังด้วยดอกรัง เขาเป็นผู้ประกอบ
ด้วยบุญกรรม จักรื่นเริงอยู่ในเทวโลกนั้น ด้วยการ
ฟ้อน การขับ การประโคม อันเป็นทิพย์ในกาลนั้น
ทุกเมื่อ บริษัทของเขาประมาณเท่าที่มี จักมีกลิ่น
หอมฟุ้ง และฝนดอกรัง จักตกลงทั่วไปในขณะนั้น
มาณพนี้ จุติจากเทวโลกแล้ว จักมาสู่ความเป็นมนุษย์
แม้ในมนุษยโลกนี้ หลังคาดอกรังก็จักทรงอยู่ ตลอด
กาลทั้งปวง ณ มนุษยโลกนี้ การฟ้อนและการขับที่
ประกอบด้วยกังสดาล จักแวดล้อมมาณพนี้อยู่เป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา และเมื่อพระอาทิตย์อุทัย ฝน
ดอกรังก็จักตกลง ฝนดอกรังที่บุญกรรมปรุงแต่งแล้ว
จักตกลงทุกเวลา ในกัปที่ ๑,๘๐๐ พระศาสดา มีพระ
นามว่า “ โคดม ” จึงสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกากราช
จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก มาณพนี้จักเป็นทายาทในธรรม
ของพระศาสดาพระองค์นั้น เป็นโอรสอันธรรม
เนรมิต จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักไม่มีอาสวะ
ปรินิพพาน เมื่อเขาตรัสรู้ธรรมอยู่ จักมีหลังคาดอกรัง
เมื่อถูกฌาปนกิจอยู่บนเชิงตะกอน ที่เชิงตะกอนนั้น
ก็จักมีหลังคาดอกรัง พระมหามุนี ทรงพระนามว่า
ปิยทัสสี ทรงพยากรณ์วิบากแล้ว ทรงแสดงธรรมแก่
บริษัท ให้อิ่มหนำด้วยฝนคือธรรม เราได้เสวยราช
สมบัติในเทวโลก ในหมู่เทวดา ๓๐ กัป ได้เป็น
๕๑/๒๗๔/๗๗
อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่นั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเราอย่างนี้แล้ว จึงหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น ดูก่อน
กัปปะ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล มนัสจึงปราศจาก
อหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีใจครองนี้ และในสรรพนิมิต
ภายนอก ก้าวล่วงมานะอาทิผิด อักขระด้วยดี สงบระงับ พ้นวิเศษแล้ว.
จบ กัปปสูตรที่ ๒
จบ ธรรมกถิกวรรค
อรรถกถากัปปสูตรที่ ๒
กัปปสูตรที่ ๒ (มีเนื้อความ) เหมือนกับราหุโลวาทสูตรนั่นแล.
จบ อรรถกถากัปปสูตรที่ ๒
จบ อรรถกถาธรรมกถิกวรรคที่ ๒
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้คือ
๑. อวิชชาสูตร ๒. วิชชาสูตร ๓. ธรรมกถิกสูตรที่ ๑ ๔.
ธรรมกถิกสูตรที่ ๒ ๕. พันธนสูตร ๖. ปริมุจจิตสูตรที่ ๑ ๗. ปริมุจ-
จิตสูตรที่ ๒ ๘. สังโยชนสูตร ๙. อุปาทานสูตร ๑๐. สีลสูตร ๑๑.
สุตวาสูตร ๑๒. กัปปสูตรที่ ๑ ๑๓. กัปปสูตรที่ ๒
๒๗/๓๑๙/๓๙๐

สวนทางพวกโจรไปก็ดี ไม่เป็นสินใช้แก่เธอเหล่านั้น. ถ้าข้าวยาคูและภัต
หรืออาหารที่จะพึงถวายในวิหารไม่มีแก่ภิกษุผู้รับหน้าที่รักษาวิหาร, จะตั้งสลาก
ข้าวยาคูอาทิผิด ๒-๓ ที่ ซึ่งมีเหลือเฟืออาทิผิด จากลาภที่ภิกษุเหล่านั้นพึงได้ และสลากภัต
พอแก่ภิกษุผู้เฝ้าวิหารเหล่านั้น ก็ควร แต่ไม่ควรตั้งให้เป็นประจำ. เพราะว่า
พวกชาวบ้าน จะมีความร้อนใจว่า พวกภิกษุผู้รับหน้าที่เฝ้าวิหารเท่านั้น
ย่อมฉันภัตของพวกเรา. เพราะเหตุนั้น จึงควรผลัดเปลี่ยนวาระกันตั้งไว้.
ถ้าพวกภิกษุที่เป็นสภาคกัน ของภิกษุรับวาระเฝ้าวิหารเหล่านั้น นำสลากภัต
มาถวาย, ข้อนั้นก็เป็นการดี, ถ้าไม่ถวาย, ควรให้ภิกษุทั้งหลายรับวาระแล้ว
ให้นำมาถวายเถิด. ถ้าภิกษุผู้รับหน้าที่รักษาวิหาร เมื่อได้รับสลากข้าวยาคู
๒-๓ ที่ และสลากภัต ๔ - ๕ ที่เสมอ ยังไปภิกขาจาร, สิ่งของหายไปทั้งหมด
เป็นสินใช้แก่เธอ เหมือนภิกษุภัณฑาคาริก ฉะนั้น. ถ้าภัตหรือค่าจ้างเพื่อภัต
ของสงฆ์ ที่จะพึงถวายแก่ภิกษุผู้เฝ้าวิหารไม่มี ภิกษุรับเอาตามวาระเฝ้าวิหาร
แล้ว จึงให้นิสิตของตน ๆ ช่วยปฏิบัติจะไม่รับเอาวาระที่มาถึง ย่อมไม่ได้,
ควรทำเหมือนอย่างที่ภิกษุเหล่าอื่นทำอยู่ฉะนั้น. แต่ว่าภิกษุใด ไม่มีสหายหรือ
เพื่อน ไม่มีภิกษุผู้ชอบพอกันที่จะนำภัตมาให้, ภิกษุทั้งหลาย ไม่ควรให้วาระ
ถึงแก่ภิกษุเห็นปานนั้น. ภิกษุทั้งหลายตั้งแม้ส่วนใดไว้ในวิหาร เพื่อประโยชน์
เป็นเสบียงกรัง. ควรตั้งภิกษุผู้รับเอาส่วนนั้นเลี้ยงชีพ ( ให้เป็นผู้รับวาระ ).
ภิกษุใดไม่รับเอาส่วนนั้นเลี้ยงชีพ, ไม่ควรให้ภิกษุนั้นรับวาระ. ภิกษุทั้งหลาย
แต่งตั้งภิกษุไว้ในวิหาร แม้เพื่อต้องการให้รักษาผลไม้น้อยใหญ่, ครั้นปฏิบัติ
รักษาแล้วก็แจกกันฉันตามคราวแห่งผลไม้. ภิกษุที่ฉันผลไม้เหล่านั้น ควรตั้ง
ให้รับวาระ. ภิกษุผู้ไม่อาศัย (ผลไม้นั้น) เลี้ยงชีพ ไม่ควรให้รับวาระ. ภิกษุ
ทั้งหลายจะแต่งตั้งภิกษุไว้ แม้เพื่อต้องการให้รักษาเสนาสนะ เตียง ตั่ง และ
๒/๑๗๕/๑๙๓