
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทิทํ เป็นนิบาต บทว่า ยทิทํ นั้น
มีอรรถว่า โย อยํ. ในบทว่า อวิชฺชาปจฺจยา เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อ
ไปนี้ ชื่อว่า อวิชชา เพราะประสบสิ่งที่ไม่ควรประสบมีกายทุจริต
เป็นต้น. ชื่อว่า อวิชชา เพราะไม่ประสบสิ่งที่ควรประสบมีกายสุจริต
เป็นต้น. ชื่อว่า อวิชชา เพราะกระทำสภาวะแห่งธรรมที่ไม่วิปริต ไม่ให้
รู้แจ้ง, ชื่อว่า อวิชชา เพราะยังสัตว์ให้แล่นไปในภพเป็นต้น ในสงสารอัน
เว้นจากที่สุด. ชื่อว่า อวิชชา เพราะแล่นไปในสิ่งที่ไม่มี ไม่แล่นไปในสิ่งที่
มี. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อวิชชา เพราะเป็นปฏิปักษ์ ต่อ วิชชา. อวิชชานั้น
พึงทราบว่ามี ๔ อย่าง โดยนัยมีอาทิว่า ทุกฺเข อญาณํ ความไม่รู้ทุกข์.
ชื่อว่า ปัจจัย เพราะอาศัยไป คือเกิดขึ้นและเป็นไปไม่ละเว้นผล. อีก
อย่างหนึ่ง ธรรมที่มีการสนับสนุนเป็นอรรถ ชื่อว่า ปัจจัย. อวิชชานั้นด้วย
เป็นปัจจัยด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มีอวิชชาเป็นปัจจัย. เพราะมี
อวิชชาเป็นปัจจัยนั้น. ชื่อว่า สังขาร เพราะปรุงแต่ง. ได้แก่กุศลเจตนา
และอกุศลเจตนาฝ่ายโลกิยะ กุศลเจตนาและอกุศลเจตนานั้น พึงทราบว่ามี
๓ อย่าง คือ ปุญญาภิสังขาร ๑ อปุญญาภิสังขาร ๑ อาเนญชาภิสังขาร ๑.
ชื่อว่า วิญญาณ เพราะรู้แจ้ง. วิญญาณนั้นมี ๓๒ (หรืออเหตุกวิบาก ๑๕
มหาวิบากจิต ๘ มหัคคตวิบาก ๙) ด้วยอำนาจวิบากวิญญาณฝ่ายโลกิยะ.
ชื่อว่า นาม เพราะน้อมไป ได้แก่นามขันธ์ ๓ มีเวทนาเป็นต้น. ชื่อว่า
รูป เพราะอรรถว่าสลายไป ได้แก่ภูตรูป ๔ และอุปาทายรูป ๒๔ มี
จักขุปสาทรูปเป็นต้น. ชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นที่ต่อ และนำสัตว์ไป
สู่สงสารอาทิผิด อาณัติกะทุกข์. ชื่อว่า ผัสสะ เพราะถูกต้อง. ชื่อว่า เวทนา เพราะเสวย
(อารมณ์). แม้ทั้งสองนั้น ว่าโดยทวารมี ๖ ว่าโดยวิบากมี ๓๖. ชื่อว่า
๔๔/๓๘/๖๕

เหมือนทอง แม้เสมอด้วยไม้ประยงค์ ก็ชื่อว่ากระสับกระส่าย เพราะ
อรรถว่าไหลออกเป็นนิจ. บทว่า อณฺฑภูโต ความว่า เป็นเหมือนฟองไข่
ใช้การไม่ได้ ฟองไข่ไก่ก็ตาม ฟองไข่นกยูงก็ตาม ที่คนเอามาทำเป็น
ลูกข่าง จับโยนหรือขว้างไป ไม่อาจจะเล่นได้ ย่อมแตกในขณะนั้น
นั่นเอง ฉันใด กายแม้นี้ก็ฉันนั้น เมื่อคนเหยียบชายผ้าก็ดี สะดุดตอก็ดี
ล้มลง ย่อมแตกเป็นเหมือนฟองไข่ ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า อณฺฑภูโต.
บทว่า ปริโยนทฺโธ ได้แก่ เพียงผิวหนังที่ละเอียดหุ้มไว้ เพราะฟองไข่มี
เปลือกแข็งหุ้มไว้ฉะนั้นแม้เหลือบยุงเป็นต้นแอบเข้าไปเจาะผิวที่ฟองไข่นั้น
ก็ไม่อาจให้น้ำเยื่อไข่ไหลออกมาได้ แต่ที่กายนี้ เจาะผิวหนังทำได้ตาม
ปรารถนา กายนี้ผิวหนังที่ละเอียดหุ้มไว้อย่างนี้. บทว่า กิมญฺญตฺร พาลฺยา
ความว่า อย่างอื่นนอกจากความอ่อนแอ จะมีอะไรเล่า กายนี้อ่อนแอ
จริงๆ. บทว่า ตสฺมา ได้แก่ เพราะกายนี้เป็นอย่างนี้
บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่า คฤหบดีชื่อนกุลบิดาอาทิผิด เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นสัทธรรมจักรพรรดิ ต่อมาประสงค์จะทำ
ความเคารพพระธรรมเสนาบดี จึงเข้าไปหาพระสารีบุตรถึงที่อยู่
เหมือนราชบุรุษเข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิแล้วต่อมาจึงเข้าไปหา
ท่านปรินายกรัตน์ (อัครมหาเสนาบดี). บทว่า วิปฺปสนฺนามิ ได้แก่ ผ่องใส
ด้วยดี. บทว่า อินฺทฺริยานิ ได้แก่ อินทรีย์มีใจเป็นที่ ๖. บทว่า ปริสุทฺโธ
ได้แก่ ปราศจากโทษ. คำว่า ปริโยทาโต เป็นไวพจน์ของคำว่า ปริสุทฺโธ
นั่นเอง. จริงอยู่ ท่านพระสารีบุตรนี้ ท่านเรียกว่า ปริโยทาโต เพราะท่าน
ปราศจากอุปกิเลสนั่นเอง มิใช่เพราะเป็นคนขาว. คฤหบดีพอเห็นความ
ผ่องแผ้วของพระสารีบุตรเท่านั้น ก็รู้ว่าท่านมีอินทรีย์ผ่องใส. ได้ยินว่า
นี้เป็นปัญญาคาดคะเนของพระเถระ.
๒๗/๕/๙

ว่าด้วยกุกกุลนรก
[๕๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และนรกคูถนั้น มีนรกเต็มด้วยเถ้า
รึง๑ ใหญ่ประกอบอยู่รอบด้าน สัตว์นั้นจะตกลงไปในนรกเถ้ารึงนั้น สัตว์นั้น
ย่อมเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อยู่ในนรกเถ้ารึงนั้น และยังไม่
ตายตราบเท่าบาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นสุด.
[๕๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และนรกเถ้ารึงนั้น มีป่างิ้วใหญ่ประกอบ
อยู่รอบด้าน ต้นสูงชลูดขึ้นไปโยชน์หนึ่ง มีหนามยาว ๑๖ องคุลี มีไฟติดทั่ว
ลุกโพลง โชติช่วง เหล่านายนิรยบาลจะบังคับให้สัตว์นั้นขึ้น ๆ ลง ๆ ที่ต้นงิ้ว
นั้น สัตว์นั้นย่อมเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อยู่ที่ต้นงิ้วนั้น และ
ยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมนั้น ยังไม่สิ้นสุด.
[๕๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และป่างิ้วนั้น มีป่าต้นไม้ใบเป็นดาบ
ใหญ่ประกอบอยู่รอบด้าน สัตว์นั้นจะเข้าไปในป่านั้น จะถูกใบไม้ที่ลมพัด
ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือและเท้าบ้าง และตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง
ตัดทั้งใบหูและจมูกบ้าง สัตว์นั้นย่อมเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ
อยู่ที่ป่าต้นไม้มีใบเป็นดาบนั้น และยังไม่ตายตราบอาทิผิด อักขระเท่าบาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นสุด.
[๕๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และป่าต้นไม้มีใบเป็นดาบนั้น มีแม่น้ำ
ใหญ่น้ำเป็นด่าง ประกอบอยู่รอบด้าน สัตว์นั้นจะตกลงไปในแม่น้ำนั้น จะลอย
อยู่ในแม่น้ำนั้น ตามกระแสบ้าง ทวนกระแสบ้าง ทั้งตามและทวนกระแส
บ้าง สัตว์นั้นย่อมเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อยู่ในแม่น้ำนั้น และ
ยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นสุด.
[๕๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านายนิรยบาลพากันเอาเบ็ดเกี่ยว
สัตว์นั้น ขึ้นวางบนบก แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ เจ้าต้องการ
๑. เถ้ารึง คือ ถ่านที่ติดไฟคุอาทิผิด อักขระมีขี้เถ้าปิดข้างนอกอยู่รอบด้าน
๒๓/๕๒๐/๑๙๙

ทรงฉลาดในเทศนา เมื่อจะทรงแสดงบุคคลผู้กระทำก่อน จึงตรัสบทนี้ว่า
บุคคลย่อมกระทำกรรมอันลามก. ในบททั้งหลายนั้น บทว่า ถึงฉันทาคติ
ความว่า ถึงอคติ ด้วยความพอใจ คือด้วยความรัก กระทำสิ่งไม่ควรทำ.
แม้ในบทอื่นก็มีนัยนี้แล. ในบททั้งหลายนั้น ผู้ใดทำผู้ไม่เป็นเจ้าของให้
เป็นเจ้าของ ด้วยสามารถความพอใจว่า ผู้นี้เป็นมิตรของเรา เป็นผู้ชอบพอ
กับเรา เป็นผู้คบหากันมา เป็นญาติสนิทของเรา หรือให้ของขวัญแก่เรา
ดังนี้ ผู้นี้ถึงฉันทาคติ ชื่อว่าย่อมทำกรรมอันลามก. ผู้ใดกระทำผู้ไม่เป็น
เจ้าของให้เป็นเจ้าของด้วยสามารถมีเวรกันเป็นปกติว่า ผู้นี้เป็นผู้มีเวรกับ
เราดังนี้ หรือด้วยสามารถความโกรธอันเกิดขึ้นในขณะนั้น ผู้นี้ถึงโทสาคติ
ชื่อว่าย่อมทำกรรมอันลามก. อนึ่ง ผู้ใด เพราะความเป็นผู้มีปัญญาอ่อน
เพราะความเป็นผู้โง่ทึบ พูดไม่เป็นเรื่อง กระทำผู้ไม่เป็นเจ้าของให้เป็น
เจ้าของ ผู้นี้ถึงโมหาคติ ชื่อว่าย่อมกระทำกรรมอันลามก. อนึ่ง ผู้ใดกลัวว่า
ผู้นี้เป็นราชวัลลภหรือเป็นผู้อาศัยอยู่กับศัตรู พึงทำความฉิบหายแก่เราดังนี้
แล้วทำผู้ไม่เป็นเจ้าของให้เป็นเจ้าของ ผู้นี้ถึงภยาคติ ชื่อว่าย่อมทำกรรม
อันลามก. อนึ่ง ผู้ใด เมื่อแบ่งของอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมให้ของเกิน
เป็นพิเศษ ด้วยสามารถความรักว่า ผู้นี้เป็นเพื่อนของเราหรือร่วมกินร่วม
นอนกับเรา ย่อมให้ของพร่องลงไปด้วยสามารถความโกรธว่า ผู้นี้เป็นศัตรู
ของเราดังนี้ เพราะความโง่เขลา ไม่รู้ของที่ให้แล้วและยังไม่ให้ ย่อมให้
ของพร่องแก่บางคน ให้ของมากแก่บางคนกลัวว่าผู้นี้เมื่อเราไม่ให้สิ่งนี้ พึง
ทำแม้ความฉิบหายแก่เรา ย่อมให้ของเกินเป็นพิเศษแก่บางคน ผู้นั้นแม้
เป็นผู้มีอคติ ๔ อย่างนี้ ก็ถึงอคติมีฉันทาคติเป็นต้นตามลำดับอาทิผิด อักขระ ชื่อว่าย่อม
๑๖/๒๐๖/๙๙
ข้าพระองค์เผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . . คำ
สอนของพระพุทธเจ้า ข้าพระองค์ได้ทำเสร็จแล้ว
ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอุกกาสติเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบอุกกาสติกเถราปทาน
๔๗๓. อรรถกถาอุกกาสติกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โกสิโย นาม ภควา ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าชื่อว่า
โกสิยะเพราะเกิดในโกสิยโคตรอาทิผิด อักขระ. บทว่า จิตฺตกูเฏ ความว่า ในบรรดายอดภูเขา
ที่ตั้งเรียงรายอยู่ ปกคลุมสระอโนดาต เช่น ภูเขาจิตตกูฏ ภูเขาเกลาสกูฏ และ
ภูเขาสานุกูฏเป็นต้น พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นั้น อยู่ที่ภูเขาจิตตกูฏอันงดงาม
วิจิตรไปด้วยรัตนะและโอสถเป็นต้นนานาชนิดที่เกิดบนยอดภูเขาทั้งหลาย.
จบอรรถกถาอุกกาสติกเถราปทาน
สุมนวีชนิยเถราปทานที่ ๔อาทิผิด (๔๗๔)
ว่าด้วยผลแห่งการพัดไม้โพธิ์
[๖๔] เราเป็นผู้มีใจโสมนัส จับพัดวีชนี
พัดไม้โพธิ์อันอุดม ที่ไม้โพธิ์ของพระผู้มีพระภาค-
เจ้าพระนามว่าวิปัสสี ซึ่งเป็นไม้สูงสุด
๗๒/๖๔/๑๐๕

๓. อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร
[๓๕๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวันอารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปอาทิผิด ด้วยกันกลับจาก
บิณฑบาตภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา เกิดข้อ
สนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง
ไม่น่าเป็นไปได้เลย. ข้อที่พระตถาคตมีอิทธานุภาพมาก ซึ่งเป็นเหตุให้ทรง
ทราบพระพุทธเจ้าในอดีตผู้ปรินิพพานแล้ว ทรงตัดปปัญจธรรมแล้ว ทรงตัด
ตอวัฏฏะแล้ว ทรงครอบงำวัฏฏะแล้ว ทรงล่วงทุกข์ทั้งปวงแล้ว ว่าพระผู้มี-
พระภาคเจ้านั้น ๆ มีพระชาติอย่างนี้บ้าง มีพระนามอย่างนี้บ้าง มีโคตรอย่างนี้
บ้าง มีศีลอย่างนี้บ้าง มีธรรมอย่างนี้บ้าง มีปัญญาอย่างนี้บ้าง มีวิหารธรรม
อย่างนี้บ้าง มีวิมุตติอย่างนี้บ้าง เมื่อภิกษุเหล่านั้นสนทนากันอย่างนี้ ท่าน
พระอานนท์ได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระ-
ตถาคตทั้งหลาย ทั้งน่าอัศจรรย์และประกอบด้วยธรรมอาทิผิด อักขระน่าอัศจรรย์พระตถาคต
ทั้งหลาย ทั้งไม่น่าเป็นไปได้และประกอบด้วยธรรมไม่น่าเป็นไปได้ ข้อสนทนา
กันในระหว่างของภิกษุเหล่านั้น ค้างอยู่เพียงเท่านี้.
[๓๕๘] ฉะนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากสถานที่ทรง
หลีกเร้นอยู่ในเวลาเย็น เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลานั่นแล้วจึงประทับนั่ง ณ
อาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้ แล้วตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมสนทนาเรื่องอะไรกัน และพวกเธอสนทนาเรื่องอะไร
กันในระหว่างค้างอยู่แล้ว.
๒๓/๓๕๗/๓๘

ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อะไร ๆ ว่า นี้ของเรา หรือว่า
นี้ของคนอาทิผิด อักขระเหล่าอื่น ฯลฯ เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อ
ว่า ผู้ใดไม่มีความถือว่าของตนอาทิผิด อักขระในโลก.
ว่าด้วยผู้ไม่เศร้าโศก
[๔๓๙] คำว่า เมื่อสิ่งที่ถือว่าของตนไม่มี ย่อมไม่เศร้าโศก
ความว่า ไม่เศร้าโศกถึงวัตถุที่แปรปรวนไปแล้ว หรือเมื่อวัตถุแปรปรวน
ไปแล้วไม่เศร้าโศกถึง คือไม่เศร้าโศกถึง ไม่ลำบากใจ ไม่คร่ำครวญ
ไม่ทุบอกร่ำไร ไม่ถึงความหลงใหลว่า จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย
ใจของเรา แปรปรวนไปแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะของเรา
แปรปรวนไปแล้ว สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของเรา แปรปรวนไปแล้ว
มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง บุตร ธิดา มิตร
พวกพ้อง ญาติสาโลหิตของเรา แปรปรวนไปแล้ว แม้เพราะเหตุอย่างนี้
ดังนี้ จึงชื่อว่า ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ไม่มี.
อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดเป็นผู้อันความไม่ยินดี คือ ทุกขเวทนาถูกต้อง
ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศกถึง ไม่ลำบากใจ ไม่
คร่ำครวญ ไม่ทุบอกร่ำไร ไม่ถึงความหลงใหล คือ เป็นผู้อันโรคจักษุ
โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่หู โรคปาก
โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม
โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน
๖๖/๔๓๙/๖๐
มากที่ได้สดับนั้นแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ บุคคลผู้สดับมาก แต่
ไม่ได้ประโยชน์เพราะการสดับ เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้สดับมาก ทั้งได้ประโยชน์เพราะการสดับเป็นอย่างไร
(นวังคสัตถุศาสนา คำสอนของพระศาสดามีองค์ ๙ คือ) สุตตะ ฯลฯ เวทัลละ
บุคคลบางคนในโลกนี้ได้สดับมาก ทั้งเขารู้อรรถรู้ธรรมแห่งคำสอนเป็นอันมาก
ที่ได้สดับนั้นแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลผู้สดับมาก ทั้งได้
ประโยชน์เพราะการสดับ เป็นอย่างนี้แล.
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลบุคคล ๔ จำพวกมีปรากฏอยู่ในโลก.
บุคคลใด ถ้าเป็นคนสดับน้อย ทั้งไม่
ตั้งอยู่ในศีล บัณฑิตทั้งหลายย่อมติเตียน
บุคคลนั้นทั้ง ๒ ทาง คือทั้งทางศีล ทั้ง
ทางสดับ.
บุคคลใด ถ้าแม้เป็นคนสดับน้อย
แต่ตั้งมั่นอยู่ในศีล บัณฑิตทั้งหลายย่อม
สรรเสริญบุคคลนั้นทางศีล แต่การสดับ
ของเขาบกพร่อง.
บุคคลใด ถ้าแม้เป็นคนสดับมากอาทิผิด อักขระ
แต่ไม่ตั้งมั่นอยู่ในศีล บัณฑิตทั้งหลายย่อม
ติเตียนบุคคลนั้นทางศีล แต่การสดับของ
เขาพอการ.
บุคคลใด ถ้าเป็นคนสดับมาก ทั้ง
ตั้งมั่นอยู่ในศีล บัณฑิตทั้งหลายย่อม
สรรเสริญบุคคลนั้นทั้ง ๒ ทาง คือทั้งทาง
ศีล ทั้งทางการสดับ.
๓๕/๖/๑๕

ในพระไตรปิฎกทั้ง ๓ มิใช่น้อย มีอาทิเช่น อุทานสังคหะ (หมวดอุทาน)
วรรคสังคหะ เปยยาลสังคหะ นิปาตสังคหะ หมวดนิบาตมีเอกนิบาต ทุกนิบาต
เป็นต้น สังยุตตสังคหะ และปัณณาสสังคหะเป็นต้น สังคายนาแล้วอย่างนี้
สิ้น ๗ เดือน.
ก็ในการอวสานแห่งการสังคายนาพระพุทธพจน์นั้น มหาปฐพีนี้ได้
สั่นสะเทือน เลื่อนลั่น หวั่นไหว มีประการมิใช่น้อยหยั่งลงไปถึงน้ำรองแผ่นดิน
เป็นที่สุด เป็นดุจมีความปราโมทย์อันเกิดขึ้นพร้อมแล้วให้อยู่ซึ่งสาธุการว่า
จงดูศาสนาของพระทศพลนี้ อันพระมหากัสสปเถระกระทำอาทิผิด สระให้สามารถเพื่อเป็น
ไปตลอดกาลประมาณ ๕,๐๐๐อาทิผิด ปี และได้เกิดมหัศจรรย์ทั้งหลายอเนกประการ.
ว่าโดยเฉพาะอภิธรรม
ก็ในปิฎกนี้ เมื่อพระเถระทั้งหลายสังคายนาพระพุทธพจน์แล้วอย่างนี้
พระอภิธรรมนี้ เมื่อว่าโดยปิฎก เป็นอภิธรรมปิฎก เมื่อว่าโดยนิกาย
เป็นขุททกนิกาย เมื่อว่าโดยองค์ เป็นไวยากรณ์ เมื่อว่าโดยธรรมขันธ์
เป็นธรรมขันธ์ หลายพันธรรมขันธ์ (๒๒,๐๐๐ ธรรมขันธ์). บรรดาภิกษุ
ทั้งหลายผู้ทรงพระอภิธรรมนั้น ในกาลก่อนมีภิกษุรูปหนึ่งนั่งอยู่ในที่ประชุม
บริษัท เมื่อจะนำสูตรจากพระอภิธรรมมากล่าว ได้กล่าวธรรมกถาว่า รูปขันธ์
เป็นอัพยากตะ ขันธ์ ๔ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี อายตนะ
๑๐ เป็นอัพยากตะ อายตนะ ๒ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี
ธาตุ ๑๖ เป็นอัพยากตะ ธาตุ ๒ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี
สมุทัยสัจจะเป็นอกุศล มรรคสัจจะเป็นกุศล นิโรธสัจจะเป็นอัพยากตะ ทุกข-
สัจจะเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี อินทรีย์ ๑๐ เป็นอัพยากตะ
โทมนัสสินทรีย์เป็นอกุศล อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์เป็นกุศล อินทรีย์ ๔
๗๕/๑/๖๐

เข้ามาหาอาตมภาพแล้วได้กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ท่านอย่าปฏิบัติเพื่อ
ตัดอาหารเสียโดยประการทั้งปวงเลย ถ้าท่านจักปฏิบัติเพื่อตัดอาหารเสียโดย
ประการทั้งปวง ข้าพเจ้าทั้งหลายจักแทรกอาทิผิด อักขระโอชาอันเป็นทิพย์ตามขุมขนของท่าน
ท่านจักได้ยังชีวิตให้เป็นอยู่ด้วยโอชาอันเป็นทิพย์นั้น. อาตมภาพได้มีความคิด
เห็นว่า เราเองด้วยพึงปฏิญาณการไม่บริโภคอาหารโดยอาทิผิด ประการทั้งปวง เทวดา
เหล่านี้ด้วยพึงแทรกอาทิผิด อักขระโอชาอันเป็นทิพย์ตามขุมอาทิผิด อักขระขนของเรา เราพึงยังชีวิตให้เป็นไป
ด้วยโอชาอันเป็นทิพย์นั้นด้วย ข้อนั้นพึงเป็นมุสาแก่เรา ดังนี้. อาตมภาพ
บอกเลิกกะเทวดาเหล่านั้น จึงกล่าวว่าอย่าเลย. แล้วอาตมภาพได้มีความคิด
เห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงบริโภคอาหารลดลงวันละน้อย ๆ คือ วันละฟายมือ
บ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อใน
เมล็ดบัวบ้าง. อาตมภาพจึงบริโภคอาหารลดลงวันละน้อย คือ วันละฟายมือบ้าง
เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง
เมื่อบริโภคอาหารลดลงวันละน้อย ๆ คือ วันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง
เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง กายก็ผอมเหลือเกิน
[๕๐๓] เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อยนั่นเอง อวัยวะน้อยใหญ่ของ
อาตมภาพย่อมเป็นเหมือนเถาวัลย์มีข้อมาก หรือเถาวัลย์มีข้อดำอาทิผิด อักขระ ฉันนั้น ตะโพก
ของอาตมภาพเป็นเหมือนเท้าอูฐ ฉะนั้น กระดูกสันหลังของอาตมภาพผุดระกะ
เปรียบเหมือนเถาวัฏฏนาวฬี ซี่โครงของอาตมภาพขึ้นนูนเป็นร่อง ๆ ดังกลอน
ศาลาเก่ามีเครื่องมุงอันหล่นโทรมอยู่ ฉะนั้น ดวงตาของอาตมภาพถล่มลึกเข้า
ไปในเบ้าตา ประหนึ่งดวงดาวปรากฏในบ่อน้ำลึกฉะนั้น ผิวศีรษะของอาตมภาพ
ที่รับสัมผัสอยู่ก็เหี่ยวแห้ง ดุจดังผลน้ำเต้าที่ตัดมาสด ๆ อันลมและแดดกระทบ
อยู่ก็เหี่ยวแห้ง ฉะนั้น. อาตมภาพคิดว่าจะลูบผิวหนังท้อง ก็จับถูกกระดูกสันหลัง
คิดว่าจะลูบกระดูกสันหลัง ก็จับถูกผิวหนังท้อง. ผิวหนังท้องกับกระดูกสันหลัง
๒๑/๕๐๓/๑๑๕
๔. ธรรมที่ไม่ใช่อัปปฏิฆธรรม อาศัยธรรมที่ไม่ใช่
อัปปฏิฆธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ
๗. ธรรมที่ไม่ใช่สัปปฏิฆอาทิผิด อักขระธรรม อาศัยธรรมที่ไม่ใช่
สัปปฏิฆธรรม และไม่ใช่อัปปฏิฆธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
มี ๓ วาระ
การนับจำนวนวาระในอนุโลม
[๗๐] ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ.
สหชาตวาระก็ดี ฯลฯ สัมปยุตตวาระก็ดี เหมือนกับปฏิจจวาระ.
ปัญหาวาระ
อนุโลมนัย
๑. เหตุปัจจัย
[๗๑] ๑. ธรรมที่ไม่ใช่สัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่
ไม่ใช่สัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
๒. ธรรมที่ไม่ใช่สัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่
ไม่ใช่อัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
๓. ธรรมที่ไม่ใช่สัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่
ไม่ใช่สัปปฏิฆธรรม และไม่ใช่อัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของเหตุ
ปัจจัย.
๙๑/๖๙/๔๖

อรรถกถาภัททชิสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในภัททชิสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อภิภู ได้แก่ ครอบงำตั้งอยู่ คือ เป็นใหญ่. บทว่า อนภิภูโต
ได้แก่ อันคนอื่นครอบงำมิได้. บทว่า อญฺทตฺถุ เป็นนิบาต ใช้ในคำว่า
ส่วนเดียว. อธิบายว่า เห็นด้วยทัสสนะย่อมเห็นทั้งหมด บทว่า วสวตฺตี ได้แก่
ยังชนทั้งหมดให้อยู่ในอำนาจ. บทว่า ยถา ปสฺสโต ได้แก่ เห็นอาการของ
อารมณ์ไม่ว่าจะเป็นอิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์. บทว่า อนนฺตรา อาสวานํ
ขโย โหติ ได้แก่ พระอรหัตย่อมเกิดขึ้นในลำดับนั่นเอง. แม้ในบทว่า ยถา
สุณโต นี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปอันใดด้วยจักษุแล้ว
เริ่มตั้งวิปัสสนาบรรลุอาทิผิด อักขระพระอรหัตในลำดับ ติดต่อกันนั่นแหละพระอรหัตของภิกษุ
นั้น ย่อมชื่อว่ามีในลำดับของจักขุวิญญาณ พระอานนทเถระหมายถึงพระอรหัต
นั้น จึงกล่าวว่า นี้เป็นยอดแห่งการเห็น. แม้ในบทที่สองก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า ยถา สุขิตสฺส ได้แก่ ถึงความสุขด้วยมรรคสุขใด. บทว่า
อนนฺตรา อาสวานํ ขโย โหติ ได้แก่ พระอรหัตย่อมเกิดขึ้นในลำดับ
แห่งมรรคสุขนั้นนั่นเอง. บทว่า อิทํ สุขานํ อคฺคํ ได้แก่ มรรคสุขนี้
เป็นยอดแห่งความสุขทั้งหลายอาทิผิด สระ. แม้ในบทว่า ยถา สญฺญิสฺส นี้ ท่านประสงค์
เอามรรคสัญญานั่นเอง. บทว่า ยถาภูตสฺส ได้แก่ ตั้งอยู่แล้วในภพใด คือ
ในอัตภาพใด. บทว่า อนนฺตรา ได้แก่ พระอรหัตเกิดขึ้นแล้วในลำดับ
นั่นเอง. บทว่า อิทํ ภวานํ อคฺคํ ได้แก่ อัตภาพสุดท้ายนี้ ชื่อว่าเป็น
๓๖/๑๗๐/๓๖๖

ตรัสเรียกเหล่าจินตกวีนั้นมาอีกตรัสว่า บัดนี้เจ้าทั้งหลายจงพรรณนาสรรเสริญ
ว่า นางกุมาริกาเห็นปานนี้หาสมควรแก่พระราชาอื่นในพื้นชมพูทวีปไม่ นาง
สมควรแก่พระเจ้าวิเทหราชกรุงมิถิลา และอิสริยยศของนางนี้ผู้เดียวควรแก่
พระเจ้าวิเทหราช ดังนี้ ผูกให้เป็นเพลงขับ จินตกวีเหล่านั้นทำตามรับสั่งแล้ว
ขับถวายให้ทรงสดับ พระเจ้าจุลนีก็พระราชทานทรัพย์แก่พวกนั้นแล้วตรัสสั่ง
ว่า เจ้าทั้งหลายจงไปสู่กรุงมิถิลา แล้วขับโดยอุบายนี้แหละในกรุงมิถิลานั้นอีก
จินตกวีเหล่านั้นเมื่อขับเพลงขับเหล่านั้น ไปถึงกรุงมิถิลาโดยลำดับ ก็ขับ ณ
โรงมหรสพ มหาชนได้ฟังเพลงขับเหล่านั้นก็ยังเสียงโห่ร้องเกรียวกราวให้เป็น
ไป ได้ให้ทรัพย์เป็นอันมากแก่พวกนั้น พวกนั้นขับบนต้นไม้ในเวลาราตรี
ครั้นใกล้รุ่งก็ผูกกังสดาลที่คอนกทั้งหลายแล้วลงจากต้นไม้ เสียงโกลาหลเป็น
อันเดียวกันว่า แม้เทวดาทั้งหลายก็ขับร้องพรรณนาพระรูปโฉมของพระราชธิดา
พระเจ้ากรุงปัญจาละ ดังนี้ ได้มีในพระนครทั้งสิ้น เพราะได้ยินเสียงกังสดาล
ในอากาศ พระเจ้าวิเทหราชทรงสดับเสียงนั้น จึงให้เรียกพวกนักประพันธ์
กาพย์กลอนมาให้เล่นมหรสพในพระราชนิเวศน์แล้ว ทรงดำริว่า ได้ยินว่า
พระเจ้าจุลนีมีพระราชประสงค์จะประทานพระราชธิดาผู้ทรงรูปโฉมอันอุดมเห็น
ปานนี้แก่เรา ทรงดำริฉะนี้ก็ทรงยินดี ได้พระราชทานทรัพย์เป็นอันมากแก่
นักประพันธ์เหล่านั้น พวกนั้นก็กลับนำความมากราบทูลพระเจ้าจุลนีพรหมทัต
ลำดับนั้น อาจารย์เกวัฏจึงกราบทูลพระเจ้าจุลนีอาทิผิด อักขระว่า บัดนี้ข้าพระบาทจักไปเพื่อ
กำหนดวัน พระราชาตรัสว่า ดีแล้วอาจารย์ ท่านควรจะเอาอะไรไปบ้าง
เกวัฏกราบทูลว่า ควรเอาบรรณาการบ้างเล็กน้อยไป พระเจ้าข้า ก็ทรงอนุญาต
เกวัฏก็ถือเอาเครื่องบรรณาการไปด้วยบริวารใหญ่ ถึงวิเทหรัฐเสียงโกลาหล
เป็นอันเดียวกันได้บังเกิดในกรุงมิถิลา เพราะได้ฟังการมาของเกวัฏว่า ได้ยินว่า
๖๓/๖๘๖/๔๕๗
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๖ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓
เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑ สอบ
ถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำตามปฏิญาณ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๒
[๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะ
ต้องอาบัติ ๑อาทิผิด ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติยังไม่ได้
แสดง ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น
กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๓
[๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้
อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจทก่อน
แล้วทำ ๑อาทิผิด ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แลเป็น
กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
๘/๑๗/๑๒

ปกติเพ่งด้วยฌานแม้ทั้งสองคือ อารัมมณูปนิชฌาน [เพ่งอารมณ์]
ลักขณูปนิชฌาน [เพ่งลักษณะ]. อีกนัยหนึ่ง ผู้เผากิเลสที่ควรเผา และ
ธรรมอันเป็นฝ่ายของสังกิเลสทุกอย่างมั่นอยู่. จากฌานนั้นนั่นเอง ชื่อว่า
ฌานรตะ เพราะยินดีแล้วในฌาน. บทว่า สตํ แปลว่า มีอยู่ หรือ
สงบแล้ว. อธิบายว่า สัตบุรุษคนดี. บทว่า ปุปฺผาภิกิณฺณํ แปลว่า
เกลื่อนกล่นด้วยดอกไม้ทั้งหลาย. อธิบายว่า ดารดาษด้วยใบปทุมทั้งหลาย.
บทว่า ทุสฺสสนฺถตํ ได้แก่ เอาผ้าปูลาดไว้บนอาสนะ.
บทว่า อุปฑฺฒํ ปทุมมาลาหํ ได้แก่ เรา [โปรย] ดอกปทุม
ครึ่งหนึ่ง. บทว่า อาสนสฺส สมนฺตโต ได้แก่ ที่พื้นรอบอาสนะที่
พระเถระนั่ง. บทว่า อพฺโภกิริสฺสํ ได้แก่ โปรย โรย. อย่างไร. เอา
กลีบโปรย. อธิบายว่า เอากลีบปทุม ที่แยกเป็นสองส่วน ๆ ละครึ่ง
โปรยลงทำนองฝนดอกไม้ตกลงมา.
ด้วยบทว่า อิทํ เม อีทิสํ ผลํ นี้ เทวดารวมแสดงทิพย-
สมบัติของตน อันต่างโดยอายุ ยศ สุข และรูปเป็นต้น ที่พระเถระ
ระบุและไม่ระบุด้วยคำว่า กุญฺชโร เต วราโรโห เป็นต้น แล้วจึงกล่าว
คำเป็นต้นว่า สกฺกาโร ครุถาโร เพื่อแสดงอานุภาพของตนที่พระเถระ
มิได้ระบุไว้อีก. ด้วยคำนั้น เทวดาแสดงว่า มิใช่ผลบุญของดิฉันในที่นี้
ตามที่ท่านกล่าวมาแล้วอย่างเดียวเท่านั้น ที่แท้ ก็ยังมีแม้อธิปไตยทิพย์
นี้ด้วย. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกฺกาโร ได้แก่ กิริยาโดยเอื้อเฟื้อ.
อธิบายว่า ความที่ตนอันทวยเทพพึงสักการะ. บทว่า ครุกาโร ก็
เหมือนกัน ได้แก่ ความที่ตนอาทิผิด อักขระอันทวยเทพพึงเคารพ. บทว่า เทวานํ
แปลว่า อันทวยเทพ. บทว่า อปจิตา ได้แก่ บูชาแล้ว.
๔๘/๕/๖๑

แก้บท สพฺพํ สพฺพโต
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงสักกายทิฏฐิทั้งหมดโดยเป็น
๒ อย่าง อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงประมวลแสดงสักกายทิฏฐินั้น
แหละเป็นอันเดียวกัน จึงตรัสคำเป็นต้นว่า สพฺพํ สพฺพโต ดังนี้.
ส่วนนัยขยายความในข้อนี้ บัณฑิตพึงทราบดังนี้ว่า ปุถุชน เมื่อ
ชอบใจสิ่งทั้งปวง ชื่อว่า ย่อมสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยความสำคัญด้วยอำนาจ
แห่งตัณหา เมื่อสำคัญสิ่งที่ตนสร้างขึ้นโดยนัยเป็นต้นว่า สัตว์เหล่านี้เราสร้าง
ขึ้น ดังนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า ย่อมสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยความสำคัญด้วย
อำนาจแห่งมานะ เมื่อสำคัญโดยนัยเป็นต้นว่า สิ่งทั้งปวงมีกรรมที่ตนกระทำ
ไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ สิ่งทั้งปวงมีการสร้างของพระอิศวรเป็นเหตุ สิ่ง
ทั้งปวงไม่มีเขต ไม่มีปัจจัย สิ่งทั้งปวงมีอยู่ สิ่งทั้งปวงไม่อาทิผิด อาณัติกะมี ดังนี้ ชื่อว่า
ย่อมสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิ.
ปุถุชนย่อมสำคัญในสิ่งทั้งปวงอย่างไร ? คือว่า บุคคลบางคน
ในโลกนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า อัตตาของเรานี้ใหญ่ บุคคลนั้นกำหนด
โลกสันนิวาสทั้งหมดโดยเป็นโอกาสแห่งอัตตานั้น ย่อมสำคัญว่า ก็อัตตา
ของเรานี้นั้นแล มีอยู่ในโลกสันนิวาสทั้งปวง. นี้ชื่อว่า ความสำคัญด้วย
อำนาจแห่งทิฏฐิของบุคคลนั้น.
ก็เมื่อเขายังความเสน่หาในอัตตานั้นนั่นแล ยังมานะอันมีอัตตานั้น
เป็นที่ตั้งให้เกิดขึ้นอยู่ในตน พึงทราบว่า แม้ความสำคัญด้วยอำนาจตัณหา
และมานะ (ก็เกิดขึ้นด้วย). คำที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้ว
ในปฐวีวาระนั่นแล.
๑๗/๙/๙๐

เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่อง
หยั่งถึงความเกิดขึ้นและดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลสเป็นเครื่องให้ถึงความ
สิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า กำลัง คือ ปัญญา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังของพระเสขบุคคล ๕ ประการนี้แล ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า พวกเรา
จักเป็นผู้ประกอบด้วยกำลัง คือ ศรัทธา กำลัง คือ หิริ กำลัง คือ โอตตัปปะ
กำลัง คือ วิริยะ กำลัง คือ ปัญญา อันเป็นกำลังของพระเสขบุคคล ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.
จบวิตถตสูตรที่ ๒
อรรถกถาวิตถตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในวิตถตสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
ในบทว่า กายทุจฺจริเตนอาทิผิด สระ เป็นต้น เป็นตติยาวิภัติลงในอรรถ
ทุติยาวิภัติ. อธิบายว่า ละอาย รังเกียจ ซึ่งกายทุจริตเป็นต้นอันควรละอาย.
ในโอตตัปปนิเทศเป็นตติยาวิภัติลงในอรรถว่า เหตุ. อธิบายว่า เกรงกลัว
เพราะกายทุจริตเป็นต้น อันเป็นเหตุแห่งโอตตัปปะ. บทว่า อารทฺธวิริโย
ได้แก่ ประคองความเพียรไว้ มีใจไม่ท้อถอย. บทว่า ปหานาย แปลว่า
เพื่อละ. บทว่า อุปสมฺปทาย แปลว่า เพื่อได้เฉพาะ. บทว่า ถามวา
ได้แก่ ประกอบด้วยกำลังคือความเพียร. บทว่า ทฬฺหปรกฺกโม ได้แก่
มีความบากบั่นมั่นคง. บทว่า อนิกฺขิตฺตธุโร กุสเลสุ ธมฺเมสุอาทิผิด อักขระ ได้แก่
ไม่วางธุระ เพียร ไม่ท้อถอยในกุศลธรรมทั้งหลาย.
๓๖/๒/๔

รัตนะ ๗ ประการบูชารอบต้นมหาโพธิ์. ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระ-
นามว่า กัสสปะ ได้บวชแล้วในพระศาสนา ได้บำเพ็ญสมณธรรม. ด้วยความ
ประพฤติอย่างนี้เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเฉพาะแต่สุคติอย่างเดียว ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย เป็นบุตรของเศรษฐีผู้มีสมบัติมาก ในกรุง
พาราณสี ได้บังเกิดในท้องของธิดาเศรษฐี ชื่อนางสุชาดา ผู้ถวายข้าวปายาส
ผสมน้ำนมอาทิผิด แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ว่าถึงชื่อ เขาชื่อว่า ยสะ เป็นผู้ละเอียดอ่อน
อย่างยิ่ง ยสะนั้นมีปราสาท ๓ หลัง คือ หลังหนึ่ง สำหรับอยู่ในฤดูหนาว
หลังหนึ่งสำหรับอยู่ในฤดูร้อน หลังหนึ่งสำหรับอยู่ในฤดูฝน. เขาอยู่ในปราสาท
ฤดูฝน ตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน มีนักดนตรีสตรีล้วนบำเรออยู่. มิได้ลงมา
ยังพื้นปราสาทชั้นล่างเลย. เขาอยู่บนปราสาทประจำฤดูหนาวตลอด ๔อาทิผิด เดือน
ปิดบานประตูหน้าต่างอย่างสนิทดี อยู่ประจำบนปราสาทนั้นนั่นแล. เขาอยู่
บนปราสาทประจำฤดูร้อน อันสมบูรณ์ด้วยบานประตูและหน้าต่างมากมาย
อยู่ประจำบนปราสาทนั้นนั่นแล. กิจการงานที่เกี่ยวกับการนั่งเป็นต้น บน
ภาคพื้นไม่มี เพราะมือและเท้าของเขาละเอียดอ่อน. เขาลาดพื้นให้เต็มไปด้วย
ปุยนุ่นและปุยงิ้วเป็นต้นแล้ว จึงทำการงานบนหมอนที่รองพื้นนั้น . เมื่อความ
เพียบพร้อมด้วยกามคุณทั้ง ๕ กำลังบำเรอขับกล่อมอยู่ ยสกุลบุตรนอนหลับ
ก่อนเขา คล้ายเทวบุตรผู้อยู่ในเทวโลกอย่างนั้นแล แม้เมื่อพวกบริวารชน
นอนหลับ. และประทีปน้ำมันยังลุกโพลงอยู่ตลอดราตรี. ครั้นต่อมา ยสกุลบุตร
ตื่นก่อนเขาทั้งหมด ได้พบเห็นบริวารชนของตนนอนหลับใหล บางนางก็มี
พิณอยู่ที่รักแร้ บางนางก็มีตะโพนอาทิผิด อักขระอยู่ที่ข้างลำคอ บางนางก็มีเปิงมางอยู่ที่
รักแร้ บางนางก็สยายผม บางพวกก็มีน้ำลายไหล บางพวกก็บ่นเพ้อละเมอ
บางพวกก็นอนแบมือคล้ายซากศพในป่าช้า ครั้นได้มองเห็นแล้ว โทษจึงได้
๗๒/๑๔๐/๔๒๑

มิคสิระแล้ว มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เป็นบริวารเสด็จออกไปในวันต้นแห่งเดือน
ปุสสะ (เดือนยี่) แล้ว ทรงยังการเสด็จเที่ยวจาริกไปในอันติมมณฑล ให้เสร็จ
สิ้นลงโดย ๗ เดือน ตามนัยดังกล่าวมาแล้วนั่นเอง.
อนึ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลาย แม้เมื่อเสด็จเที่ยวไปในบรรดามณฑล
เหล่านั้นแห่งใดแห่งหนึ่ง ทรงปลดเปลื้องสัตว์เหล่านั้น ๆ ให้พ้นจากกิเลส
ทั้งหลาย ทรงประกอบสัตว์เหล่านั้น ๆ ไว้ ด้วยอริยผลมีโสดาปัตติผลเป็นต้น
เสด็จเที่ยวไปอยู่ด้วยอำนาจแห่งเวไนยสัตว์เท่านั้น ดุจทรงเก็บดอกอาทิผิด อักขระไม้เบญจ-
พรรณนานาชนิดอยู่ฉะนั้น.
ยังมีพุทธาจิณณะแม้อื่นอีก คือ :- ในเวลาจวนรุ่งสว่างทุก ๆ วัน
การทำพระนิพพานอันเป็นสุขสงบให้เป็นอารมณ์ เสด็จเข้าผลสมาบัติออกจาก
ผลสมาบัติแล้ว ทรงเข้าสมาบัติอันประกอบด้วยพระมหากรุณา ภายหลังจากนั้น
ก็ทรงตรวจดูเวไนยสัตว์ผู้พอจะแนะนำให้ตรัสรู้ได้ในหมื่นจักรวาล
ยังมีพุทธาจิณณะแม้อื่นอีก คือ :- การทรงทำปฏิสันถารกับพวก
อาคันตุกะเสียก่อน ทรงแสดงธรรม ด้วยอำนาจเรื่องที่เกิดขึ้น ครั้นโทษ
เกิดขึ้น ทรงบัญญัติสิกขาบท นี้เป็นพุทธาจิณณะ (ความเคยประพฤติมาของ
พระพุทธเจ้า) ดังพรรณนาฉะนี้แล.
[สาวกาจิณณะ ความเคยประพฤติมาของพระสาวก]
สาวกาจิณณะ (ความเคยประพฤติมาของพระสาวก) เป็นไฉน ? คือ
ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า (ยังทรงพระชนม์อยู่) มีการประชุม
(พระสาวก) ๒ ครั้ง คือ เวลาก่อนเข้าพรรษาและวันเข้าพรรษา เพื่อเรียน
เอากรรมฐาน ๑ เพื่อบอกคุณที่ตนได้บรรลุแก่ภิกษุผู้ออกพรรษามาแล้ว ๑
๑/๙/๓๖๕

เป็นทุกกฏอย่างเดียว. ในปฐพีแม้ทั้งสอง ในเพราะใช้ให้ปลูกกอไม้ดอก
แม้มาก ด้วยการสั่งครั้งเดียว เป็นปาจิตตีย์กับทุกกฏ หรือเป็นทุกกฏล้วน
แก่ภิกษุนั้น ครั้งเดียวเท่านั้น, ไม่เป็นอาบัติในเพราะใช้ให้ปลูกด้วย
กัปปิยโวหาร ในพื้นอาทิผิด อักขระที่ที่เป็นกัปปิยะ หรือพื้นอาทิผิด อักขระที่ที่เป็นอกัปปิยะ เพื่อ
ประโยชน์แก่การบริโภค. แม้เพื่อประโยชน์แก่อารามเป็นต้น ในอกัป-
ปิยปฐพี ก็คงเป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ปลูกเอง หรือใช้ให้ปลูกด้วยถ้อยคำ-
ที่เป็นอกัปปิยะ. แต่นัยนี้ ท่านมิได้จำแนกไว้ให้ละเอียดในมหาอรรถกถา,
จำแนกไว้แต่ในมหาปัจจรี ฉะนี้แล.
ก็ในการรดเอง และการใช้ให้รด มีวินิจฉัยอาบัติดังนี้:- เป็น
ปาจิตตีย์ ทุก ๆ แห่ง ด้วยน้ำที่เป็นอกัปปิยะ เพื่อประโยชน์แก่การ
ประทุษร้ายตระกูลและบริโภค เป็นทุกกฏก็มี. แต่เพื่อประโยชน์แก่การ
ทั้งสองนั้นเท่านั้น เป็นทุกกฏ ด้วยน้ำที่เป็นกัปปิยะ, ก็ในการประทุษ-
ร้ายตระกูลและการบริโภคนี้ เพื่อต้องการบริโภคไม่เป็นอาบัติในการใช้-
ให้รดน้ำด้วยกัปปิยโวหาร แต่ในฐานะแห่งอาบัติ ผู้ศึกษาพึงทราบความ
เป็นอาบัติมาก เพราะมีประโยคมาก ด้วยอำนาจสายน้ำขาด. ในการเก็บ
เอง เพื่อประโยชน์แก่การประทุษร้ายตระกูล เป็นทุกกฏกับปาจิตตีย์ตาม
จำนวนดอกไม้. ในการบูชาพระรัตนตรัยเป็นต้นอย่างอื่น เป็นปาจิตตีย์
อย่างเดียว. แต่ภิกษุผู้เก็บดอกไม้เป็นจำนวนมากด้วยประโยคอันเดียว
พระวินัยธรพึงปรับด้วยอำนาจแห่งประโยค. ในการใช้ให้เก็บ เพื่อ
ประโยชน์แก่การประทุษร้ายตระกูล คนที่ภิกษุใช้ครั้งเดียว เก็บแม้มาก
ครั้ง ก็เป็นปาจิตตีย์กับทุกกฏแก่ภิกษุนั้นครั้งเดียวเท่านั้น ในการเก็บ
เพื่อบูชาพระรัตนตรัยเป็นต้น อย่างอื่นเป็นปาจิตตีย์อย่างเดียว.
๓/๖๓๐/๖๓๘