วันเสาร์, พฤษภาคม 08, 2564

Akkhika

 
เป็นแน่ จึงยังไม่ควรให้อุปสมบทแท้. แต่บำเพ็ญวัตรครบ ๔ เดือนแล้ว จึง
ควรให้อุปสมบท. และถ้ากำลังอยู่ปริวาสกำหนดมหาภูตรูป ๔ ได้. กำหนด
อุปาทายรูปได้, กำหนดนามรูปได้, เริ่มวิปัสสนายกขึ้นสู่ไตรลักษณ์. ธรรมดา
ผู้ได้โลกิยธรรม ยังกำเริบได้เป็นปกติ จึงยังไม่ควรให้อุปสมบทอยู่นั่นเอง.
แต่ถ้าเจริญวิปัสสนาแล้ว ได้โสดาปัตติมรรค วัตรเป็นอันบริบูรณ์แท้, ทิฏฐิ
ทั้งปวงเป็นอันเธอรื้อแล้ว, ลูกศรคือวิจิกิจฉาเป็นอันเธอถอนขึ้นแล้ว ควรให้
อุปสมบทในวันนั้นทีอาทิผิด อาณัติกะเดียว. ถ้าแม้เธอคงอยู่ในเพศเดียรถีย์ แต่เป็นโสดาบัน
กิจที่จะต้องให้ปริวาสย่อมไม่มี ควรให้บรรพชาอุปสมบทในวันนั้นแท้.
ข้อว่า อุปชฺฌายมูลกํ จีวรํ ปริเยสิตพฺพํ มีความว่า จีวรสำหรับ
เขา สงฆ์ควรมอบให้อุปัชฌาย์เป็นใหญ่แสวงหามา. ถึงบาตรก็เหมือนกัน.
เพราะเหตุนั้น ถ้าบาตรจีวรของอุปัชฌาย์มี พึงบอกอุปัชฌาย์ว่า จงให้แก่ผู้นี้.
ถ้าไม่มี ภิกษุเหล่าอื่นเป็นผู้อยากจะให้ แม้ภิกษุเหล่าอื่นนั้น พึงถวายอุปัชฌาย์
นั้นแลด้วยคำว่า จงทำบาตรจีวรนี้ให้เป็นของท่านแล้วให้แก่ผู้นี้. ถามว่า
เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะขึ้นชื่อว่าพวกเดียรถีย์ย่อมเป็นข้าศึก จะพึงพูด
ได้ว่า บาตรจีวร สงฆ์ได้ให้ผม ๆ มีอะไรเกี่ยวเนื่องในพวกท่าน ดังนี้แล้ว
ไม่ทำตามคำตักเตือนพร่ำสอน. แต่ว่า เพราะเขามีความเป็นอยู่เนื่องในอุปัชฌาย์
จึงจักเป็นผู้ทำตามคำของท่าน. เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า จีวร
ของเขา พึงให้อุปัชฌาย์เป็นใหญ่แสวงหามา.
บทว่า ภณฺฑุกมฺมาย คือ เพื่อปลงผม. ภัณฑุกรรมกถา จักมา
ข้างหน้า.
บทว่า อคฺคิกาอาทิผิด อักขระ ได้แก่ผู้บำเรอไฟ.
บทว่า ชฏิลกา ได้แก่ดาบส.
 
๖/๑๐๐/๒๓๗

ไม่มีความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก