วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 27, 2564

Apparachakkha

 
ตั้งมั่น ชื่อว่า อัปปรชักขะอาทิผิด อักขระ. ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ชื่อว่า มหารชักขะ, ผู้มีปัญญา
ชื่อว่า อัปปรชักขะ, ผู้ทรามปัญญา ชื่อว่า มหารชักขะ ผู้มีกิเลสดุจธุลีใน
ดวงตามาก อนึ่ง บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่า ติกขินทริยะ มีอินทรีย์แก่กล้า
บุคคลผู้มีปัญญา ชื่อว่า มีปกติเห็นปรโลกและโทษว่าเป็นภัย บุคคลผู้ทราม
ปัญญา ชื่อว่า ไม่เห็นปรโลกและโทษว่าเป็นภัย. บทว่า โลโก ได้แก่
ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก สัมปัตติโลก วิปัตติภวโลก โลกหนึ่งได้
แก่สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร โลก ๒ ได้แก่นามและรูป โลก ๓ ได้แก่
เวทนา ๓ โลก ๔ ได้แก่อาหาร โลก ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์ ๕ โลก ๖
ได้แก่อายตนะภายใน ๖ โลก ๗ ได้แก่วิญญาณฐิติ ๗ โลก ๘ ได้แก่โลก
ธรรม ๘ โลก ๙ ได้แก่สัตตาวาส ๙ โลก ๑๐ ได้แก่อายตนะ ๑๐ โลก ๑๒
ได้แก่อายตนะ ๑๒ โลก ๑๘ ได้แก่ธาตุ ๑๘. บทว่า วชฺชํ ความว่า กิเลส
ทั้งหมดชื่อว่าโทษ ทุจริตทั้งหมดชื่อว่าโทษ อภิสังขารทั้งหมดชื่อว่าโทษ
กรรมที่นำสัตว์ไปสู่ภพทั้งหมดชื่อว่าโทษ ความสำคัญว่าในโลกนี้และในโทษนี้
เป็นภัยทั้งหมดปรากฏเหมือนเพชฌฆาตเงื้อดาบ. รู้เห็นรู้ทั่วแทงตลอดอินทรีย์
๕ เหล่านี้ โดยอาการ ๕๐ เหล่านี้ นี้ชื่อว่าอินทริยปโรปริยัตตญาณของพระ-
ตถาคต.
บทว่า อุปฺปลินิยํ ได้แก่ ในดงอุบล. แม้ในบทนอกนี้ ก็นัยนี้
เหมือนกัน. บทว่า อนฺโตนิมุคฺคโปสีนี ได้แก่ ดอกบัวที่จมอยู่ใต้น้ำอัน
น้ำหล่อเลี้ยงไว้. บทว่า อุทกํ อจฺจุคฺคมฺม ติฏฺฐนฺติอาทิผิด ได้แก่ ดอกบัวที่
โผล่ขึ้นพ้นน้ำ. ในดอกบัวเหล่านั้น ดอกบัวที่โผล่ขึ้นพ้นน้ำ ย่อมรอคอยสัมผัส
รัศมีพระอาทิตย์ ซึ่งจะบานในวันนี้ แต่ดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำ ซึ่งจะบานใน
วันพรุ่งนี้ ดอกบัวที่ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ใต้น้ำอาทิผิด สระอันน้ำหล่อเลี้ยงไว้ จะบานได้ใน
วันที่ ๓ แม้ดอกบัวที่เกิดในน้ำเป็นต้นอื่น ๆ ที่ยังไม่พ้นน้ำก็มี จักไม่บาน
 
๒๕/๕๕๘/๑๒๓

ไม่มีความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก